:::

กระทรวงแรงงานย้ำ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด ขยายเวลาให้กลุ่มต่างด้าวตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ

กระทรวงแรงงานย้ำ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด ขยายเวลาให้กลุ่มต่างด้าวตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ/ภาพจาก THE STANDARD
กระทรวงแรงงานย้ำ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด ขยายเวลาให้กลุ่มต่างด้าวตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ/ภาพจาก THE STANDARD

หลังจากที่ ศบค. มีมติปิดแคมป์ก่อสร้างในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล รวมถึง 4 จังหวัดภาคใต้ ล่าสุดวันนี้ (26 มิถุนายน) สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้เน้นย้ำให้กระทรวงแรงงาน บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพและชีวิตของทั้งแรงงานต่างด้าว และแรงงานไทยในสถานประกอบการ รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนและประชาชนโดยรวม

ซึ่งเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบขยายเวลาดำเนินการ ให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ธันวาคม 2563 ตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ และยื่นขออนุญาตทำงาน (บต.48) ออกไปถึงวันที่ 13 กันยายน 2564 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กระทบต่อการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ โดยเฉพาะขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ณ สถานพยาบาล ที่ซึ่งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ จำต้องทุ่มเทเวลาและสถานที่ที่มีจำกัดไปกับผู้ติดเชื้อที่ยังทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เศรษฐกิจแบ่งปัน! ภาคเหนือเปิดตัวส่วนลด "ตั๋วรายเดือน" และ "goshare wemo"

กระทรวงแรงงานย้ำ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด ขยายเวลาให้กลุ่มต่างด้าวตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ/ภาพจาก THE STANDARD

กระทรวงแรงงานย้ำ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด ขยายเวลาให้กลุ่มต่างด้าวตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ/ภาพจาก THE STANDARD

“ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานขอย้ำว่า นายจ้าง/สถานประกอบการไม่ต้องกังวลใจ แรงงานต่างด้าวตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ สามารถอยู่และทำงานได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องหลบหนีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ ขอให้อยู่ในจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งสถานประกอบการที่ได้ขออนุญาตไว้ เพราะหากตรวจพบว่ามีการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยมิได้รับอนุญาต นอกจากเสี่ยงเป็นเหตุแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว ยังอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ และ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ด้วย

“กรณีจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายแรงงาน ขอให้ติดต่อขออนุญาตผ่านทางสำนักงานจัดหางานจังหวัด และปฏิบัติตามมาตรการของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนั้นๆ สำหรับแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เสี่ยง เราจะลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุก และในกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยใช้งบจากกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้าน ไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ขอให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ติดตามข่าวสารจากกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 โดยตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ และยื่นขออนุญาตทำงาน (บต.48) กับกรมการจัดหางานผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 13 กันยายน 2564 ยื่นผลการตรวจโรคต้องห้าม 6 โรค ภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2564 และจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 ในส่วนคนต่างด้าวที่ลงทะเบียนแบบไม่มีนายจ้าง ให้ขยายระยะเวลาการจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทร.38/1) ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ใส่ใจกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ในการเดินทางด้วยรถไฟทั้งสองในช่วงวันหยุดยาว

กระทรวงแรงงานย้ำ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด ขยายเวลาให้กลุ่มต่างด้าวตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ/ภาพจาก THE STANDARD

กระทรวงแรงงานย้ำ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามจังหวัด ขยายเวลาให้กลุ่มต่างด้าวตรวจโควิด-19 พร้อมทำประกันสุขภาพ/ภาพจาก THE STANDARD

“ทั้งนี้ กรมการจัดหางานฝากถึงนายจ้าง/สถานประกอบการ อย่ารับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย หากไม่มีการจ้างย่อมไม่มีการลักลอบเข้ามาทำงาน ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การลักลอบเข้ามาของแรงงานที่ไม่ได้ผ่านการตรวจคัดกรองโรค อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อตัวนายจ้าง/สถานประกอบการ และกิจการ ตลอดจนชุมชนใกล้เคียงจนถึงระดับประเทศได้ ซึ่งกรมการจัดหางานจะตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีกับคนต่างด้าว และนายจ้างที่กระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับนายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุก และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท และถูกส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้จนกว่าจะพ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading