:::

จากโคโซโวไปสู่ทีมเดินขบวนทางการทูตแห่เจ้าแม่มาจู่ กัวเจียโย่วเปิดเส้นทางการทูตใหม่เริ่มต้นจากภาคประชาชน

จากโคโซโวไปสู่ทีมเดินขบวนทางการทูตแห่เจ้าแม่มาจู่ กัวเจียโย่วเปิดเส้นทางการทูตใหม่เริ่มต้นจากภาคประชาชน
จากโคโซโวไปสู่ทีมเดินขบวนทางการทูตแห่เจ้าแม่มาจู่ กัวเจียโย่วเปิดเส้นทางการทูตใหม่เริ่มต้นจากภาคประชาชน

กัวเจียโย่ว

ประวัติการศึกษา: Business Administration, National Taiwan University
                     Master of Arts in Public Policy, Central European University

อาชีพปัจจุบัน: ประธานสมาคมการทูตดิจิทัลแห่งไต้หวัน (Taiwan Digital Diplomacy Association)

 

ประเพณีเดินขบวนแห่เจ้าแม่มาจู่ ซึ่งจัดขึ้นในทุก ๆ ปี ในเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติจีน กลายมาเป็นหนึ่งในสามพิธีกรรมทางศาสนาที่มีชื่อเสียงของโลก ประเพณีเดินขบวนแห่เจ้าแม่มาจู่ที่ต้าเจี่ยในปีนี้ก็เป็นที่เตะตาของทุกคนเหมือนกัน ผู้เดินขบวนร่วมถือธงชาติของนานาประเทศ ซึ่งประกอบด้วยทูตต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 13 ประเทศ และแขกผู้มีเกียรติชาวต่างประเทศกว่า 20 ประเทศ รวมกลุ่มกว่าหนึ่งร้อยคนกลายมาเป็น “กลุ่มผู้เดินขบวนแห่ทางการทูต”

แน่นอนว่านี่จะต้องเป็นการเดินขบวนแห่เจ้าแม่มาจู่ที่ต้าเจี่ยที่มีความเป็นสากลมากครั้งหนึ่ง และคนที่รับผิดชอบในการจัดการกับภารกิจที่สำคัญในครั้งนี้ก็คือ สาววัยรุ่นผู้อายุยังไม่ถึงสามสิบ กัวเจียโย่ว (郭家佑) เป็นผู้นำกลุ่มหนุ่มสาวผู้มีจิตใจอันแรงกล้า ภายใต้ความร่วมมือกับสมาพันธ์เต๋า (The General Association of Chinese Taoism) เพียงระยะเวลาสั้น ๆ แค่ 12 วัน ก็สามารถทำให้ภารกิจที่สำคัญนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ภาพธงชาติจากนานาประเทศที่กำลังเดินขบวนเข้าสู่วัดเจินหลาน (鎮瀾宮) เป็นสิ่งที่น่าประทับใจที่สุด กัวเจียโย่ว ได้รับการตอบรับจากผู้คนมากมายหลังจบงาน “ฉันไม่รู้ว่าพวกคุณทำอะไรมาก่อน แต่ตอนนี้ฉันเข้าใจแล้ว” เธอเชื่อว่านี่หมายความว่า กิจกรรมทางการทูตที่เริ่มจากภาคประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมโดยสมาคมการทูตดิจิทัลของไต้หวันในที่สุดก็เริ่มเป็นที่สังเกตของสาธารณชนในไต้หวัน

จากโคโซโวไปสู่ทีมเดินขบวนทางการทูตแห่เจ้าแม่มาจู่ กัวเจียโย่วเปิดเส้นทางการทูตใหม่เริ่มต้นจากภาคประชาชน

จากโคโซโวถึงเวียดนาม การทดลองทางการทูตดิจิทัลของเยาวชนไต้หวัน

เมื่อปี 2018 กัวเจียโย่ว ได้ใช้พลังของการสื่อสารในชุมชนออนไลน์ในโคโซโว เพื่อชิงชื่อโดเมนของประเทศให้กับโคโซโว ทำให้สื่อต่างประเทศได้เห็นการทดลอง "การทูตดิจิทัล" ของกัวเจียโยว่

ในปี 2019 กัวเจียโยว่ ได้ไปรู้จักกับตู้หายหย่ง นักเรียนต่างชาติชาวเวียดนามผู้มาศึกษาในไต้หวันและได้เป็นผู้ก่อตั้ง Taiwan Diary ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านการศึกษาต่อในไต้หวันที่ก่อตั้งขึ้นในเวียดนาม ทั้งสองคนที่มีความคิดและทัศนคติเดียวกัน ร่วมกันระดมทุน เปิดร้านกาแฟส่งเสริมการทูตภาคประชาชนของไต้หวัน (Taiwan Corner) ในโฮจิมินห์ซิตี้

อะไรคือการทูตดิจิตอล ? กัวเจียโย่วกล่าวว่า การทูตดิจิตอลคือ การเริ่มต้นการติดต่อข้ามพรมแดนและการริเริ่มต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต การเปิดตัวการทดลองทางการทูตผ่านภาคประชาชน เป็นการค้นหาวิธีที่จะนำพลังงานจากออนไลน์มาสู่โลกแห่งความเป็นจริง

กัวเจียโย่วยังพบว่า ชาวเวียดนามส่วนใหญ่มีความเคยชินกับการสอบถามปัญหาโรคภัยไข้เจ็บในเฟสบุ๊ค ดังนั้น กัวเจียโย่วเลยได้ร่วมมือกับนักเรียนต่างชาติชาวเวียดนามที่ศึกษาที่ไต้หวันสร้างแพลตฟอร์มในการให้ข้อมูลทางการแพทย์ขึ้น โดยเชิญชวนนักศึกษาแพทย์ชาวเวียดนามที่มาเรียนที่ไต้หวันจัดทำคลิปวิดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ สิ่งนี้ทำให้ กัวเจียโย่วได้เข้าใจว่าควรจะทำอย่างไรให้ชุมชนชาวต่างชาติในไต้หวันที่มาจากประเทศต่าง ๆ ได้ค้นพบเวที ที่พวกเขาสามารถแสดงความสามารถของพวกเขาได้

ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ สมาคมการทูตดิจิทัลแห่งไต้หวันก็ได้จัดตั้งขึ้นครบ 3 ปีแล้ว เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน กัวเจียโย่วบอกว่า “ตอนนั้นเราเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ที่ทำงานในร้านกาแฟ บางครั้งถ้าเราต้องการประหยัดเงินค่ากาแฟ เราก็จะไปนั่งอยู่ในที่ทำการไปรษณีย์หรือธนาคารเพื่อตากแอร์ในช่วงบ่ายใช้คอมพิวเตอร์”

3 ปีต่อมา สมาคมได้เติบโตขึ้นเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินโครงการระดับนานาชาติในเกือบ 25 ประเทศ ประชาสัมพันธ์ข่าวของไต้หวันไปยังสื่อใน 23 ประเทศและมีสมาชิกในทีม 24 คนและอาสาสมัครเกือบ 200 คน

จากโคโซโวไปสู่ทีมเดินขบวนทางการทูตแห่เจ้าแม่มาจู่ กัวเจียโย่วเปิดเส้นทางการทูตใหม่เริ่มต้นจากภาคประชาชน

ติดต่อกับชุมชนชาวต่างชาติในไต้หวัน เพื่อปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความไว้วางใจ

ในช่วงสภาวะที่มีการระบาดของโควิด 19 ไปทั่วโลกในปี 2020 ไต้หวันถือว่าเป็นประเทศส่วนน้อยที่ยังสามารถใช้ชีวิตได้ปกติสุข ด้วยการนี้สมาคมการทูตดิจิทัลแห่งไต้หวันได้รวมกลุ่มชุมชนชาวนอร์เวย์และละตินอเมริกาในไต้หวันขึ้น ร่วมกันจัดขบวนพาเหรดวันชาตินอร์เวย์เพียงแห่งเดียวของโลกในไต้หวันเมื่อปีที่แล้ว และจัดการแข่งขันฟุตบอล 2020 Copa America Taiwan โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 13 ประเทศและผู้คน 4,000 คนโดยมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ กิจกรรมธรรมดา ๆ ในยุคที่ไม่ธรรมดาเหล่านี้กลายเป็นจุดสนใจของสื่อต่างประเทศ ซึ่งช่วยให้ไต้หวันยกระดับความประทับใจในสายตาของผู้คนในประเทศอื่น ๆ

เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงสามปีที่ผ่านมา กัวเจียโย่วได้สร้างพื้นที่ทางการทูตภาคประชาชนที่แปลกใหม่ให้กับชาวไต้หวัน ไม่มีใครให้เดินตามแบบ ทุก ๆ การริเริ่มคือการบุกเบิกเส้นทางใหม่ ๆ

"จากโคโซโวไปเวียดนาม และจากอเมริกากลางและใต้ไปยังโอเชียเนีย เรากำลังก้าวจากประเทศเล็ก ๆ ที่ไต้หวันไม่ค่อยมีพื้นที่ทับซ้อนกัน และเรายังท้าทายความสัมพันธ์ทางการทูตของคนไต้หวันกับประเทศทางการทูตด้วยการทดลองทางการทูต ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการมีส่วนร่วมในการทูตของภาคประชาชนมีรูปแบบความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด  อีกทั้งยังพิสูจน์ให้เห็นอีกว่าการทูตเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ " กัวเจียโย่วกล่าว

ท้ายที่สุดแล้วการทูตเป็นเรื่องของความไว้วางใจ สิ่งที่สมาคมการทูตดิจิทัลแห่งไต้หวันกำลังทำอยู่ ก็เหมือนกับการช่วยไต้หวันสร้างสมุดบัญชีคอนเนคชั่นขึ้น และสมุดบัญชีคอนเนคชั่นนี้ยังต้องการคนจำนวนมากขึ้นเพื่อทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์

สมาคมการทูตดิจิทัลแห่งไต้หวัน: https://www.facebook.com/TaiwanDigitalDiplomacy

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading