[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยลงพื้นที่จังหวัดชุมพร ประชุมสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวงในภารกิจบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชุมพร ว่า ได้รับการประสานงานจากจังหวัดชุมพร ว่าเกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่ของจังหวัดเข้าขั้นวิกฤต หลังฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือน ทำให้อากาศร้อนจัด น้ำในคลองแห้งขอด ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้พืชผลทางการเกษตรเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดน้ำมานาน ทยอยยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : TPASS มาแล้ว บัตรโดยสารรายเดือนเวอร์ชั่นใหม่มีโปรหรือซื้อได้ที่ไหนบ้างดูที่เดียวจบ
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ดำเนินการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร ขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อปฏิบัติการทำฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้งและเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 โดยใช้อากาศยานขนาดกลาง (CASA) จำนวน 2 ลำ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกว่า 32 นาย ในการปฏิบัติการฝนหลวง
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : นำเข้าเนื้อสัตว์และพืชอย่างผิดกฎหมายมีโทษปรับ 200,000 ร่วมป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรด้วยกัน
จากการปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 5 มิถุนายน 2566 ปรากฏว่าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร ได้ขึ้นปฏิบัติการบิน รวม 7 วัน จำนวน 15 เที่ยวบิน ชั่วโมงบิน 22 ชั่วโมง ซึ่งสามารถทำให้มีปริมาณฝนตกสะสมอยู่ระหว่าง 22-45 มิลลิเมตร ในหลายพื้นที่