:::

งานวิจัยชี้ ไต้หวันพบภาวะกระดูกหักสูงสุดในเอเชีย!“โรคกระดูกพรุน”ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

จากงานวิจัยพบว่า ไต้หวันพบภาวะกระดูกหักสูงสุดในเอเชีย ภาพ/จากคลังภาพ Pixabay
จากงานวิจัยพบว่า ไต้หวันพบภาวะกระดูกหักสูงสุดในเอเชีย ภาพ/จากคลังภาพ Pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

บทความเรื่อง “โรคกระดูกพรุน” โดยสมาคมสูตินรีเวชไต้หวัน เผยว่า อัตราการเกิดกระดูกหักของไต้หวันอยู่ในอันดับหนึ่งของเอเชีย และติดอันดับเก้าของโลก นอกจากนี้ อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากกระดูกสะโพกหักภายใน 1 ปี ยังสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งอีกด้วย

ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอันดับสองของโลก รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมักจะเกิดกับคนเอเชียมากกว่าคนชาติตะวันตก แพทย์ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในไต้หวัน กล่าวว่า เนื่องจาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารและลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ชาวเอเชียมีการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมน้อยกว่า โดยทั่วไปมักได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากกว่า นอกจากนี้ ผู้หญิงยังมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า และเร็วกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือน เนื่องจาก การหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งช่วยรักษาการสูญเสียมวลกระดูกและความสมดุล ของโครงสร้างกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กระดูกหักได้ง่าย

ควนรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ เช่น ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์นม และถั่ว เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ภาพ/จากคลังภาพ Pixabay

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก กรมควบคุมโรคเตือนประชาชนรีบฉีดวัคซีนป้องกัน !

การป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้นไม่ใช่เรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงที่ยังเด็ก ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงขอเตือนว่า โรคกระดูกพรุน เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม และเรียกร้องให้ประชาชน รับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ เช่น ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์นม และถั่ว เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน  นอกจากนี้ การออกกำลังกาย และ การบริหารฝึกการทรงตัว อย่างเหมาะสม ยังสามารถป้องกันการหกล้ม และช่วยลดอุบัติการณ์ของกระดูกหักได้ เช่น การเดิน การวิ่ง การเต้นรำ การฝึกโยคะ และการรำไท้เก๊ก เป็นต้น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading