ตามรางานข่าวของ “4-Way Voice” คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้แถลง “รายงานโครงการสิทธิมนุษยชนของลูกเรือประมงต่างชาติ” เมื่อวันที่ 30 พ.ย. เพื่อหารือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของลูกเรือประมงต่างชาติในไต้หวันและทิศทางในการปรับปรุง หวังเหม่ยอวี้ (王美玉) หนึ่งในคณะกรรมการชี้ว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาการขูดรีดลูกเรือประมงต่างชาติน่านน้ำสากลถูกสื่อต่างชาติหยิบเอามารายงานถี่ขึ้น และประเด็นที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ คือประเด็นการจัดการบริษัทจัดหางานต่างชาติและการควบคุมเรือประมงไร้สัญชาติหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เรือที่ชักธงโดยสะดวก (Flag of convenience) ในการนี้ เธอก็ได้เสนอแนวทางการปรับปรุงสำหรับเรื่องนี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม: การจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในไทย ผู้เข้าร่วมจะต้องฉีดวัคซีนครบ + ใบรับรองผลตรวจโควิด-19 ที่เป็นลบ ภายใน 3 วัน
รัฐบาลหารือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของลูกเรือประมงต่างชาติในไต้หวัน ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากไต้หวันไม่มีอำนาจควบคุมเรือประมงไร้สัญชาติ เว้นแต่จะเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ภายใต้การกำกับดูแลจากทุกภาคส่วน กรมประมงได้ระบุชัดเจนว่า จะใช้วิธีควบคุมจำนวนเรือประมงไร้สัญชาติ ล่าสุดได้แก้ไขระเบียบ ไม่อนุญาตให้พลเมืองไต้หวันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์จดทะเบียนธงแห่งความสะดวก (Flag of convenience)
อย่างไรก็ดี หวังเหม่ยอวี้ระบุว่า สำหรับสภาพแวดล้อมการทำงานบนเรือของลูกเรือประมงต่างชาติ ควรมีการกำหนดกฎระเบียบที่ละเอียดมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียโอกาสตรวจสอบสภาพแวดล้อมการทำงานของลูกเรือประมงต่างชาติ จากการห้ามเรือประมงเหล่านี้เข้าท่าเทียบเรือ “ในปัจจุบัน ประเทศที่จดทะเบียนธงแห่งความสะดวกกำลังประสบปัญหาทางการฑูต อย่างไรก็ดี เรายังคงสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ผ่านแรงกดดันจากประเทศที่ทำการประมง ร่วมกันปราบปรามเรือประมงไร้สัญชาติที่ทำประมง IUU (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing – IUU Fishing หมายถึงการทำประมงผิดกฎหมาย) มีพฤติกรรมขูดรีดแรงงาน”
หวังเหม่ยอวี้ชี้ว่า โดยทั่วไปเมื่อเรือประมงไร้สัญชาติหรือเรือที่ชักธงโดยสะดวกเทียบท่า เราสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบศุลกากร การตรวจคนเข้าเมืองสัตว์และพืช มาตรการปลอดภัยและความปลอดภัยในการเดินเรือตามกฎหมาย แต่มีเพียง “สิทธิมนุษยชนของแรงงาน”เท่านั้นที่ไม่มีหลักการทางกฎหมายที่สมบูรณ์ในการตรวจสอบ เนื่องจากข้อกำหนดเงื่อนไขแรงงานในปัจจุบันที่ได้แนบมากับการตรวจสอบใบอนุญาตการลงทุนนั้น เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับที่อยู่ในระดับต่ำเกินไป เธอจึงแนะนำให้สภาบริหาร ควรส่งเสริมการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
ในส่วนของการจัดการบริษัทจัดหางาน หวังเหม่ยอวี้ชี้ว่า บริษัทจัดหางานไต้หวันได้ช่วยเรือไร้สัญชาติหาแรงงานประมงต่างชาติ ซึ่งสัญญาจ้างมีเนื้อหาราวกับเป็นการขายตัวเองก็ไม่ปาน นอกจากนี้ บริษัทจัดหางานต้องดูแลรับผิดชอบและจ่ายเงินเดือนให้แรงงานประมง ทำให้เกิดความสับสนด้านอำนาจการรับผิดชอบระหว่างนายจ้างและบริษัทจัดหางาน ในระหว่างการตรวจสอบ สภาควบคุมพบว่า แรงงานถูกกฎหมายถูกบริษัทจัดหางานบางแห่งจงใจรายงานว่ากลายเป็นแรงงานหลบหนีขาดการติดต่อ ส่งผลให้แรงงานประมงต่างชาติ กลายเป็นแรงงานเถื่อนในทะเล ถูกบริษัทจัดหางานจากทั้งสองประเทศขูดรีด หักเงินค่าแรง
อ่านข่าวเพิ่มเติม: เพิ่มความครอบคลุมอัตราการฉีดวัคซีน สถานีรถไฟไทเปให้บริการฉีดวัคซีนต่อไปอีกจนถึงวันที่ 29 ธ.ค.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้แถลง “รายงานโครงการสิทธิมนุษยชนของลูกเรือประมงต่างชาติ” ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
บริษัทจัดหางานช่วยออกค่าจ้างให้ก่อนก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ บริษัทจัดหางานจากทั้งสองประเทศมักใช้กลวิธีต่างๆในการเรียกเก็บเงินกับแรงงานประมงต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นการหักค่าจ้างล่วงหน้า หรือเรียกเก็บค่าประกัน ทำให้แรงงานประมงไม่ได้รับค่าจ้างตามที่ควรได้รับ ประกอบกับมีกระบวนการที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน ทำให้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอีกมากมาย แล้วไหนจะเงินส่วนต่างที่เสียไปจากอัตราแลกเปลี่ยน หวังเหมายอวี้จึงแนะนำว่า สภาบริหารควรเปิดให้มีการร่วมมือระหว่างกระทรวงหรือการร่วมมือข้ามพรมแดน เพื่อแก้ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ รับมือกับปัญหาความยากลำบากในการโอนเงินค่าจ้างเข้าบัญชีแรงงานโดยตรง หยุดให้บริษัทจัดหางานเป็นผู้จัดการโอนเงิน
หวัง เหม่ยอวี้ ชี้ว่า กรมประมงได้เพิ่มรายการจำนวนแรงงานประมงขาดการติดต่อเข้าในรายการการประเมินบริษัทจัดหางาน เพื่อเป็นหนึ่งในการหักคะแนนบริษัทจัดหางาน และมีความคาดหวังว่ากระทรวงแรงงานและกรมประมงจะกระชับความร่วมมือ ดำเนินการจัดการ ประเมินผล ควบคุมดูแลบริษัทจัดหางานอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของบริษัทจัดหางานต่างประเทศ ถึงแม้ว่าไต้หวันจะไม่สามารถจัดการได้โดยตรง แต่สามารถใช้วิธีการจำกัดบริษัทจัดหางานในประเทศเพื่อให้เกิดการจัดการในทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้ประเทศต้นทางที่นำเข้าแรงงานประมงต้องให้ความร่วมมือด้านการประมงของไต้หวัน รวมถึงบริษัทจัดหางานต่างประเทศจะต้องเป็นหน่วยงานที่มีคุณภาพซึ่งได้รับการอนุมัติและจดทะเบียนในประเทศนั้นๆเป็นต้น ขณะเดียวกัน กรมประมงอาจกำหนดให้เจ้าของเรือหรือบริษัทจัดหางานไต้หวัน ห้ามนำเข้าแรงงานประมงต่างชาติจากบริษัทจัดหางานต่างประเทศที่เคยมีประวัติกระทำผิดกฎหมายด้านการจัดหางาน