หากแรงงานข้ามชาติได้รับเชิญให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ถ่ายละคร เป็นอาสาสมัคร ฯลฯ เหล่านี้ไม่นับว่า "ทำงาน" เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงแรงงานชี้ว่า ชาวต่างชาติที่เข้าฝึกงานหรือเข้าฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ เป็นจิตอาสาหรืออาสาสมัคร ช่วยเหลืองานสังคมทั่วไปหรือทำงานให้บริการด้านแรงงานแก่ผู้อื่น ไม่นับว่าทำงานและไม่จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตการทำงาน อีกทั้งหากการกระทำของท่านไม่เป็นการตัดโอกาสการทำงานของคนไต้หวัน ไม่นับว่าทำงานอย่างผิดกฎหมาย และไม่มีโทษแต่อย่างใด
อ่านข่าวเพิ่มเติม: 30,000 เหรียญไต้หวันต่อคน! กองทุนช่วยเหลือสำหรับ 8 อุตสาหกรรมหลักเปิดให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาแล้ว
แรงงานต่างชาติรับบทในการ "ถ่ายทำสารคดีแรงงานข้ามชาติ" ถือเป็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ภาพนำมาจาก/คลังภาพ Shutterstock
ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน "หากนายจ้างยังไม่ได้ช่วยแรงงานข้ามชาติยื่นขอในอนุญาตการทำงาน แรงงานข้ามชาติไม่สามารถทำงานในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้" แต่หากแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ หลักสูตรพหุวัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรม เจ้าหน้าปฏิบัติงานในนิทรรศการ ทำหน้าที่เป็นล่าม อาสาสมัคร ให้บริการสังคม เข้าร่วมการแสดงในงานเฉลิมฉลอง รับการสัมภาษณ์จากสื่อ เป้นตัวละครในการแสดงต่างๆ ฯลฯ ที่ไม่เข้าข่าย "การทำงาน" ตัวอย่างเช่น เชิญแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมถ่ายทำละคร รับบทเป็นนักแสดงในเรื่อง ซึ่งการถ่ายทำนี้เป็นการทำสารคดีเกี่ยวกับประเด็นแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม: เทศกาลภาพยนตร์คนหูหนวกนานาชาติไต้หวัน ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ "มองเห็นคุณแบบไม่มีระยะห่าง" เข้าฉายวันที่ 2 ตุลาคมนี้
นายจ้างที่จ้างแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตมาทำงานในประเทศ มีโทษปรับหนัก ภาพจาก/กระทรวงแรงงาน
ตามที่กระทรวงแรงงานระบุ ตัวอย่างทั่วไปอื่นๆ เช่น แรงงานได้รับเชิญให้เข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ หรือได้รับเชิญให้สัมภาษณ์กับสื่อ ทำหน้าที่เป็นล่าม เป็นผู้ให้บริการทางสังคมหรือการมีส่วนร่วมทางสังคม เชิญเข้าร่วมกิจกรรมตามความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล หรือเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลของชุมชน เหล่านี้ไม่นับว่าเป็นการทำงานเช่นกัน
นอกจากนี้ หากนายจ้างจ้างแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน นายจ้างอาจมีโทษปรับตั้งแต่ 150,000 ถึง 750,000 ดอลลาร์ไต้หวัน ส่วนชาวต่างชาติมีโทษปรับ 30,000 ถึง 150,000 ดอลลาร์ไต้หวัน และถูกเพิกถอนใบอนุญาตการจ้างงานด้วย