img
:::

ธนาคารแห่งประเทศไทยเร่งออกแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

ภาพ/นำมาจาก Pixabay
ภาพ/นำมาจาก Pixabay

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์”  นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยทยอยลดลงจากที่เร่งตัวสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 90.6 ต่อ GDP

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : ในเดือน ก.ค.นี้ รัฐฯ มีการปรับสิทธิและผลประโยชน์สำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ดูที่เดียวจบ

ขณะที่จำนวนบัญชีและยอดหนี้ของสินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน จากผลกระทบโควิด-19 (ลูกหนี้รหัส 21) ทยอยปรับลดลงจากจุดสูงสุด เมื่อเดือนตุลาคม 2565 จาก 4.7 ล้านบัญชี ยอดหนี้ 410,000 ล้านบาท อยู่ที่ 4.4 ล้านบัญชี ยอดหนี้ลดลงอยู่ที่ 310,000 ล้าบาท ทั้งนี้หนี้ครัวเรือนทั้งหมดไม่น่ากังวลหากนำไปใช้เพื่อสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ แม้หนี้ครัวเรือนทั้งหมดหรือประมาณร้อยละ 30 ของหนี้ครัวเรือนไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. แต่ก็มียังความกังวลในกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิต และส่วนบุคคล อาจทำให้ระยะต่อไป NPL หรือหนี้เสีย ทยอยปรับขึ้นจากกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยที่ แต่จะไม่เกิด NPL Cliff (หน้าผาหนี้) เนื่องจากยังอยู่ในระดับที่สถาบันการเงินบริหารจัดการได้ ซึ่งสอดคล้องกับ Rating agencies และระบบธนาคารพาณิชย์ มีความมั่นคงสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธปท. ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและผลักดันการดำเนินการตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาวกับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อให้เจ้าหนี้ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถฟื้นตัวกลับมาได้

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : เทศกาลศิลปะเมืองนิวไทเปจัดขึ้นเป็นเวลา 17 วันติดต่อกัน มีทั้งการแสดงดอกไม้ไฟ ตลาดนัด และการแสดงอื่น ๆ เกือบร้อยรายการ

ธปท.เร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ที่ต้องทำอย่างครบวงจร ถูกหลักการ และร่วมมือกับทุกภาคส่วน แนวทางดังกล่าวจะครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่การก่อหนี้ใหม่ที่มีคุณภาพ การดูแลหนี้เดิมโดยเฉพาะ NPL และหนี้เรื้อรัง รวมถึงการเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ ส่วนรายละเอียดของแต่ละแนวทางในการแก้ไขหนี้ครัวเรือนจะเห็นความชัดเจนช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อให้หนี้ในภาพรวมลดลงต่ำกว่าร้อยละ 80 ครัวเรือนมีความเป็นอยู่และสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading