[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับรายการ ‘สุขสันต์ภาคเหนือของไต้หวัน’ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน (National Education Radio) คอยรายงานเรื่องราวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ในตอนนี้ ‘ครั้งหนึ่งฉันเคยอยู่ในคำนิยามของคำว่า ‘แรงงานต่างด้าว’” (ออกอากาศทางสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.) ได้เรียนเชิญ หลินซิ่วเหวิน (林琇文) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวชีวิต โดยมี เฉินหย่าอวี้ (陳亞鈺) และ เฉินอวี้สุ่ย (陳玉水) เป็นพิธีกรดำเนินรายการ
หลินซิ่วเหวินเดิมทีมาทำงานที่ไต้หวันในฐานะแรงงานต่างชาติ เนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษาทำให้เธอใช้ชีวิตค่อนข้างลำบาก หลังจากเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เธอไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเอง ตอนนี้ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาที่ศูนย์แรงงานต่างชาติประจำนครเถาหยวน คอยเป็นกำลังหนุนสำคัญของเหล่าบรรดาแรงงานต่างชาติ
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของทางรายการมาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในต่างประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากขึ้น
“ฉันไปไต้หวันดีไหม เพราะฉันชอบความท้าทาย ฉันอยากยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง ที่สำคัญเลยคือฉันอยากหาเงิน” หลิวซิ่วเหวินย้อนรำลึกถึงความทรงจำเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นไต้หวันกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น เศรษฐกิจกำลังเติบโต คนไทยหลายคนเดินทางมาทำงานหาเงินที่ไต้หวัน เดิมทีเธอก็ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย และเริ่มมีความคิดที่อยากจะมาทำงานหาเงินที่ไต้หวัน เลยบอกกับแม่ว่าอยากด็อปเรียนมหาลัย
หลินซิ่วเหวินบอกว่า แต่ไหนแต่ไรมาแม่เชื่อมั่นในตัวเขามาตลอด แม่พูดแค่ว่า ถ้าหาเตรีมเอกสารอะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากขาดแค่เรื่องเงิน “ก็เอาบ้านที่บรรพบุรุษเหลือเอาไว้ให้เราไปจำ” แต่เพื่อนบ้านก็ประชดประชัด ถ้าให้ลูกสาวไปต่างประเทศแล้วมันจะหนีตามคนอื่นไปอย่างแน่นอน ตอนนั้นบ้านก็ไม่มี ได้ไปนอนใต้สะพานลอยแน่ ๆ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: Jeff ยูทูปเบอร์ชื่อดังชาวอินโดฯ กลับมาตั้งรกรากช่วยเหลือพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน หลังเดินทางไปมาแล้วหลายไปเทศ
แต่ว่าคำพูดเหล่านั้นไม่ได้มีผลกระทบอะไรต่อแม่ของเธอเลย ตรงกันข้ามแม่กลับให้กำลังใจหลินซิ่วเหวิน ถ้าหากคนอื่นพูดแบบนี้ “ลูกยิ่งต้องทำให้ดี”
ย้อนกลับไปตอนมาทำงานที่ไต้หวันครั้งแรก หลิวซิ่วเหวินอยากที่จะประหยัดเงินเลยเดินเรื่องขอมาทำงานโดยการ ‘เสริมตำแหน่งงานว่าง’มาทำงานที่แรงงานต่างชาติคนก่อนทำไม่เสร็จสัญญาเป็นเวลา 3 ปี ประหยัดเงินค่านายหน้าไปเยอะเลย ช่วงที่เธอทำงานมักได้ยินคำว่า ‘แรงงานต่างด้าว’ อยู่เสมอ ตอนนั้นภาษาจีนของเธอไม่ค่อยดี ถึงขนาดถามเพื่อนร่วมงานว่า “เขาเรียกฉันหรอ” สุดท้ายเธอได้ถอดคำจำกัดความของ “แรงงานต่างด้าว” ว่าเป็นสั่งให้เธอไปทำอะไรก็ต้องทำ เธอห้ามพูดอะไรทั้งนั้น งานที่ไม่มีใครทำก็จะทิ้งให้เธอทำทั้งหมด
ครั้งที่สองที่ได้เดินทางกลับมาทำงานที่ไต้หวัน หลินซิ่วเหวินทำงานเป็นพนักงานบอร์ดพีซีที่บริษัท ASUS ตอนนั้นสถานะได้เปลี่ยนจากแรงงานต่างด้าวเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และเธอได้แต่งงานมีลูกที่ไต้หวันด้วย ตอนที่ลูกสาวเข้าเรียนในชั้นประถมฯ เธอเองก็ได้ไปเรียนภาษาจีนที่เปิดสอนเป็นช่วงภาคค่ำ “ช่วงระยะเวลานั้นทุกครั้งที่ไปเรียนหนังสือ ฉันพาลูกน้อยไปด้วยตลอด ตอนกลางคืนก็ซื้อข้าวกล่องให้เขา ให้เขานั่งฟังคุณครูอยู่ข้าง ๆ อย่างเงียบ ๆ”เมื่อพิธีกรรายการได้ฟังดังนั้น ภาพที่ลอยเข้ามาในหัวชัดเจนเหมือนได้ไปนั่งอยู่ข้าง ๆ เลยก็ว่าได้ “น่ารักจังเลยลูก”
อ่านข่าวเพิ่มเติม: หลิวหมิงฟางคุณครูผู้ส่งเสริมผลักดันวัฒนธรรมเครื่องเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ช่วงที่หลินเหวินซิ่วเรียนหนังสือภาคค่ำ เพื่อนชาวเวียดนามคนหนึ่งได้แนะนำให้เธอไปเรียนในคลาสอาจารย์สอนหนังสือ นี่ก็ส่งผลต่อชีวิตครึ่งหลังของเธอ หลังจากที่เธอเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรครึ่งปีของ ‘ศูนย์บริการครอบครัวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ประจำนครเถาหยวน’ เธอได้เข้าไปเป็นล่ามแปลภาษาไทยในชั้นเรียนภาษาจีนสำหรับแรงงานต่างชาติที่ทางศูนย์แรงงานต่างชาติจัดขึ้น คอนสอนภาษาจีนให้แก่แรงงานต่างชาติ และคอยให้คำปรึกษาด้านการทำงานและการใช้ชีวิตมากมาย
ครั้งหนึ่งเธอเคยมีสถานะเป็น ‘แรงงานต่างด้าว’ เธอรู้เป็นอย่างดีว่า คนที่เธอกำลังคอยให้บริการช่วยเหลืออยู่นั้น “พวกเขาต้องการอะไร ขาดเหลืออะไร”
หลังจากที่พิธีกรได้ฟังเรื่องราวของหลินซิ่วเหวินแล้วก็รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก “ฉันรู้สึกขอบคุณจริง ๆ ที่เธอสามารถอุทิศเสียสละตนคอยให้บริการแรงงานต่างชาติ หลังจากที่เธอมีกำลังและความสามารถ คอยเป็นผู้สนับสนุนพวกเขาอยู่เบื้องหลัง เพื่อให้แรงงานต่างชาติรู้สึกสบายใจในการทำงานและการใช้ชีวิตในไต้หวันมากขึ้น”