:::

วัฒนธรรมประเพณีของเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์แตกต่างกันมาก นายจ้างควรเคารพผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างชาติ

วัฒนธรรมประเพณีของเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์แตกต่างกันมาก ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
วัฒนธรรมประเพณีของเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์แตกต่างกันมาก ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

วัฒนธรรมประเพณีของเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์แตกต่างกันมาก นายจ้างควรเคารพผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างชาติ

ตามรายงานข่าวของ “Thai PBS” ระบุว่า หลายปีมานี้ วัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลไปยังประเทศต่าง ๆ ในวงกว้าง ขณะที่บรรยากาศของเทศกาลตรุษจีนก็ได้เผยแพร่ไปทั่วโลก บรรดาชาวจีนโพ้นทะเล  ชาวต่างชาติเชื้อสายจีน และนักศึกษาจีนในต่างประเทศ ต่างจัดกิจกรรมหลากหลายในช่วงเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ หน่วยงานราชการของหลายประเทศยังให้ความสำคัญกับกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้เทศกาลตรุษจีนจากที่เคยเป็นเทศกาลเฉพาะของจีน ปัจจุบันได้ กลายเป็นเทศกาลสากล ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ เช่น  เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ ได้กำหนดเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ ประเทศโลกตะวันตกหลายประเทศยังได้กำหนดเทศกาลตรุษจีนเป็นวันหยุดสาธารณะ หรือ มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ วันนี้ จึงขอใช้โอกาสนี้กล่าวถึงบรรยากาศของเทศกาลตรุษจีนในต่างแดน โดยเริ่มต้นจากเอเชียอาคเนย์ก่อน

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ต้องระวัง! แรงงานต่างชาติจะ “ถูกเพิกถอน” ใบอนุญาตการจ้างงานหากฝ่าฝืนกฎระเบียบการป้องกัน “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร”

【เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】รวบรวมบรรยากาศเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์มาให้ผู้อ่านดู ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

【เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】รวบรวมบรรยากาศเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์มาให้ผู้อ่านดู ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

  • ตามรายงานข่าวของ “CRI” รายงานว่า สำหรับประเทศไทยแล้ว คนไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนมาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อน การที่ชาวจีนเดินทางมาถึงดินแดนไทย เจริญการค้าตั้งถิ่นฐานในประเทศจนถึงทุกวันนี้ ไทยมีชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนพำนักอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมหาศาล และปรากฏเป็นชุมชนชาวจีนที่เรียกว่า China Town ในหลายพื้นที่ของประเทศ เช่น ในย่านเยาวราชและสำเพ็งในกรุงเทพฯ รวมไปถึงในตัวเมืองของจังหวัดใหญ่ เช่น นครสวรรค์ ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ และภูเก็ต ก็ต่างมีย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่ด้วย ระยะเวลาหลายร้อยปีมานี้ ขนบธรรมเนียมประเพณี และรูปแบบวิถีชีวิตของชาวจีนโพ้นทะเลในไทยรวมทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน มีบทบาทต่อวัฒนธรรม วิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยอย่างลึกซึ้ง ทำให้สังคมไทยถือเทศกาลตรุษจีนเป็นวาระสำคัญแห่งการรวมญาติมิตรลูกหลาน และเป็นวันเฉลิมฉลองของครอบครัวอีกวันหนึ่งด้วย นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศในต่างแดนที่มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาเป็นเวลายาวนานที่สุด ขนาดใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลในวงกว้างที่สุด

ทุกปี เมื่อถึงช่วงเทศกาลตรุษจีน สังคมไทยจะเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศการเฉลิมฉลอง เทศกาลอันแสนคึกคัก ไม่ว่าห้างสรรพสินค้า ย่านการค้า หรือตลาดต่าง ๆ ล้วนพบเห็นสิ่งของต่าง ๆ ที่มีความเป็นจีนอย่างเต็มที่ เช่น โคมไฟสีแดง เชือกถักจีน กระดาษตัด ตัวอักษร “福” (ฝู) กลอนคู่ ภาพอวยพรตรุษจีน หรือ ที่เรียกว่า “เหนียนฮว่า” ประกอบกับเพลงเทศกาลตรุษจีน หากคนจีนไปเที่ยวไทยในช่วงเทศกาลตรุษจีน มักจะเกิดความรู้สึกว่า ตัวเองยังอยู่ในประเทศจีนอยู่

อ่านข่าวเพิ่มเติม: โรคภัยไข้เจ็บไม่แบ่งคนรวยหรือจน แรงงานไทยที่มีสิทธิประกันสังคมรับการรักษาฟรี

【เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】รวบรวมบรรยากาศเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์มาให้ผู้อ่านดู ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

【เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】รวบรวมบรรยากาศเทศกาลตรุษจีนในเอเชียอาคเนย์มาให้ผู้อ่านดู ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

  • ที่ประเทศพม่า ชุมชนชาวจีนในนครย่างกุ้ง ร่วมเฉลิมฉลองวันแรกของเทศกาลตรุษจีน ด้วยการจุดธูป และสวดภาวนาขอเทพเจ้าคุ้มครอง และอำนวยพรในปีเสือ
  • ส่วนที่กรุงจาร์กาต้า เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ที่วัดวิหารธรรมะภักดิ์ วัดพุทธที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงจาร์กาต้า คราคร่ำด้วยชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน ที่ร่วมพิธีทางศาสนาเนื่องในวันปีใหม่ ด้วยความหวังให้ชีวิตประสบแต่สิ่งที่ดี สุขภาพแข็งแรง ชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนเพิ่งจะสามารถเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนได้อย่างเปิดเผยเมื่อ 15 ปีก่อน หลังการโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีเผด็จการซูฮาร์โต้ ซึ่งห้ามไม่ให้มีการแสดงออกทางวัฒนธรรมจีน รวมถึงการฉลองในเทศกาลตรุษจีนด้วย แต่ ณ ปัจจุบัน เทศกาลตรุษจีนกลายเป็นวันหยุดราชการประจำปีของอินโดนีเซียไปแล้ว
  • ชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีน มุ่งหน้าสู่ย่านไชน่า ทาวน์ในกรุงมะนิลา เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษจีน นอกจากนี้ยังมีชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีนบางกลุ่ม นำธูปเทียนจุดขอพรตามโบสถ์ใกล้บ้าน หรือวัดพุทธ ตามความเชื่อทางศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างในฟิลิปปินส์ ขณะที่หลายคนตั้งความหวังว่า ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์กับจีน จะไม่เลวร้ายลงกว่าที่เป็นอยู่ จากกรณีพิพาททางทะเล
  • ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีประชาชนเชื้อสายจีนจำนวนมากไม่แพ้กัน ครองสัดส่วนถึง 80% ของประเทศ ดังนั้น เทศกาลตรุษจีนในประเทศสิงคโปร์จึงเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี เวลาไปเยี่ยมญาติมิตร ชาวสิงคโปร์จะต้องมอบของฝากอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ส้มที่ห่อด้วยถุงสวยงาม เนื่องจากชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้ง คำว่า “柑” (กัน หมายถึง ส้ม) กับคำว่า “金” (จิน หมายถึง ทองคำ) ออกเสียงคล้ายกันในภาษากวางตุ้ง ดังนั้น ส้มจึงมีความหมายสื่อถึงความร่ำรวย มั่งคั่ง และเป็นของสิริมงคลในสายตาของชาวสิงคโปร์
  • เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเทศกาลตรุษจีนอย่างยิ่ง โดยเทศกาลตรุษจีนเป็นวาระสำคัญแห่งการรวมตัวกันของสมาชิกครอบครัวทุกคน ชาวเวียดนามจะทำการเซ่นไหว้บรรพบุรุษใน กราบไหว้ผู้ใหญ่ ขณะที่ผู้ใหญ่ก็จะแจกอั่งเปาแก่ลูกหลานเช่นเดียวกับชาวจีน กิจกรรมการละเล่นต่าง ๆ ก็มีความคล้ายคลึงกับชาวจีน เช่น การติดกลอนคู่สองข้างประตูบ้าน การจุดประทัด การเชิดสิงโต แต่ก็มีความแตกต่างกับประเทศจีนอยู่บ้าง เช่น ชาวเวียดนามจะให้ความสำคัญกับบุคคลแรกที่มาเยี่ยมบ้าน ดังนั้น วันแรกของเทศกาลตรุษจีนในเวียดนาม หากไม่ได้รับเชิญ ชาวเวียดนามจะไม่ออกจากบ้าน ชาวจีนถือสีแดงเป็นสีสิริมงคล ส่วนชาวเวียดนามถือสีแดงและสีเหลืองเป็นสีสิริมงคล จึงนิยมใช้ทั้งสองสีมาตกแต่งบ้านให้เต็มไปด้วยบรรยากาศของเทศกาล นอกจากนี้แล้ว อาหารที่ไม่อาจขาดได้ในเทศกาลตรุษจีนสำหรับชาวเวียดนาม คือ บ๊ะจ่างสี่เหลี่ยม ที่มีไส้เป็นถั่วเขียวและหมูสามชั้น ซึ่งไม่เหมือนกับชาวจีนที่ต้องกินเกี๊ยวในวันตรุษจีน

ขอบคุณข้อมูลจาก: Thai PBS และ CRI

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading