ตามรายงานข่าวของ “เดลินิวส์” พี่น้องชาวไทลื้อแห่ง “บ้านศรีดอนชัย” อ.เชียงของ จ.เชียงราย ยังคงใช้ชีวิตเฉกเช่นวันวานและยังคงรักษาวัฒนธรรมไทลื้อจากดินแดนสิบสองปันนาไว้ได้อย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งสุดยอดชุมชนในโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ของกระทรวงวัฒนธรรม “วัดท่าข้ามศรีดอนชัย” ที่อยู่ติดถนนสายที่ว่า คือศูนย์รวมจิตใจของชาวไทลื้อบ้านศรีดอนชัย ทุกเช้าก่อนแสงแรกจะทักทายชาวบ้านจะหิ้วปิ่นโตไปวัด แทนที่จะรอพระออกมาบิณฑบาต ซึ่งเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของคนไทลื้อที่แตกต่างจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป เสร็จแล้วแวะเยี่ยมชม “ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ” ที่อยู่ภายในวัด
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ไทเปออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในสถานศึกษาใหม่ หากผู้ปกครองยังฉีดวัคซีนไม่ครบ 2 โดสห้ามเข้าสถานศึกษา
ทุกเช้าก่อนแสงแรกจะทักทายชาวบ้านจะหิ้วปิ่นโตไปวัด แทนที่จะรอพระออกมาบิณฑบาต ซึ่งเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของคนไทลื้อที่แตกต่างจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป ภาพจาก/เดลินิวส์
ข้ามฝั่งไปที่ “พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ” ที่ สุริยา วงค์ชัย ทายาทชาวไทลื้อผู้สืบทอดหัตกรรมผ้าทอของไทลื้อ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 13 พ.ย. 2558 เพื่อให้เป็นสถานที่เรียนรู้วัฒนธรรมไทลื้อซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องผ้าทอโดยไม่เก็บค่าเข้าชม นอกจากนี้ยังมีการจำลองการจัดห้องนอนตามวัฒนธรรมไทลื้อซึ่งจะวางฟูกบนเสื่อที่ปูกับพื้น รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้านหลังของพิพิธภัณฑ์มี “ซังวาคาเฟ่” เป็นภาษาไทลื้อแปลว่า “อะไร” ไม่ไกลจากพิพิธภัณฑ์คือ “เฮือนเอื้อยคำ” ที่ผู้คนรู้จักกันในนาม “เฮือนไทลื้อ 100 ปี” ธนนิตย์ และ สหัสชายา นุชเทียน สองสามีภรรยาช่วยกันดูแลรักษาบ้านไทลื้อดั้งเดิมของบรรพบุรุษไว้ โดยเป็นเฮือนไทลื้อที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมไว้อย่างสมบูรณ์ ด้านล่างเปิดโล่งให้เห็นเสาไม้ทรงกลมจำนวนมาก ส่วนด้านบนซึ่งเป็นที่พักยังมีองค์ประกอบเดิมอยู่ครบทั้งเตาไฟที่อยู่ในครัวหลังบ้าน และห้องโถงใหญ่ตามแบบไทลื้อ โดยมีห้องแบ่งไว้ต้อนรับผู้มาเยือนที่อยากพักในบ้านโบราณในรูปแบบโฮมสเตย์
อ่านข่าวเพิ่มเติม:สตม.หนันโถวสร้างความตระหนักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแก่แรงงานต่างชาติ
ฝั่งตรงข้ามคือ “ศูนย์เรียนรู้ผ้าทอไทลื้อบ้านแม่ครูดอกแก้ว ธีระโครต” แม่ดอกแก้ว ครูช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี 2557 ของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) มีความโดดเด่นในการนำฝ้ายมามัดหมี่และย้อมด้วยสีธรรมชาติ เกิดลวดลายที่มีความละเอียดประณีต ฝ่ายกระบวนการทอมือ สร้างลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ จากนั้นนำมาแปรรูปตัดเย็บตามต้องการ
ขอบคุณข้อมูลจาก: เดลินิวส์