:::

ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เปรียบเทียบความคิดเห็นของคนไต้หวันกับเกาหลี ในประเด็น“สิ่งที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมาย”

ผลการสำรวจ เรื่อง "สิ่งที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมาย" จัดทำโดยสำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ภาพ/นำมาจาก KT Story YouTube
ผลการสำรวจ เรื่อง "สิ่งที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมาย" จัดทำโดยสำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ภาพ/นำมาจาก KT Story YouTube
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

นักสังคมวิทยา แซม ริชาร์ดส์ (Sam Richards) เคยให้นักเรียนในคลาสถกเถียงกันในประเด็น "สิ่งที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมาย" นอกจากนี้ สำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการสำรวจ 17 ประเทศทั่วโลกถึงประเด็นนี้เช่นกัน และเมื่อไม่นานมานี้ คู่สามีภรรยา YouTuber ชาวเกาหลีไต้หวัน จากช่อง KT Story ได้แบ่งปันความคิดเห็นที่พวกเขามีต่อผลสำรวจดังกล่าว พร้อมแสดงความคิดเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไต้หวันกับเกาหลีใต้ในประเด็นนี้ด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม:รายงานการสำรวจสถานการณ์การท่องเที่ยวไต้หวันปีที่แล้ว คนไต้หวันจัดทริปเที่ยวในประเทศเฉลี่ย 8 ทริปต่อคน

ปังอา (邦ㄚ) เขยไต้หวัน แบ่งปันสิ่งที่เขาสังเกตเห็นในสังคมไต้หวัน ภาพ/นำมาจาก KT Story YouTube

จากการสำรวจของสำนักวิจัยพิว (Pew Research Center) เรื่อง "สิ่งที่ทำให้ชีวิตเรามีความหมาย" จะเห็นได้ว่าคำตอบอันดับหนึ่งในประเทศส่วนใหญ่ คือ "ครอบครัว" ในขณะที่ "อาชีพ" และ "เพื่อน" อยู่ในอันดับที่สองและสามตามลำดับ แต่ก็มีสามประเทศที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง คือ ประเทศสเปน ให้ความสำคัญกับเรื่อง "สุขภาพ" เป็นอันดับแรก เกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับเรื่อง "ความมั่งคั่งทางวัตถุ" เป็นอันดับแรก และไต้หวัน ให้ความสำคัญกับเรื่อง  "สังคม" เป็นอันดับแรก

ปังอา (邦ㄚ) เขยไต้หวันจากประเทศเกาหลีใต้ ได้พูดคุยเกี่ยวกับผลสำรวจนี้ กับภรรยาของเขา ในช่อง KT Story เขาได้ยกตัวอย่างจากสองเหตุการณ์ที่เขาสังเกตเห็นในไต้หวัน เรื่องแรก คือ ในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลไต้หวัน ได้มีคำสั่งให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ซึ่งประชาชนในหลายประเทศออกมาแสดงการต่อต้านการสวมหน้ากากอนามัย ถึงกับออกมาเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อประท้วง  ในขณะที่ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ เลือกที่จะให้ความร่วมมือกับกฎระเบียบของรัฐบาล นอกจากนี้ กรณี การสุ่มทำร้ายแบบไม่เลือกหน้า ที่เคยเกิดขึ้นทั้งในไต้หวันและเกาหลีใต้ ผู้คนในหลายๆประเทศ มักเลือกที่จะหลบหนี หรือแจ้งตำรวจ แต่ผู้คนในไต้หวัน มีความกล้าที่จะยืนมือเข้ามาช่วยเหลือ และหยุดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของผู้ต้องสงสัย ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ปังอา เชื่อว่า "สังคม" เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวไต้หวันจริงๆ

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading