:::

พลังผู้หญิง สะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับพลังของเครือข่ายสังคมออนไลน์

พลังผู้หญิง สะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับพลังของเครือข่ายสังคมออนไลน์

ยวี๋ฉือซวิน (YU,CIH-SYUN)

ประวัติการศึกษา: ปริญญาโท สถาบันวิจัยงานสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย

ตำแหน่ง: ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นิติบุคคลสมาคม Building Hope ไต้หวัน

      หัวหน้างานทั่วไปสมาคมสิทธิมนุษยชนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

การเดินทางมาใช้ชีวิตที่ต่างแดน ไม่ว่าจะเป็นเพราะการแต่งงานหรือมาทำงาน ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานทุกคน โดยเฉพาะพี่สาวน้องสาวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตกหลุมรักกับสามีชาวไต้หวัน เดินทางไกลมาแต่งงานที่ไต้หวัน นอกจากจะต้องปรับตัวให้คุ้นชินกับการใช้ชีวิตที่นี่แล้ว ยังมีความท้าทายด้านภาษาที่ต้องเอาชนะ นับเป็นเรื่องราวที่ไม่ง่ายเลย

นับตั้งแต่ปี 2010 สมาคม Building Hope ไต้หวันได้เริ่มงานช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมกับชาวกัมพูชา ในปีนั้นคณะแพทย์ลงพื้นที่จัดกิจกรรมการรักษาโรคโดยการกุศลที่ประเทศกัมพูชา พบคุณแม่ท่านหนึ่งพาน้องรุยจุนนี่ (瑞君妮) ผู้เป็นโรค "Klippel Trenaunay Syndrome" ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของหลอดเลือดที่หายากมาขอความช่วยเหลือ ภายใต้ความช่วยเหลือของคณะแพทย์และโรงพยาบาลทหารผ่านศึกไถจง (Taichung Veterans General Hospital) จึงทำให้เด็กสาวแขนช้างวัยสองขวบ รุยจุนนี่ สามารถเดินทางมารักษาตัวที่ไต้หวันได้ อย่างไรก็ตามภายหลังจากการผ่าตัด การจะดูแลรักษาเด็กวัยสองขวบผู้ซึ่งมาจากกัมพูชาที่ร้องไห้งอแงเพราะไม่สบาย ควรจะใช้ภาษาและวิธีอะไรในการปลอบเด็ก กลายมาเป็นปัญหาที่ชวนให้คิด ภายใต้ความร่วมมือของโรงพยาบาลและศูนย์บริการผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในท้องถิ่น มีหญิงชาวกัมพูชาจำนวน 4 ท่านจากต่างเมืองมาที่โรงพยาบาล ทำให้เด็กน้อยผู้ที่ไม่มีแม่อยู่ใกล้ตัว ได้ยินเสียงภาษาแม่ที่คุ้นเคยจากป้า ๆ น้า ๆ คอยปลอบ ทำให้เด็กน้อยสงบลงได้

จากพี่สาวน้องสาวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวกัมพูชา 4 ท่านที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน เพียงแต่ปกติคุยกันผ่านทางกลุ่มส่วนตัวที่สนทนากันด้วยภาษาแม่บรรเทาอาการคิดถึงบ้าน เมื่อพวกเขาพบว่ามีพี่น้องชาวกัมพูชามีปัญหาในไต้หวัน พี่สาวน้องสาวกลุ่มนี้ก็ได้แสดงสปิริตในการช่วยเหลือผู้อื่น คอยช่วยเหลือติดต่อหน่วยงานและญาติมิตร เพียงไม่กี่ปี กลุ่มสะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เกิดจากการรวมตัวของสะใภ้ไต้หวันในแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้มีสมาชิกถึงสองร้อยกว่าคนแล้ว ตามปกติทุกคนก็สนทนากันในกลุ่มด้วยเรื่องทั่วไป ครอบครัว และลูก เมื่อในกลุ่มมีใครต้องการความช่วยเหลือ ทุกคนในกลุ่มต่างก็แสดงพลังให้ความช่วยเหลือ พี่สาวน้องสาวคนไหนอยู่ในความยากลำบาก ทุกคนก็จะร่วมมือให้ความช่วยเหลือ

ดิฉันผู้ซึ่งทำงานช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ได้รู้จักกลุ่มพี่สาวน้องสาวสะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่ารักกลุ่มนี้เพราะการพาน้องรุยจุนนี่มารักษาที่ไต้หวัน ก็ได้กลายมาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มด้วย

เมื่อ 5 ปีก่อน มีคนส่งข้อความมาขอความช่วยเหลือในกลุ่ม คนนั้นก็คืออาซู่ (阿素) สะใภ้ไต้หวันที่มาจากกัมพูชา ภายหลังจากการแต่งงานกับคุณหวาง สามีชาวไต้หวันที่กัมพูชา แต่เนื่องด้วยความผิดพลาดของบริษัททัวร์ที่ให้ความช่วยเหลือในการขอวีซ่าเยี่ยมญาติไต้หวัน ทำให้อาซู่ไม่สามารถดำเนินการขั้นตอนการขอวีซ่าได้อย่างราบรื่น       ทำให้อาซู่อาศัยอยู่เกินกำหนด จำเป็นต้องออกจากประเทศ และไม่สามารถกลับมาไต้หวันได้ในระยะสั้น ในตอนนั้นลูกของพวกเขาพึ่งอายุครบ 1 ขวบ ยังคงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแม่ หลังจากที่พี่สาวน้องสาวที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มนี้ทราบเรื่อง ก็ได้ร่วมมือกันติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือโดยด่วน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างต้องไปดำเนินเรื่องที่ไหน และติดต่อไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำเมืองโฮจิมินห์ จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการทำวีซ่าในตอนนั้น หากไม่มีการช่วยเหลือของหน่วยงานหลายหน่วยงาน เมื่ออาซู่ออกจากประเทศ อาจจะไม่สามารถขอวีซ่ากลับเข้าไต้หวันได้อีกในสองปี เพราะปัญหาการอยู่เกินกำหนด หากเป็นแบบนี้ครอบครัวนี้ก็คงไม่ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา

ปฏิบัติการช่วยเหลืออาซู่ในครั้งนี้ ภายใต้เวลาสั้น ๆ จากกลุ่มไลน์สะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พี่สาวน้องสาวที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน ร่วมมือกันติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเวลาอันสั้น ๆ ไม่เพียงแต่ทำให้ครอบครัวของอาซู่ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาแล้ว ยังเป็นการทำให้พี่สาวน้องสาวกลุ่มนี้ ได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำวีซ่าและเงื่อนไขข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรู้จักช่องทางและหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกด้วย

สำหรับพี่สาวน้องสาวสะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มาแต่งงานที่ไต้หวัน ไต้หวันเป็นทั้งต่างแดนและก็เป็นทั้งบ้าน ที่จะต้องทะนุถนอมโชคชะตาที่ทำให้เราข้ามน้ำข้ามทะเลมาพบกัน อีกทั้งยังต้องพยายามอย่างหนักเพื่อปรับตัวให้คุ้นชินกับการมาลงหลักปักฐานที่ไต้หวัน ฉันคิดว่านี่คงเป็นความรู้สึกของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่หลาย ๆ คน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีศูนย์บริการผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทรัพยากรในการให้บริการก็มีมากเพียงพอมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านของบริการด้านภาษาในแต่ละภาษา

พี่สาวน้องสาวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ย้ายถิ่นฐานมาเพราะการแต่งงานกลุ่มนี้ พี่สาวน้องสาวสะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกติก็สนทนาเรื่องสามี เรื่องลูก เรื่องครอบครัวกันในกลุ่ม ต่างก็กระตือรือร้นในการติดต่อกับศูนย์บริการผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้พี่สาวน้องสาวทั้งหลายได้เข้าร่วมกิจกรรมและหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อทำให้สามารถคุ้นชินกับไต้หวันได้โดยเร็ว อีกทั้งยังสามารถขยายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผ่านกิจกรรมเหล่านี้ได้อีกด้วย

สะใภ้ไต้หวันชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลุ่มนี้ ไม่มีการรวมตัวจัดตั้งองค์กรหรือสมาคมอย่างเป็นทางการและไม่มีองค์กรใดให้ความสนับสนุนอยู่ข้างหลัง จากกลุ่มที่ปกติก็สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการเป็นแม่คน และเรื่องครอบครัว ด้วยจิตวิญญาณแห่งการช่วยเหลือและความรักที่ยิ่งใหญ่ พลังผู้หญิง แสดงพลังผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ กลายมาเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มพี่สาวน้องสาวชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับศูนย์บริการสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ทำให้สะใภ้ผู้ซึ่งมาเยือนไต้หวันเป็นครั้งแรก ภายใต้กลุ่มเครือข่ายของพี่สาวน้องสาวชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้สามารถคุ้นชินกับไต้หวันได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และกลายเป็นสะใภ้ชาวไต้หวันที่โชคดีและมีความสุข

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading