[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ “กระทรวงแรงงานไต้หวัน” เมื่อพิจารณาถึงความต้องการนำเข้าแรงงานต่างชาติของผู้ประกอบการ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ศูนย์บัญชาการควบคุมโรคไต้หวัน (CECC) ได้อนุญาตให้กระทรวงแรงงานนำเข้าแรงงานต่างชาติ ปัจจุบันโครงการนี้ได้มีการนำเข้าแรงงานต่างชาติชาวอินโดฯ แล้ว
โครงการนี้ได้รับการพิจารณานำเข้าแรงงานต่างชาติจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประเทศต้นทาง ศูนย์บัญชาการฯ และกระทรวงแรงงานได้รับรองมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไทยแล้ว และนำเข้าแรงงานต่างชาติชาวไทยเมื่อช่วงไม่นานมานี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สตม.ร่วมกับรัฐบาลเมืองไถหนานมอบบัตรกำนัลสนับสนุนชาวต่างชาติที่พำนักอยู่เกินเข้ารับการฉัดวัคซีนโดยเร็ว
กฎระเบียบเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดและการกักตัวของโครงการนำเข้าแรงงานต่างชาติ ภาพจาก/กระทรวงแรงงานไต้หวัน
ตามที่กระทรวงแรงงานระบุ การนำเข้าแรงงานต่างชาติระยะแรก (ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2565) แรงงานต่างชาติที่เดินทางเข้าไต้หวันจะต้องกักตัว 14 วัน และสังเกตสุขภาพตนเองอีก 7 วัน นายจ้างจะต้องจองเตียงกักตัวที่เว็บไซต์ศูนย์บริการแรงงานต่างชาติที่สนามบิน โดยจะมีการจัดเตียงในสถานที่กักตัวของรัฐบาลระหว่างวันที่ 1 ถึง 14 มกราคม 2565 จำนวน 350 เตียง ในการนำเข้าแรงงานมีการใช้เกณฑ์คะแนนรวมสะสม โดยพิจารณาจากสภาพและมาตรการการป้องกันโรคในประเทศต้นทางและปลายทาง ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงจะได้รับการจัดสรรเตียงก่อน
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สตม.เจียอี้รณรงค์ให้ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่เกินกำหนดเข้ารับการฉีดวัคซีน พร้อมรณรงค์สั่งไม่ให้ซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทางออนไลน์จากต่างประเทศส่งมายังไต้หวัน
กระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการนำเข้าแรงงานต่างชาติกรณีพิเศษ นายจ้างจะต้องทำการประกันการรักษาพยาบาลโรคโควิด-19 ก่อนเข้าประเทศ พร้อมกรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ อัพโหลดเอกสารและข้อมูลการประกันภัยบนเว็บไซต์ศูนย์บริการแรงงานต่างชาติที่สนามบิน โดยเอกสารนี้ อาทิ หลักฐานการซื้อประกันภัย เอกสารขอเคลมประกัน หนังสือมอบฉันทะ และสัญญาของนายจ้าง เป็นต้น มิฉะนั้นจะไม่สามารถนำเข้าแรงงานต่างชาติได้
กระทรวงแรงงานย้ำเตือนว่า หลังจากที่แรงงานต่างชาติเข้ามาในประเทศแล้ว นายจ้างยังคงต้องปฏิบัติตาม “แนวทางสำหรับนายจ้างในการจ้างแรงงานต่างชาติเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 ได้แก่ ข้อควรระวังในการทำงาน การดำรงชีวิต และการออกไปข้างนอก” อย่างเคร่งครัด เพื่อทำหน้าที่ของนายจ้างให้ดีที่สุด