[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับรายการ ‘สุขสันต์ภาคเหนือของไต้หวัน’ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน (National Education Radio) คอยรายงานเรื่องราวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ในตอน ‘แชร์ประสบการณ์สาวไทยสู้ชีวิตเดินหน้าตีตลาดตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยงในไต้หวันในฐานะครูสอนตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยง (ตอนที่ 2)’ (ออกอากาศทางสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน เมื่อวันที่ 9 ก.ค.) ได้เรียนเชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทางภาคเหนือของไทย หยางหรงหรง (楊蓉蓉) มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวการทำงานเป็นครูสอนตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยงในไต้หวัน โดยมี เฉินหย่าอวี้ (陳亞鈺) และ เฉินอวี้สุ่ย (陳玉水) เป็นพิธีกรดำเนินรายการ หยางหรงหรง เดิมทีประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการตกแต่งทรงผม มีอยู่ครั้งหนึ่งเธอได้ไปเดินเที่ยวในตลาดนัดกลางคืนของไต้หวัน พบว่ามีร้านให้บริการตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยงอยู่หลายร้าน “ตอนนั้นฉันคิดว่า ตัดขนสุนัขก็ไม่เลวนะ ได้ใช้ทักษะที่ตัวเองมีช่วยสัตว์เลี้ยงออกแบบสไตล์ขนของพวกเขาได้ด้วย” และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ของหรงหรง
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของทางรายการมาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในต่างประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากขึ้น
หยางหรงหรงจุดประกายในการประกอบอาชีพตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยงเมื่อมีโอกาสได้ไปเดินเที่ยวตลาดนัดกลางคืนไต้หวัน (ภาพจาก/National Education Radio)
หยางหรงหรง กล่าวในรายการว่า สุนัขมีหลากหลายสายพันธุ์มาก “สุนัขทุกตัวมีบุคลิกที่แตกต่างกัน เช่น ชิวาวา หัวกลม มีนิสัยดุร้าย เราไม่รู้เลยว่ามันจะกัดเราเมื่อไหร่ หรือมันจะออกอาการบ้าเมื่อไหร่”
อ่านข่าวเพิ่มเติม: โครงการสร้างฝันของสะใภ้ไต้หวันหลินยวี่เมิ่ง ทำให้อิสราเอลได้มองเห็นไต้หวัน
หยางหรงหรง ซึ่งอยู่ในไต้หวันมานานหลายปี หลังจากสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพในไต้หวันแล้ว ก็ได้กลายมาเป็นช่างตัดแต่งขนและผู้ครูผู้สอนอย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน นอกจากการฝึกอบรมนักเรียนเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพทางเทคนิคระดับชาติและใบอนุญาตของสมาคม “การตัดแต่งขนสัตว์เลี้ยง” แล้ว เธอยังเป็นโค้ชให้คำปรึกษาด้านการเริ่มต้นธุรกิจอีกด้วย
เมื่อพูดถึงการเป็นช่างตัดขนสัตว์เลี้ยง ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกสุนัขกัด หยางหรงหรงกล่าวว่า “สุนัขก็มีอารมณ์เช่นกัน ดังนั้น เราต้องถามเจ้าของก่อนว่าลูกสุนัขตัวนี้มีบุคลิกเป็นเช่นไร สถานการณ์ใดบ้างที่ทำให้น้องหมาหรือน้องแมว อารมณ์ดีหรืออารมณ์ร้าย เรื่องนี้ต้องถามให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง” ยิ่งเข้าใจมากยิ่งช่วยลดการบาดเจ็บได้ดี
เฉินหย่าอวี้ (ซ้าย 1) และ เฉินอวี้สุ่ย (ขวา 1) ถ่ายรูปคู่กับหยางหรงหรง (ภาพจาก/National Education Radio)
พิธีกรอยากรู้ว่าเวลาฝึกอบรมเป็นยังไงบ้าง หยางหรงหรงตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า ระยะเวลาการฝึกอบรมขึ้นอยู่กับตัวบุคคล บางคนเรียนรู้ได้เร็ว แต่บางคนเรียนรู้ค่อนข้างช้า นอกจากนี้ ยังต้องฝึกฝนลงมือปฏิบัติให้มาก ถึงจะชำนาญ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: จากเด็กดื้อสู่นิทรรศการภาพยนตร์นานาชาติ เหงียนทูหั่งทอดสะพานระหว่างไต้หวันและเวียดนามในการได้รู้จักกันอีกครั้ง
“อุตสาหกรรมตัดแต่งทรงขนของสัตว์เลี้ยงเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และคนก็เริ่มหันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้นด้วย” แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ถ้าหากคุณเลี้ยงสัวต์เลี้ยงต้องรักและอดทนให้มาก ปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงเหมือนกับเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณ” หยาง หรงหรงได้พูดตักเตือนเป็นการพิเศษว่า หากเลี้ยงแล้วต้องเลี้ยงเขาไปตลอด ห้ามเอาไปทิ้งเด็ดขาด นอกจากนี้ หากต้องการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงต้องดูความพร้อมของตัวเองด้วย เช่น สุนัขแต่ละตัวต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน สุนัขขนาดใหญ่ต้องการพื้นที่ใหญ่ไว้คอยวิ่งเล่น ใครที่ต้องการเลี้ยงจะต้องพิจารณาและเตรียมพร้อมให้ดี
หยางหรงหรงหวังจะมีโอกาสนำทักษะที่ตนได้เรียนรู้จากไต้หวันนำกลับไปต่อยอดที่ไทยในอนาคต (ภาพจาก/National Education Radio)
“ภาษาไทยช่วยในเรื่องการทำงานของคุณไหม” พิธีกรถามด้วยความสงสัย หยางหรงหรงตอบอย่างมั่นใจว่า แน่นอนค่ะ “ตอนช่วงที่ยังไม่มีสถานการณ์โควิดระบาด ก็มีนักเรียนชาวมาเลเซียมาเรียนกับฉันด้วย” เธอเองก็มีเป้าหมายในชีวิตเช่นกัน “ฉันมีแผนจะกลับไปสอนที่ไทย” หยางหรงหรงหวังจะมีโอกาสนำทักษะที่ตนได้เรียนรู้จากไต้หวันนำกลับไปต่อยอดที่ไทยในอนาคต เมื่อเอ่ยถึงเมืองไทย หยางหรงหรงก็คิดถึงเมืองไทยมาก เพราะไม่ได้กลับบ้านเกิดมานานหลายปีแล้ว เธอพูดด้วยรอยยิ้มว่า “สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับเมืองไทยคือกินก่อน อยากกินส้มตำ ต้มยำกุ้ง กินให้ตัวแตกไปเลย”