:::

ดร.จัวฝูอัน พูดถึงนักเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังศึกษาในไต้หวันและสนับสนุนให้นักเรียนชาวไต้หวันเปิดโลกทัศน์ของตนเอง

จัวฝูอัน (卓福安) (คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางของกลุ่มแนะแนวการศึกษาภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ กระทรวงศึกษาธิการและการบริหารการศึกษาของรัฐ) ภาพ/จาก จัวฝูอัน 卓福安
จัวฝูอัน (卓福安) (คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางของกลุ่มแนะแนวการศึกษาภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ กระทรวงศึกษาธิการและการบริหารการศึกษาของรัฐ) ภาพ/จาก จัวฝูอัน 卓福安
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

จัวฝูอัน (卓福安) (คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางของกลุ่มแนะแนวการศึกษาภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ กระทรวงศึกษาธิการและการบริหารการศึกษาของรัฐ)

เมื่อพูดถึงนักเรียนต่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมถึงนักเรียนต่างชาติและนักเรียนจีนโพ้นทะเล) ผู้คนมักจะพูดถึงจะทำอย่างไรให้พวกเขาเหล่านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมไต้หวันและทำความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมและภาษาไต้หวันให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะเอาชนะความยากลำบากในการใช้ชีวิตและการเรียน บทความนี้จะเริ่มต้นแนะนำเรื่องราวเหล่านี้จากมุมมองที่แตกต่าง เริ่มจากเรื่องการเรียนภาษาจีนและหลักสูตรในโรงเรียน เพื่อถ่ายทอดเกี่ยวกับเรื่องราวความยากลำบากที่นักศึกษาต่างชาติจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญเมื่อเดินทางมายังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในไต้หวัน อีกทั้งเรื่องราวข้อได้เปรียบของนักศึกษาต่างชาติ

ความท้าทายในการเรียนที่ไต้หวันของนักเรียนต่างชาติชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการเรียนรู้ภาษาและการซึมซับความรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้สองระดับ โดยที่โรงเรียนที่ไต้หวันภาษาการสอนและเอกสารแจกเป็นภาษาจีนเป็นหลัก นักเรียนต่างชาติที่มาเรียนต่อที่ไต้หวันส่วนใหญ่เรียนภาษาจีนมาเพียงแค่สองหรือสามปีเท่านั้น เนื่องจากเวลาเรียนภาษาจีนสั้น เวลาเข้าเรียนในระดับปริญญาต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากอีกทั้งความเร็วในการอ่านเอกสารการสอนของพวกเขาก็ช้าด้วย ส่งผลให้พวกเขาต้องเรียนภาษาจีนกับเรียนรู้ความรู้ทางวิชาชีพผ่านภาษาจีนไปพร้อม ๆ กัน ดังเช่น เมื่อนักเรียนต่างชาติเรียนวิชาวิชาชีพเฉพาะ เช่น “ภาษาศาสตร์จีน” “วิธีการวิจัย” หรือ “วิธีการสอนตามตำรา” จะพบว่านักเรียนต่างชาติมักจะประสบปัญหาไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ ในแง่หนึ่ง เนื่องจากภาษาจีนเป็นอักษรเชิงอุดมคติ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อมโยงเสียงเข้ากับความหมายของตัวอักษรได้ และไม่รู้ว่าความหมายของเสียงนั้นคืออะไร และประสบปัญหาในการทำความเข้าใจเชิงลึกได้ยาก ดังนั้นพวกเขาจึง จำเป็นต้องอาศัยการติวและทบทวนหลังเลิกเรียนเป็นอย่างหนัก แต่ละวิชาใช้เวลาในการทบทวนนานมาก เวลาทบทวนมักเจอศัพท์ใหม่ ๆ ต้องค้นพจนานุกรมทำความเข้าใจความหมายไปด้วย บางทีแค่อ่านเอกสารหนึ่งหน้าอาจใช้เวลานานถึง 20 นาที ดังนั้นพวกเขาต้องมีความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียรในการเรียนรู้เป็นเท่าตัว ในทางกลับกัน ในการเรียนรู้ความรู้ทางวิชาชีพ ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาชีพ ผู้เรียนไม่ควรเข้าใจความหมายเพียงผิวเผินเท่านั้น เช่น การจะเข้าใจ “ความรู้สึกและทิวทัศน์หลอมเป็นหนึ่ง” ซึ่งพวกเขาต้องเข้าใจคำว่า “ความรู้สึก” หมายถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้คน “ทิวทัศน์” หมายถึงทัศนียภาพ แต่ยังรวมถึงวิธีการ อีกทั้งเข้าใจคำว่า “หลอมเป็นหนึ่ง” อีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เว่ยเมี่ยวหรูนักร้องชาวสิงคโปร์ แต่งเพลง Taipei Dreams

จัวฝูอัน (卓福安) (คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางของกลุ่มแนะแนวการศึกษาภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ กระทรวงศึกษาธิการและการบริหารการศึกษาของรัฐ) ภาพ/จาก จัวฝูอัน 卓福安

นอกเหนือจากการสื่อสารด้วยภาษาทั่วไปแล้ว หลักสูตรการสอนยังมีคำศัพท์ทางวิชาชีพที่ซับซ้อนมากมายอีกด้วย ปัจจุบัน หลักสูตรภาษาจีน 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ของทางมหาวิทยาลัยหรือศูนย์ภาษาจีนโดยทั่วไปจะสอนเพียงแค่ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและความรู้ด้านวัฒนธรรม ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน ความต้องการในการเรียนในระดับอุดมศึกษา ปัจจุบัน การสอนภาษาจีนแบบมืออาชีพ เช่น ภาษาจีนเศรษฐกิจ, ภาษาจีนคณิตศาสตร์, ภาษาจีนเชิงวิชาการ และการสอนภาษาจีนแบบมืออาชีพอื่น ๆ ปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนภาษาของนักเรียนต่างชาติได้

ในแง่ของการสอนภาษา ยังคงมีผู้คนเข้าใจงว่าการใช้ภาษาอังกฤษขณะสอนภาษาจีนสามารถแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนต่างชาติได้ อย่างไรก็ตาม นักเรียนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากคนละประเทศ ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษย่อมแตกต่างกันอย่างแน่นอน ดังนั้นการสอนภาษาจีนโดยใช้ภาษาอังกฤษเข้ามาช่วยจึงไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้ เพื่อปรับปรุงความยากลำบากในการเรียนรู้ของนักเรียนต่างชาติ นอกเหนือจากการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แล้ว ควรพยายามเพิ่มชั่วโมงเรียนภาษาจีนและเสริมความแข็งแกร่งในการสอนภาษาจีนแบบมืออาชีพ อย่างนี้จึงจะมีประสิทธิภาพที่เราสามารถนำไปลองปรับใช้ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ไทยรับประเพณีและวัฒนธรรมจีนเข้ามาในสังคมอย่างช้านาน วัยรุ่นฮิตเรียนภาษาจีน

จัวฝูอัน (卓福安) (คณะกรรมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแกนกลางของกลุ่มแนะแนวการศึกษาภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ กระทรวงศึกษาธิการและการบริหารการศึกษาของรัฐ) ภาพ/จาก จัวฝูอัน 卓福安

การอภิปรายข้างต้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความยากลำบากของนักเรียนต่างชาติจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เดินทางมาศึกษาในไต้หวัน ที่พวกเขาต่างต้องเผชิญ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับนักเรียนชาวไต้หวันแล้ว นักเรียนต่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และไต้หวันจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อโอกาสทางธุรกิจ ประการแรก นักเรียนต่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดีกว่านักเรียนชาวไต้หวัน ฉะนั้นจำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน นักเรียนชาวไต้หวันสามารถก้าวข้ามผ่านข้อจำกัดเอกสารที่เป็นเพียงตัวอักษร แต่สามารถทำความเข้าใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านบุคคลจริง ๆ ได้ นี่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักเรียนได้ โดยจะอาศัยตัวอย่าง ในอนาคตหากต้องการขยายตลาดการสอนภาษาจีนในประเทศอินโดฯ นักเรียนชาวอินโดฯ จะเข้าใจตลาดการสอนภาษาจีนที่อินโดฯ มากกว่านักเรียนชาวไต้หวัน โดยข้อได้เปรียบเหล่านี้มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่

ประการที่หนึ่ง เอกสารในอินโดนีเซียเกือบทั้งหมดเป็นภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย ซึ่งยากสำหรับชาวไต้หวันที่จะเรียน แต่ง่ายกว่ามากสำหรับนักเรียนต่างชาติชาวอินโดนีเซีย ประการที่สอง การสอนภาษาไม่ควรสอนเฉพาะคำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าใจวัฒนธรรมด้วย เพื่อไม่ให้เข้าใจความหมายผิดหรือเวลาพูดจะได้พูดถูก นอกจากการเข้าใจวัฒนธรรมอินโดนีเซียแล้ว นักเรียนต่างชาติชาวอินโดนีเซียยังมีความเข้าใจวัฒนธรรมจีน ดังนั้นพวกเขาจึงเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ชาวอินโดนีเซียต้องการเมื่อเรียนภาษาจีน และสามารถวิเคราะห์ลักษณะของการศึกษาภาษาจีนในอินโดนีเซียได้อย่างชัดเจน ประการที่สาม หากคุณต้องการเข้าใจนโยบายการศึกษาภาษาจีนของอินโดนีเซียให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น นักเรียนต่างชาติชาวอินโดนีเซียสามารถทำความเข้าใจวิเคราะห์เอกสารของรัฐบาลอินโดนีเซียได้โดยตรง โดย เอกสารดังกล่าวมีค่ามากสำหรับครูสอนภาษาจีนในไต้หวัน

นักเรียนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ศึกษาในไต้หวัน แม้ว่าความสามารถด้านภาษาจีนของพวกเขาอาจไม่เพียงพอเท่าไหร่ในตอนเริ่มต้น แต่เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในไต้หวัน ไม่ใช่เรื่องยากที่พวกเขาจะยกระดับความสามารถทางด้านภาษาให้ดีขึ้นได้ นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญด้านภาษาจีนแล้ว นักเรียนต่างชาติยังมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศแม่ของตน และมีความเชื่อมโยงที่แน่นแฟ้นในพื้นที่ท้องถิ่น หากคุณจำเป็นต้องทำแบบสอบถามหรือสัมภาษณ์โครงการพิเศษหรือเอกสารในระหว่างกระบวนการเรียนรู้ นอกจากการใช้ภาษาท้องถิ่นแล้ว คุณยังสามารถสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในพื้นที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนไต้หวันทั่วไปไม่สามารถทำได้ ซึ่งเป็นข้อดีของการเกิดในต่างประเทศ

ในยุคที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเป็นสากล ไต้หวันสามารถก้าวไปสู่โลกกว้างและเชื่อมต่อกับโลกได้ด้วยการทำความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของนักเรียนต่างชาติ (หรือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading