:::

ป้องกันยาเสื่อมสภาพ ข้อควรระวังในการจัดเก็บยาสามัญประจำบ้าน

ภาพตัวอย่างกล่องยา ภาพ/นำมาจาก Pixabay
ภาพตัวอย่างกล่องยา ภาพ/นำมาจาก Pixabay

เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ตามรายงานข่าวของกองทุนพัฒนาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เกือบจะทุกบ้านจะมีตู้เก็บยา ตัวยาที่ใช้จัดเก็บกันทั่วไป อาทิ ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้หวัด ยารักษาโรคทางเดินอาหาร ยาผิวหนัง ยารักษาบาดแผล เป็นต้น หรือยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุในบ้าน ซึ่งยาแต่ละชนิดนั้นก็มีวิธีการใช้ วิธีการจัดเก็บยาที่แตกต่างกัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามาบอกวิธีการใช้และเก็บที่ถูกต้อง

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : 1 มี.ค ยกเลิกให้ชุดตรวจ ATK แก่นักเดินทางที่เดินทางเข้าไต้หวันและผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อยืนยัน

ภาพตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ PTP ทั่วไป(Press Through Package หรือเรียกบรรจุภัณฑ์กดทะลุ) ภาพ/นำมาจาก Pixabay

บรรจุภัณฑ์ยาให้คงไว้สภาพเดิมหลีกเลี่ยงจากแสงแดดและความชื้น เวลาที่จัดเก็บยาควรมีวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องตามวิธีการบรรจุยาที่แตกต่างกัน เช่น บรรจุภัณฑ์ PTP ทั่วไป(Press Through Package หรือเรียกบรรจุภัณฑ์กดทะลุ) เพื่อป้องกันตัวยาจากความชื้น ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้ยาควรกดแค่จำนวนยาที่ใช้เท่านั้น อย่าให้บรรจุภัณฑ์ส่วนอื่นเสียหายซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานในการแยกอากาศของบรรจุภัณฑ์ ขวดยาหลังการใช้งานควรปิดฝาให้แน่นทุกครั้ง สำหรับชุดยาที่ทางคลินิกจัดเตรียมไว้เภสัชกรจะดำเนินการจ่ายและจัดส่งให้ครบถ้วนตามใบสั่งแพทย์ ดังนั้นหลังฉีกซองยาแล้วควรรับประทานยาในซองให้หมดทันที ซองยาที่ยังไม่ได้ใช้ระมัดระวังอย่าให้ฉีกขาด และให้ใส่ซองยาไว้ในถุงซิปเพื่อป้องกันความชื้น หากใช้ยาเป็นนิสัยแนะนำให้จัดเตรียมยาสำหรับใช้ในหนึ่งอาทิตย์ และตรวจสอบแน่ใจว่าปิดกล่องแน่นสนิทแล้ว

โดยทั่วไปควรเก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง เว้นแต่บนซองหรือบนภาชนะบรรจุขวดจะระบุไว้เป็นอย่างอื่นหรือมีการเตือนพิเศษจากเภสัชกรที่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น(2-8 องศาฯ) มิฉะนั้นการเก็บไว้ในตู้เย็นจะทำให้ตัวยาชื้นและเสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ การสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงหรือวางไว้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและชื้นจะทำให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ระมัดระวังในการเก็บจึงจะมั่นใจในคุณภาพของตัวยา

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : ลาตรวจครรภ์ไม่ถือเป็นการลาป่วย แรงงานต่างชาติมีสิทธิ์ลาคลอด ลาเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้

ภาพตัวอย่างยา ภาพ/นำมาจาก Pixabay

คณะกรรมการอาหารและยาแถลงย้ำ ประชาชนหากมีปัญหาเกี่ยวกับยา สามารถปรึกษาสอบถามเภสัชกร เภสัชกรจะอธิบายวิธีการใช้และการเก็บรักษา ประชาชนสามารถทำความแน่ใจจากซองยาหรือใบสั่งยาถึงการเก็บรักษายาแต่ละชนิดและระมัดระวังอายุการเก็บรักษาของตัวยานั้น นอกจากนี้ ยาที่ต้องการทิ้งสามารถจัดการผ่าน 3 ขั้นตอน “วาง เท ทิ้ง” ขอให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำในการจัดการยาสามัญประจำบ้านอย่างเหมาะสม และอ่านข้อมูลบนซองยาเป็นนิสัย ก็จะสามารถดูแลความปลอดภัยในการใช้ยาได้ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการจัดการยาที่ไม่ได้ใช้อีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading