เทศกาลไหว้พระจันทร์ (Moon Festival, Mid-Autumn Festival) ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 ของทุกปี ตามปฏิทินจันทรคติ ถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของกลุ่มคนเชื้อสายจีน โดยในช่วงเทศกาลนี้ ผู้คนจะสักการะบูชาบรรพบุรุษ ชมพระจันทร์ ทานขนมไหว้พระจันทร์ และส้มโอ ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นช่วงเวลาที่คนในครอบครัวมารวมตัวกันอีกด้วย ซึ่งนอกจากที่ไต้หวันแล้ว ที่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้เช่นเดียวกัน 【เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ในไต้หวัน เพื่อให้พี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เข้าใจประเพณีของเทศกาลนี้มากยิ่งขึ้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม:สภาบริหารทุ่มเงิน 5.2 พันล้าน ผลักดัน "โครงการส่งเสริมชาวต่างชาติให้มาศึกษาต่อที่ไต้หวัน"
ขนมไหว้พระจันทร์ หรือ "ขนมถวนหยวน " หมายถึงการที่สมาชิกในครอบครัวกลับมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตา ภาพ/จากคลังภาพ pixabay
“เทศกาลไหว้พระจันทร์” หรือที่ในภาษาจีนเรียกกันว่า “จงชิวเจี๋ย”มาจากคำศัพท์ 3 คำประกอบกัน คือ คำว่า “จง” ที่แปลว่า กลาง “ชิว” ที่แปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง และ “เจี๋ย” ที่แปลว่า เทศกาล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของกลุ่มคนเชื้อสายจีน มีความสำคัญเทียบเท่ากับ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเลยทีเดียว โดยคำว่า "จงชิว" มีการปรากฏขึ้นครั้งแรก ในหนังสือบันทึกระบบการเมืองและพิธีการต่างๆ ในสมัยราชวงศ์โจว ชื่อว่า "โจวหลี่" (周禮) แต่ก็ยังไม่ได้มีการกล่าวถึงในแง่ของเทศกาล จนมาถึงในสมัยราชวงศ์ถัง เทศกาลไหว้พระจันทร์ถึงได้เปลี่ยนมาเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเป็นประจำ และเริ่มมีบันทึกเกี่ยวกับการชมพระจันทร์ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ประเพณีของเทศกาลไหว้พระจันทร์เริ่มมีการแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จนกลายมาเป็นเทศกาลสำคัญ สำหรับการรวมตัวกัน เพื่อชมพระจันทร์ ของคนในครอบครัว จนถึงปัจจุบัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม:สตม.ทำ “แบบสำรวจความต้องการสำหรับพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ประจำปี 2023” หวังยกระดับมาตรฐานชีวิต
การปิ้งย่างในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ถือเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไต้หวันไปแล้ว ภาพ/จาก Lesley
สิ่งที่นิยมทำในเทศกาลไหว้พระจันทร์ มีดังนี้
1.ชมพระจันทร์
เทศกาลไหว้พระจันทร์ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นคืนที่พระจันทร์จะเต็มดวง ส่องสว่างงดงาม สมาชิกในครอบครัวจะกลับมารวมตัวกัน เพื่อทานอาหาร และชื่นชมความงามของพระจันทร์ร่วมกัน
2.บูชาบรรพบุรุษ
การบูชาบรรพบุรุษถือเป็นประเพณีที่สำคัญในเทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง โดยจะมีการจัดเตรียมของไหว้เป็นเนื้อสัตว์และอาหารเจอย่างละสามชนิด เพื่อไหว้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว ให้บรรพบุรุษทราบ
อ่านข่าวเพิ่มเติม:0827 ห้องเรียนภาษา—ไหว้พระที่เหราเหอ
นอกจากการปิ้งย่างในครัวเรือนแล้ว รัฐบาลยังได้อำนวยความสะดวก โดยการเปิดสวนสาธารณะ ลานจัดกิจกรรม และพื้นที่โล่งอื่นๆ ให้ประชาชน สามารถมาปิ้งย่างกันได้ ภาพ/จาก Lesley
3. ไหว้ถู่ตี้กง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลที่มีขึ้นในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีการไหว้ถู่ตี้กง เพื่อขอบคุณ ที่ท่านทรงอวยพร ให้การเก็บเกี่ยวในปีนี้ เป็นไปด้วยความราบรื่น และช่วยดูแลคนในครอบครัวให้ปลอดภัย
4.ไหว้พระจันทร์
ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ จะมีการจัดโต๊ะวางของไหว้พระจันทร์ อาทิ ขนมไหว้พระจันทร์ ส้มโอ ลูกพลับ และเครื่องบูชาอื่นๆ เพื่อสวดภาวนาให้คนในครอบครัวปลอดภัย และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อย่างไรก็ตาม ตามความเชื่อโบราณ ได้เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ผู้ชายมักจะไม่เข้าร่วมพิธี เนื่องจากผู้ชายถือเป็นธาตุหยาง และเชื่อว่าพระจันทร์เป็นธาตุหยิน ซึ่งเป็นธาตุของผู้หญิง จึงให้ผู้หญิงเข้าร่วมพิธีเท่านั้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม:ไถจงจุดพลุฉลองวันชาติ 1,500 นัด เริ่มทดลองปล่อยวันที่ 18 กันยานี้ !
การทานส้มโอ ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ เปรียบเสมือนกับการอวยพรให้ ลูก ๆ หลาน ๆ มีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัย ภาพ/จากคลังภาพ pixabay
5. ทานส้มโอ
ช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นฤดูเก็บเกี่ยวส้มโอ ซึ่งส้มโอ ออกเสียงคล้ายกับคำว่า “ปกปักรักษา” ในภาษาจีน ดังนั้น การรับประทานส้มโอในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ก็เปรียบเสมือนกับการอวยพรให้ ลูก ๆ หลาน ๆ มีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัย
6. ทานขนมไหว้พระจันทร์
ขนมไหว้พระจันทร์ สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมถวนหยวน " ซึ่งหมายถึงการที่สมาชิกในครอบครัวกลับมาอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตา ล้อมวงเป็นวงกลม เพื่อชมพระจันทร์ และทานขนมไหว้พระจันทร์ด้วยกัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม:LINE ของรัฐบาลเมืองไทเป มีระบบแจ้งเหตุเกี่ยวกับสัตว์โดยเฉพาะ ประชาชนสามารถขอความช่วยเหลือได้!
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นคืนที่พระจันทร์เต็มดวง สมาชิกในครอบครัวจะกลับมารวมตัว แม้แต่สัตว์เลี้ยงก็มาร่วมอวยพรด้วย ภาพ/จาก Lesley
7. บาร์บีคิว
เทศกาลแห่งการปิ้งย่าง ถือเป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้เลย ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ของคนไต้หวัน นอกจากการปิ้งย่างในครัวเรือนแล้ว รัฐบาลยังได้อำนวยความสะดวก โดยการเปิดสวนสาธารณะ ลานจัดกิจกรรม และพื้นที่โล่งอื่นๆ ให้ประชาชน สามารถมาปิ้งย่างกันได้ สงสัยไหมว่า ทำไมชาวไต้หวันถึงให้ความสำคัญกับการปิ้งย่าง ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ขนาดนี้ ? เทศกาลแห่งการปิ้งย่างในไต้หวัน เป็นผลมาจากอิทธิพล และความดังของโฆษณาซอสถั่วเหลือง ในช่วงปลาย ค.ศ. 1980 ที่ปลุกกระแสการปิ้งย่างมาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้การปิ้งย่างในเทศกาลไหว้พระจันทร์กลายมาเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของไต้หวันไปแล้ว