ตามรายงานข่าวของ THE STANDARD “การรับรู้ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่าอายตนะ เราอยากให้คนมาแล้วมีความสุขกับการได้ใช้ประสาทสัมผัสการรับรู้ครบทั้ง 6 เลยเป็นที่มาของชื่อร้าน”
AYATANA เป็นคาเฟ่ที่สร้างขึ้นมาจากพื้นฐานที่อยากให้ใครไปใครมาก็รู้สึกสงบ มีความสุขในทุกการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นตาที่ได้รับรู้สิ่งที่สวยงาม หูได้ฟังเพลงที่ไพเราะ จมูกได้กลิ่นหอมหวนของเครื่องดื่มในร้าน ลิ้นได้รับรสชาติของขนมที่ดี ร่างกายรู้สึกสบาย จิตใจก็จะรู้สึกสงบตามไปด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: คุณแม่ต้องรีบดู! รัฐบาลเมืองนิวไทเปประกาศ ปีใหม่นี้ให้กำเนิดบุตรคนที่ 3 จะได้รับเงินอุดหนุนเป็น 30,000 เหรียญไต้หวัน
ขนมและเครื่องดื่มของทางร้าน ภาพจาก/THE STANDARD
เมื่อก้าวเข้ามาในคาเฟ่แห่งนี้จะรู้สึกสงบด้วยการออกแบบตกแต่ง พื้นที่เปิดโล่ง แสงธรรมชาติที่สาดเข้ามา แม้คนจะเยอะแต่ก็ไม่รู้สึกว่าวุ่นวายเลย ส่วนไฮไลต์หนึ่งของร้านคือลูกบอลสีขาวทั้ง 6 ลูก ที่ใครมาก็ต้องเก็บภาพเอาไว้ ลูกบอล 6 ลูกนี้เป็นตัวแทนของทั้ง 6 ประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัดส่วนนั้นจะเล็กใหญ่ตามสัดส่วนจริงบนร่างกาย ลูกบอลแต่ละลูกก็มีเท็กซ์เจอร์ที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดมิติเวลาโดนแสงด้วย ถ้าได้เห็นแล้วต้องลองสังเกตกัน
ทีมงานของร้านนั้นทำอาชีพเกี่ยวกับการตกแต่งภายในอยู่แล้ว การตกแต่งร้านจึงออกมาในรูปแบบที่ทีมงานร้านชื่นชอบ ถ้าจะถามว่าร้านนี้ตกแต่งด้วยสไตล์ไหน ทางร้านอธิบายว่าภาพรวมแรกนั้นค่อนข้างเป็นเอเชียน แต่ก็มีเฟอร์นิเจอร์สไตล์สแกนดิเนเวียนที่ชื่นชอบ โดยความเป็นเอเชียนและสแกนดิเนเวียนนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกันด้วยการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ เมื่อวัสดุธรรมชาติแต่แตกต่างต้นกำเนิดมาเจอกัน ก็สามารถเข้ากันได้อย่างลงตัว
การตกแต่งทั้งหมดให้ความรู้สึกสงบกับผู้มาเยือน เป็นการรับรู้ของพื้นที่ แต่ทางร้านก็ยังมีพื้นที่ของการรับรู้ เป็นห้องโล่งห้องหนึ่งที่มีพระพุทธรูป สำหรับการนั่งสมาธิ โดยที่ใครอยากใช้พื้นที่นี้ก็สามารถเข้าไปใช้ได้เลย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: แรงงานต่างชาติที่ฉีดวัคซีนครบโดส ต้องการเปลี่ยนนายจ้างหรือสถานที่ทำงานใหม่ ไม่ต้องตรวจ PCR !
นอกจากนี้ในร้านยังมีมุมเล็กๆ ที่วางถ้วยเซรามิกและของตกแต่งต่างๆ เอาไว้ด้วย ตรงนี้ถ้าชิ้นไหนที่มีป้ายราคาก็สามารถซื้อกลับไปใช้ได้เลย โดยของที่วางอยู่บนชั้นจะเป็นงานฝีมือที่ทางร้านเลือกมาจากชุมชนต่างๆ ที่ทำหัตถกรรมเหล่านี้เป็นอาชีพ เป็นการร่วมมือกันของทางร้านและชุมชนเพื่อกระจายรายได้ให้กับชุมชน
อ้างอิงจาก: THE STANDARD