:::

ภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม “การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ไต้หวันยังคงเดินหน้าการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2050

ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดงานกิจกรรมวันแห่งไต้หวัน ภาพจาก/กระทรวงการต่างประเทศ
ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดงานกิจกรรมวันแห่งไต้หวัน ภาพจาก/กระทรวงการต่างประเทศ
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (UNFCCC COP 26) ได้เปิดฉากขึ้นแล้ว ณ เมืองกลาสโกว์ของสหราชอาณาจักร เมื่อช่วงที่ผ่านมา โดยนายเซิ่นจื้อซิว รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้นำคณะตัวแทนภาครัฐและภาคเอกชนเดินทางเข้าร่วมการประชุม ในฐานะผู้สังเกตการณ์ โดยไต้หวันได้ยึดมั่นในหลักการ “ความเป็นมืออาชีพ การนำไปปฏิบัติจริง และการอุทิศตน” ในการเข้าร่วมองค์การระหว่างประเทศ เพื่อบรรลุภารกิจนานาประการในครั้งนี้

โดยการประชุมในครั้งนี้ บังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญหลายประการ ดังนี้

1.ประเทศพันธมิตรและมิตรประเทศของไต้หวันให้ความช่วยเหลือไต้หวันอย่างเป็นรูปธรรมด้วยความกระตือรือร้น พร้อมให้การยอมรับต่อคุณประโยชน์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไต้หวันอุทิศให้ ตลอดจนเรียกร้องให้ประชาคมโลกเร่งส่งเสริมให้ไต้หวันเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาและกลไกที่เกี่ยวข้องของ UNFCCC และความตกลงปารีสโดยเร็วโดยในปีนี้ ประเทศพันธมิตรของไต้หวันรวม 14 ประเทศยังได้ทยอยส่งหนังสือเรียกร้อง พร้อมร่วมเป็นกระบอกเสียงให้ความช่วยเหลือไต้หวันในการได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการประชุม UNFCCC อย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ปัจจุบันในเมืองไทเปมีจุดบริการฉีดวัคซีน 10 แห่ง ไว้คอยให้บริการสำหรับประชาชนในกรณีฉุกเฉินหรือแบบ Walk In

ภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม “การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26” ภาพจาก/กระทรวงการต่างประเทศ

ภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม “การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26” ภาพจาก/กระทรวงการต่างประเทศ

  1. คณะตัวแทนของไต้หวัน ประเทศพันธมิตรรวม 12 ประเทศ มิตรประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกันที่ประกอบด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ รวม 10 ประเทศ และ 2 องค์การระหว่างประเทศ ร่วมจัดการประชุมเสวนาแบบทวิภาคีรวม 30 รอบ
  1. ในครั้งนี้ คณะตัวแทนไต้หวันได้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อย (side events) รวม 14 รอบ ในจำนวนนี้ ได้ร่วมจัดการประชุมกับประเทศพันธมิตร อาทิ เบลิซ สาธารณรัฐปาเลา และสหพันธรัฐเซนต์คิตส์และเนวิส รวมทั้งหมด 3 รอบ
  1. สืบเนื่องจากการประชุม COP26 มีความสำคัญและได้รับความสนใจจากประชาคมโลกเป็นอย่างมาก ไต้หวันจึงได้จัด “กิจกรรมวันแห่งไต้หวัน” ขึ้น ณ สถานที่รอบนอกของการจัดการประชุม COP26 พร้อมนี้ ยังได้ร่วมจัด “กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมโลก เชื่อมโยงสู่แอฟริกา” (The Global Environmental Education Partnership (GEEP) Africa Event) กับทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ

คณะตัวแทนไต้หวันได้จัด “กิจกรรมวันไต้หวัน” ขึ้น ณ โรงแรม Radisson Blu Hotel ที่ตั้งอยู่ในเมืองกลาสโกว์ โดยจัดขึ้นภายใต้ 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ “ไต้หวันร่วมแรงร่วมใจพัฒนาพลังงานสีเขียว” และ “การแลกเปลี่ยนด้านการเงินสีเขียวและการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่างไต้หวัน - อังกฤษ” โดยในระหว่างการประชุม ได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการ เข้าร่วมแบ่งปันผลสัมฤทธิ์ด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและการเงินสีเขียวของไต้หวัน

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. กลุ่มตัวแทนไต้หวันและทบวงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ ยังได้ร่วมจัดกิจกรรม ภายใต้ชื่อ GEEP Africa Event ในรูปแบบไฮบริด ทั้งการประชุมในสถานที่จริงและแบบออนไลน์ ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ จัดการประชุมกลุ่มย่อยขึ้นในระหว่างการประชุม COP เป็นครั้งแรก โดยกิจกรรมในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของการจัดตั้งศูนย์ GEEP ขึ้นในทวีปแอฟริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเสริมสร้างพื้นฐานการศึกษารวมถึงปลูกฝังแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ผ่านการจัดให้ทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่สำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ศูนย์บริการครอบครัวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมืองเหมียวลี่ จะจัด “โครงการฝึกอบรมล่ามแปลภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” รวม 5 วัน รีบสมัครด่วนเลย

ไต้หวันยังคงเดินหน้าการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ภาพจาก/กระทรวงการต่างประเทศ

ไต้หวันยังคงเดินหน้าการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ภาพจาก/กระทรวงการต่างประเทศ

  1. สโลแกนของแผนผลักดันเข้าร่วมการประชุมในปีนี้ของไต้หวัน คือ Taiwan + Green Energy – Power the Planet for a Green Future ซึ่งภาพลักษณ์ในปีนี้ได้ทำการออกแบบโดยผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมและตึกไทเป 101 ที่เป็นแลนด์มาร์คของไต้หวัน เข้าไว้ด้วยกัน และได้มีการจัดการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ จุดจำหน่ายตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินในเมืองกลาสโกว์ รถแท็กซี่ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และรถโดยสารประจำทางในเมือง เป็นต้น เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ของไต้หวันในด้านต่างๆ อาทิ ความมุ่งมั่นของไต้หวันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาพลังงานสีเขียว เป็นต้น
  1. เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ก่อนการเดินทาง คณะตัวแทนได้จัดการประชุมชี้แจงผ่านการไลฟ์สด ภายใต้หัวข้อ “แผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันไต้หวันเข้าร่วมการประชุม UNFCCC COP26” โดยมีผู้สื่อข่าวจากทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมรวม 50 คน โดยในระหว่างการประชุม รมช.เซิ่นฯ และนายหลินจื่อหลุน รองหัวหน้าคณะได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศมากมาย อาทิ สำนักข่าว Bloomberg นสพ. Financial Times นิตยสาร New statesman เป็นต้น โดยบทความสัมภาษณ์ได้รับการตีพิมพ์ลงในสื่อต่างประเทศที่มีชื่อเสียงรวม 145 ฉบับ
  1. เมื่อวันที่ 1 พ.ย. กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ผลักดันวิดีทัศน์สั้น ภายใต้หัวข้อ “ชาร์จพลังให้กับโลกใบนี้” (A Green Promised Land) ซึ่งจนปัจจุบัน มียอดผู้เข้าชมรวม 8.44 ล้านคนครั้งแล้ว

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading