:::

ถ่ายทอดความทรงจำชายขอบของ “นักแปลชาวอินโดนีเซีย” Ida ทอดสะพานสานสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียและไต้หวัน

Ida เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น นี่คือการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรแรงงานนานาชาติแห่งเมืองนิวไทเปประจำปี 2019 ภาพ/จาก Ida
Ida เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น นี่คือการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรแรงงานนานาชาติแห่งเมืองนิวไทเปประจำปี 2019 ภาพ/จาก Ida

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ไต้หวันถือได้ว่าเป็นตัวแทนของความเป็นพหุวัฒนธรรมและพหุชาติพันธุ์ ซึ่งนับจากการที่มีมวลชนจากกลุ่มประเทศอาเซียนเดินทางมาไต้หวัน จำนวนกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานข้ามชาติก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทั้งยังมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนมากมาย สร้างกระแสความสนใจในสังคมอย่างแพร่หลาย “กราดภาพความทรงจำชายขอบของใคร” เป็นโครงการที่ถูกริเริ่มโดยมูลนิธิวัฒนธรรมไต้หวัน (The Cultural Taiwan Foundation) โดยมีการเชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างชาติที่มาจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มาสร้างสรรค์ผลงาน ที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ทางความทรงจำในชีวิตของตนเองที่แท้จริง

อ่านข่าวเพิ่มเติม: จินน่าลี่ ผู้กำกับ “สามี 99 คะแนนของฉัน” หลงรักการเดินทางในไต้หวัน ความพยายามและทุ่มเทอย่างเต็มที่ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวกัมพูชา

ในฐานะที่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่]ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ Ida นักแปลชาวอินโดนีเซียผู้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปการสร้างสรรค์ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยของกลุ่มประเทศในซีกโลกใต้ SEAT (SEAT南方時驗室創作工作坊) โดย Ida ต่างจากคนอื่นตรงที่ เธอใช้ “มัสยิด” ที่จับต้องได้เป็นหัวข้อในการสร้างสรรค์ Ida บอกกับเราว่า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักที่สำคัญของชาวอินโดนีเซีย สำหรับเธอแล้ว ความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่สำคัญที่เธอมิอาจขาดไปได้ ไม่ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ที่ไหน การปฏิบัติตามข้อคำสอนของศาสนาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด Ida หวังว่าจะสามารถทำให้ทุกคนได้เข้าใจศาสนาอิสลามมากขึ้นผ่านการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้

Ida (ขวา 1) เดินทางไปสักการะบูชาที่มัสยิดกับญาติและเพื่อนๆ ภาพ/จาก Ida

Ida (ขวา 1) เดินทางไปสักการะบูชาที่มัสยิดกับญาติและเพื่อนๆ ภาพ/จาก Ida

Ida บอกว่า มัสยิดในไต้หวันนั้นมีจำนวนไม่มาก ทำให้ผู้นับถืออิสลามต้องเสียเวลาไปอย่างมากกว่าจะเดินทางไปถึงมัสยิด ทุก ๆ ครั้งที่ถึงช่วงเวลาของการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มัสยิดก็มักจะมีผู้คนพลุกพล่านเป็นจำนวนมาก แต่ความครึกครื้นก็ไม่ต่างจากเทศกาลตรุษจีนของไต้หวันเลยทีเดียว Ida หวังว่าการที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามในไต้หวันมากขึ้น จะทำให้มีการสร้างมัสยิดมากขึ้น และสามารถประกอบพิธีทางศาสนากับเพื่อน ๆ ผู้นับถือศาสนาอิสลามได้

ช่วงปีใหม่ของพี่น้องชาวอิสลาม มัสยิดจะเต็มไปด้วยผู้คนเสมอ ภาพ/จาก Ida

ช่วงปีใหม่ของพี่น้องชาวอิสลาม มัสยิดจะเต็มไปด้วยผู้คนเสมอ ภาพ/จาก Ida

ในฐานะที่เป็นนักแปล

แต่ทว่า Ida ไม่ได้เลือกมัสยิดมาสร้างสรรค์ผลงาน เพียงเพราะเธอนั้นเป็นความเชื่อทางศาสนาของตัวเธอเอง ปัจจุบัน Ida ทำงานในฐานะของนักแปลผู้ทอดสะพานสานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและแรงงานข้ามชาติ อยู่ในบริษัทนายหน้าแห่งหนึ่งในไต้หวัน  เธอใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวันนานกว่าสิบปีแล้ว ปี 2005 เดินทางมาสู่ไต้หวันในฐานะของแรงงานผู้อนุบาล ผ่านประสบการณ์การเป็นแรงงานผู้อนุบาลมากว่า 6 ปี โดยเธอได้ตัดสินใจกลับอินโดนีเซียบ้านเกิดของเธอก่อน โดยนำทักษะที่ได้เรียนรู้มาจากไต้หวันไม่ว่าจะเป็นการฟังและการพูด แม้กระทั่งในช่วงที่อยู่ที่อินโดนีเซีย เธอก็ยังไม่หยุดที่จะเรียนรู้ภาษาจีน ภายหลัง 3 ปีต่อมา เธอก็กลับมาไต้หวันอีกครั้งในฐานะของ “นักแปล”

Ida เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นนักแปลให้ดีขึ้นกว่าเดิม เขาได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากมาย ภาพ/จาก Ida

Ida เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นนักแปลให้ดีขึ้นกว่าเดิม เขาได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากมาย ภาพ/จาก Ida

“นักแปลก็ไม่ต่างอะไรไปจากแรงงานในโรงงานหรือแรงงานผู้อนุบาล” Ida บอกกับ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ว่า “พวกเราต่างก็มาทำงานหาเงินที่ไต้หวันเหมือนกัน” เธอคิดว่า ในฐานะที่เป็น “นักแปล” เธอก็ต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึกของแรงงานต่างชาติออกไปให้ได้ ถ้าสามารถสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันได้ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานแล้ว ยังสามารถเป็นที่พึ่งในการแบ่งปันเรื่องราวการใช้ชีวิตในต่างแดนได้อีกด้วย เหตุที่ Ida เข้าร่วมกิจกรรม “กราดภาพความทรงจำชายขอบ” นั้นก็เพราะว่าเธอหวังว่าจะได้กระชับความสัมพันธ์ของเธอและแรงงานข้ามชาติผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

Ida (ขวา 1) ผู้มีประติสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนประเทศบ้านเกิดเดียวกัน พวกเขาได้ร่วมแนะนำอาหารอินโดนีเซียด้วยกัน ภาพ/จาก Ida

Ida (ขวา 1) ผู้มีประติสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนประเทศบ้านเกิดเดียวกัน พวกเขาได้ร่วมแนะนำอาหารอินโดนีเซียด้วยกัน ภาพ/จาก Ida

อ่านข่าวเพิ่มเติม: คอลัมน์พิเศษ/ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดที่ยังคงต้องใช้ชีวิตต่อไป การมองโลกในแง่ดีของมารดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนาม

ในฐานะที่เป็น Ida เป็นตัวของตัวเอง

Ida ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวันเป็นเวลากว่า 12 ปี ผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ มาอยากโชกโชน และก็ได้คุ้นชินกับไต้หวันเป็นอย่างดี เธอชอบความสะดวกสบายในการเดินทางของไต้หวันเป็นอย่างมาก และยังชื่นชมต่อสภาพแวดล้อมในการรักษาพยาบาลของไต้หวัน “คนไต้หวันมักจะปฏิบัติตามมาตราการของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด แม้กระทั่งการทิ้งขยะก็ยังแยกขยะกันอย่างดี” Ida แบ่งปันประสบการณ์ถึงการใช้ชีวิตกับคนไต้หวัน Ida คิดว่าคนไต้หวันปฏิบัติต่อเธอกับปฏิบัติต่อคนไต้หวันด้วยกันเองไม่ต่างกัน ต่างก็อยู่บนพื้นฐานของการเคารพและเป็นมิตรในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

Ida (คนกลาง) ร่วมถ่ายภาพในงานแข่งขันฟุตบอล "อัศจรรย์ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไถจง" ที่จัดโดยสำนักงานแรงงานเมืองไถจงกับเพื่อนๆ แรงงานข้ามชาติ ภาพ/จาก Ida

Ida (คนกลาง) ร่วมถ่ายภาพในงานแข่งขันฟุตบอล "อัศจรรย์ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไถจง" ที่จัดโดยสำนักงานแรงงานเมืองไถจงกับเพื่อนๆ แรงงานข้ามชาติ ภาพ/จาก Ida

ในการทำงาน Ida ไม่เพียงแต่เป็นนักแปลภาษา ที่สำคัญคือการเชื่อมประสานความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นสะพานสานสายใยระหว่างแรงงานข้ามชาติและนายจ้าง ที่มักจะตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก Ida ช่วยให้แรงงานต่างชาติขจัดปัญหาในเรื่องของกำแพงทางภาษา แต่ก็ยังพบกับปัญหามากมายที่เธอไม่สามารถที่จะช่วยเหลือได้ด้วยแรงของเธอเอง แต่เธอก็หวังว่าจะสามารถทำมันได้ดีที่สุด ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก นี่ไม่เพียงแต่เพราะว่าเป็นการทำงาน แต่มันคือการที่ทำเพื่อตัวของเธอเองและเพื่อน ๆ ที่มาจากประเทศบ้านเกิด การเป็นตัวของตัวเองของ Ida ถือได้ว่าเป็นการทอดสะพานสานสัมพันธ์ที่มันคงและแข็งแรงระหว่างไต้หวันและอินโดนีเซีย

Ida (ซ้าย 1) เข้าร่วมการแข่งขันแต่งหน้าสไตล์บาหลี ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ภาพ/จาก Ida

Ida (ซ้าย 1) เข้าร่วมการแข่งขันแต่งหน้าสไตล์บาหลี ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ภาพ/จาก Ida

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading