:::

เข้าออกห้าง-ร้านค้าในไทยต้องเช็คอิน-เช็คเอ้าท์ผ่านแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ของรัฐบาลก่อน เพื่อเก็บข้อมูลป้องกันโรคโควิด-19

เข้าออกห้าง-ร้านค้าในไทยต้องเช็คอิน-เช็คเอ้าท์ผ่านแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ของรัฐบาลก่อน เพื่อเก็บข้อมูลป้องกันโรคโควิด-19

แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ใช้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ กรณีพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากกิจการ ห้าง ร้านต่างๆ ก็สามารถตามตัวผู้ที่เกี่ยวข้องได้ (ภาพจาก ไทยชนะ.com )

เมื่อวานนี้ (17 พ.ค.) เป็นวันแรกที่มีการเปิดห้างสรรพสินค้าในไทยเป็นวันแรก ยกเว้นโรงภาพยนตร์ ฟิตเนส สวนน้ำ สวนสนุกและตู้เกม หลังจากมติผ่อนปรนระยะที่ 2 โดยกำหนดให้สามารถเปิดปิดได้ระหว่าง 10.00-20.00 น. ซึ่งก่อนหน้านี้ปิดให้บริการไปนานถึง 2 เดือน เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตามการเข้าไปใช้บริการในห้างสรรถสินค้านั้นจะมีกฎระเบียบต่าง ๆ เพิ่มเติมจากก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด เช่น ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่ายกาย เว้นระยะห่างทางสังคม ภายในห้างก็ได้มีการจัดระเบียบพื้นที่สาธารณะใหม่ มีการจัดเจลแอลกอฮอล์ให้ใช้บริการฟรี มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ และประชาชนจะต้องเช็คอิน-เช็คเอ้าท์เข้าออกห้างสรรพสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ของรัฐบาลโดยการสแกน QR-Code ที่บริเวณประตูทางเข้าออก

สำหรับแพลตฟอร์มไทยชนะนั้นเป็นแพลตฟอร์มที่รัฐบาลไทยสร้างขึ้นให้ผู้ประกอบการและผู้รับบริการได้ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการจากการเช็กอิน โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขของไทยจะเป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อติดตาม สอบสวนโรค กรณีพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากกิจการ ห้าง ร้านต่างๆ ก็สามารถตามตัวผู้ที่เกี่ยวข้องได้ โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้เป็นเวลา 60 วัน นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถตรวจสอบความหนาแน่นของกิจการห้างร้านก่อนเดินทางไปใช้บริการได้อีกด้วย

ในส่วนของผู้ประกอบการต้องเข้าไปลงทะเบียนที่แพลตฟอร์มไทยชนะ เพื่อรับ QR Code และนำไปแปะที่หน้าห้าง ร้าน เพื่อเป็นจุดลงทะเบียนผู้ใช้บริการ แทนการใช้สมุดจดข้อมูลลูกค้า ซึ่งเชื่อมโยงกับการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข

การลงทะเบียนขอ QR code ของร้านค้าจากแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” (ภาพจาก ไทยชนะ.com)

สำหรับประชาชนผู้ใช้บริการ ต้องเช็กอิน-เช็กเอาท์ ผ่านแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ก่อนเข้าและหลังเข้าใช้บริการ โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

ผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบ ios: เปิดแอพพลิเคชั่นกล้องเพื่อสแกนคิวอาร์โค้ดที่หน้าห้างร้าน หลังจากสแกนแล้วจะนำเข้าสู่ระบบ ให้ผู้ใช้กรอกเบอร์โทรศัพท์ เพื่อเช็กอิน

ผู้ใช้สมาร์ทโฟนระบบ แอนดรอยด์: ให้โหลดแอพพลิเคชั่นอ่านคิวอาร์โค้ด เช่น QR code reader จากนั้นใช้แอลพลิเคชั่นสแกนคิวอาร์โค้ดหน้าห้างร้านหลังจากสแกนแล้วจะนำเข้าสู่ระบบ ให้ ให้ผู้ใช้กรอกเบอร์โทรศัพท์ เพื่อเช็กอิน

หลังจากนั้น เมื่อใช้บริการเสร็จสิ้น ก่อนออกจากห้างร้าน ผู้ใช้บริการต้อง “เช็กเอาท์” โดยทำเหมือนการ “เช็กอิน” แต่ไม่ต้องกรอกเบอร์โทรศัพท์ โดยเมื่อสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อเช็กเอาท์ ระบบจะให้ประเมินการใช้บริการห้างร้าน ในด้านสุขอนามัย ความสะดวก และความหนาแน่น เพื่อเป็นเรตติ้ง (rating) ของห้างร้านนั้นๆ ต่อไป

ขั้นตอนการเช็คอิน-เช็คเอ้าท์เข้าออกห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าผ่านแพลตฟอร์ม“ไทยชนะ”(ภาพจาก ไทยชนะ.com )

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้บังคับให้ผู้ประกอบการ หรือร้านค้าทั่วไปต้องลงทะเบียนในแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ”. แต่เป็นการขอความร่วมมือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อประชาชนและเจ้าของกิจการ ที่จะได้รับทราบถึงความหนาแน่นของผู้ใช้บริการในสถานที่นั้นๆ ขณะเดียวกันจะทำให้ง่ายต่อการเข้าไปติดตามตามตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการเฝ้าระวัง สำหรับข้อดีของแพลตฟอร์มดังกล่าว หากพบผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มเสี่ยง ระบบจะจำกัดคนเพื่อตรวจหาเชื้อได้และสามารถเข้ารับการตรวจโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการตามตรวจผู้ติดเชื้อด้วย 

นอกจากนี้ ยังเปิดสายด่วน 1119 และแอปพลิเคชันไลน์ ไทยชนะ เพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารให้ประชาชน หรือเจ้าของกิจการที่มีปัญหาก็สามารถโทรติดต่อสอบถามรายละเอียดได้

 

ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบปริมาณคนของห้างหรือร้านค้าที่จะเดินทางไปใช้บริการได้ (ภาพจาก ไทยชนะ.com )

ขั้นตอนการเช็คอิน-เช็คเอ้าท์เข้าออกห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าผ่านแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ”(ภาพจาก ไทยชนะ.com )

แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ใช้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ กรณีพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากกิจการ ห้าง ร้านต่างๆ ก็สามารถตามตัวผู้ที่เกี่ยวข้องได้ (ภาพจาก ไทยชนะ.com )

การลงทะเบียนขอ QR code ของร้านค้าจากแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” (ภาพจาก ไทยชนะ.com)

ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบปริมาณคนของห้างหรือร้านค้าที่จะเดินทางไปใช้บริการได้ (ภาพจาก ไทยชนะ.com )

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading