[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับรายการ ‘สุขสันต์ภาคเหนือของไต้หวัน’ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน (National Education Radio) คอยรายงานเรื่องราวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ในตอนนี้ ‘อู๋ซื่ออวิ๋น : ฉันปลูกเงาะในไต้หวัน ตอนที่ 2’ (ออกอากาศทางสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน เมื่อวันที่ 30 ก.ค.) ได้เรียนเชิญ อู๋ซื่ออวิ๋น (武氏雲) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวไฮฟอง ประเทศเวียดนามมาร่วมแบ่งปัน โดยมี เฉินหย่าอวี้ (陳亞鈺) และ เฉินอวี้สุ่ย (陳玉水) เป็นพิธีกรดำเนินรายการ
เมื่อ 18 ปีก่อน อู๋ซื่ออวิ๋นเดินทางมาทำงานเป็นล่ามแปลภาษาที่ไต้หวันและได้พบกับสามีคนปัจจุบัน ตอนที่เขากำลังจะเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด สามีเริ่มตามจีบเขาอย่างจริงจัง เพื่อความรักถึงขั้นไล่ตามจีบเขาถึงที่เวียดนาม “ถ้าคุณแต่งงานกับฉัน คุณจะย้ายไปอยู่ที่ไต้หวันด้วยกันไหม” อู๋ซื่ออวิ๋นตอบตกลง พร้อมย้ายกลับมาตั้งรกรากที่เมืองเจียอี้ ไต้หวันกับสามี และเขายังได้เรียนรู้วิธีการปลูกผลไม้ หวังว่าพี่น้องประเทศบ้านเกิดเดียวจะได้ลิ้มรสชาติบ้านตัวเอง
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของทางรายการมาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในต่างประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากขึ้น
ระหว่างการให้สัมภาษณ์ อู๋ซื่ออวิ๋นได้เล่าถึงเรื่องราวหลังแต่งงานย้ายมาอยู่ที่เจียอี้ ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมบ้านผลไม้ของดร.ท่านหนึ่ง เกิดความรู้สึกสงสัยเกี่ยวกับผลไม้โซนร้อนพวกนี้ “ทำไมที่ไต้หวันถึงสามารถปลูกผลไม้ประเทศบ้านเกิดของพวกเราได้นะ” ในตอนนั้นดร.ได้แบ่งปันกับเขาว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยเดินทางไปเที่ยวที่ประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกว่าผลไม้ของคนที่นั่นอร่อย ก็เลยคิดหาวิธีนำเข้า วิธีปลูก วิธีตอนกิ่ง อู๋ซื่ออวิ๋นผู้ที่โตมาในสภาพแวดล้อมที่มีการเลี้ยงปลาปลูกผัก ประจวบกับบ้านพ่อสามีมีที่ว่างอยู่หนึ่งแปลง จึงตัดสินใจเป็นเกษตรกรในไต้หวัน
อู๋ซื่ออวิ๋นสามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตของคนชนบท ตามหาความสุขจนเจอ ภาพ/นำมาจาก National Education Radio
ในตอนนั้นอู๋ซื่ออวิ๋นอุ้มลูกน้อยไปเข้าเรียนในชั้นเรียนที่ชุมชนเปิดสอน ขณะนั้นไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรเกษตรอินทรีย์ หลักสูตรไฮโดรโปนิกส์มีเต็มไปหมด หลังจากที่ได้รู้จักกับคุณครูหลาย ๆ ท่านแล้ว เขาเกิดความสนใจในการปลูกผลไม้ หลังผ่านการฝึกฝนเรียนรู้ ลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง ในที่สุดก็สามารถปลูกผลไม้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทั้งสดและอวบอิ่มได้อย่างมากมาย หนึ่งในนั้นคือเงาะ “ฉันหวังว่าพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันจะได้ลิ้มรสชาติประเทศบ้านเกิดของตนเอง” พิธีกรฟังแล้วพูดขึ้นทันทีว่า “ฉันเคยซื้อเงาะกับเขาอยู่ครั้งหนึ่ง ตอนแรกที่ได้กินรู้สึกซึ้งเกือบร้องไห้ออกมาเลย”
อ่านข่าวเพิ่มเติม: โครงการสร้างฝันของสะใภ้ไต้หวันหลินยวี่เมิ่ง ทำให้อิสราเอลได้มองเห็นไต้หวัน
ครั้งแรกที่มาทำงานในไต้หวัน อู๋ซื่ออวิ๋นไม่ชินกับเรื่องอาหารการกินของคนที่นี่ เพราะว่าตอนที่เธออยู่ที่เวียดนามชินกับการกินรสชาติเปรี้ยว ๆ เผ็ด ๆ แต่ยุคนั้นที่ไต้หวันมีร้านอาหารเวียดนามไม่มากนัก อีกทั้งคนไต้หวันกินอาหารรสชาติค่อนข้างจืด เพราะฉะนั้นเธอกินอาหารอย่าง “ไม่แฮปปี้” ต่อมาเวลาที่อู๋ซื่ออวิ๋นออกไปกินข้าวนอกบ้าน เขาก็จะพกน้ำปลาและพริกขวดเล็ก ๆ ไปด้วย พิธีกรพูดพลางหัวเราะว่า “ทำไมน่ารักจังเลย”
นอกจากนี้ อู๋ซื่ออวิ๋นหลังจากที่เดินทางมาอาศัยอยู่ที่ไต้หวันเธอไม่ชินกับการใช้ชีวิตแบบไม่มีเพื่อน เลยตัดสินใจกลับเวียดนาม ไม่คิดเลยว่าสามีขอตนจะตามเขาไปถึงเวียดนามและขอเขาแต่งงานที่นั่น ตอนนั้นเขายังได้ถามย้ำต่อสามีว่า “จริงหรอ” สามีตอบกลับมาว่า “จริงนะสิ”
เมื่อเธอเดินทางกลับมาอาศัยอยู่ในไต้หวันอีกครั้ง สามีของอู๋ซื่ออวิ๋นได้ไปรับเธอที่สนามบิน ขณะนั่งรถยิ่งนั่งยิ่งรู้สึกนานขึ้นเรื่อย ๆ วิวนอกหน้าต่างมีเพียงท้องทุ่งนา เมื่อไปถึงจึงรู้ว่าบ้านสามีอยู่ในพื้นที่เขตภูเขาของเมืองเจียอี้ “เมื่อฉันมาถึงครั้งแรก ฉันอยากจะพูดว่า ฉันรู้สึกเหมือนถูกหลอกมาเลย” เธอยังพูดติดตลกกับเพื่อน ๆ ในไทเปว่า ที่บ้านสามีสถานที่ที่มีชีวิตชีวามากที่สุดคือร้านสะดวกซื้อ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: จากเด็กดื้อสู่นิทรรศการภาพยนตร์นานาชาติ เหงียนทูหั่งทอดสะพานระหว่างไต้หวันและเวียดนามในการได้รู้จักกันอีกครั้ง
พิธีกรถามอย่างสงสัยว่า “แล้วเธอปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่างไร” อู๋ซื่ออวิ๋นบอกว่า เธอได้ขี่รถมอเตอร์ไซค์ซ้อนท้ายลูกน้อยไปดูวิวบนภูเขา เธอเล่าต่อว่าชีวิตในชนบทนั้นจริง ๆ มันสนุกและพิเศษ เธอคิดว่าเธอต้องหาความสุขของชีวิตด้วยตัวเอง เมื่อเริ่มรู้จักผู้คนมากขึ้นเธอก็ไม่รู้สึกว่าชีวิตเต็มไปด้วยความเหงาอีกต่อไป
สุดท้ายพิธีกรได้กล่าวว่า อู๋ซื่ออวิ๋นก็เหมือนกับมังกรเปลี่ยนสี เมื่อไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ สีผิวก็เปลี่ยนไปตามสภาพนั้น ๆ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตของคนที่นั้นและหาความสุขจนเจอ