กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุขไต้หวันกล่าวว่า ในบางประเทศยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา และยังคงมีกรณีติดเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาด้วย จึงขอเตือนประชาชนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ต้องหาข้อมูลการป้องกันการแพร่ระบาด และถ้าเดินทางไปยังพื้นที่แพร่ระบาด จะต้องเพิ่มมาตรการป้องกันตนเอง อย่าให้ยุงกัด เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ หากหลังจากกลับประเทศมีไข้ ปวดหัว คลื่นใส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่น ปวดข้อ เป็นต้น ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และแจ้งประวัติการเดินทาง เพื่อความสะดวกในการวินิจฉัยและรักษา หากสถาบันการแพทย์พบผู้ป่วยต้องสงสัย ก็จะต้องดำเนินมาตรการคัดกรอง TOCC (สอบถามประวัติการเดินทาง อาชีพ คนรอบข้าง และอาการ) และรายงานการพบผู้ป่วยโดยเร็ว เพื่อการป้องกันโรคชิคุนกุนยาแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในไต้หวันมีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 6 ราย ซึ่งทั้งหมดติดเชื้อมาจากประเทศเมียนมา แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในท้องถิ่นยังคงดำเนินต่อไป สำหรับผู้ป่วย 2 ราย เป็นหญิงวัย 20 และ 50 ปี ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ โดยก่อนที่จะล้มป่วยได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่ย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาด้วยกัน หลังจากนั้นประมาณวันที่ 6 ก.ย. ได้เริ่มมีอาการป่วย ปวดข้อ ปวดกระดูก และได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ในท้องถิ่น และได้เดินทางกลับไต้หวันเมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยทั่งคู่ได้เข้ารายงานการเจ็บป่วยของตนเองที่ด่านกักกันในสนามบิน หลังจากนั้นได้มีการตรวจวินิจฉัยทั้งคู่ และพบว่าได้ผ่านระยะเวลาที่สามารถแพร่เชื้อแล้ว
จากสถิติของกรมควบคุมโรคไต้หวันระบุว่า เมื่อเดือนที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 13 ราย โดยติดเชื้อมาจากเมียนมาถึง 11 ราย ในปีนี้ (2019) นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 21 ต.ค. มีผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศรวมกว่า 81 ราย โดยติดเชื้อมาจากเมียนมาถึง 59 ราย (73%) ประเทศไทย 12 ราย เมาดีฟ 5 ราย อินโดนิเซีย 2 ราย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินเดีย 1 ราย ซึ่งส่วนมากเดินทางไปท่องเที่ยว และรองลงมาเดินทางไปทำธุรกิจ
กรมควบคุมโรคไต้หวันเตือนประชาชนว่า หากเดินทางไปยังพื้นที่ๆ มีการแพร่ระบาด ให้ดำเนินมาตรการป้องกันยุง สวมเสื้อผ่าสีอ่อน เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และใช้ยากันยุงที่มีส่วนผสมของ DEET หรือ picaridin ฉีดหรือทา เพื่อป้องกันยุงกัด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่เวปไซด์กรมควบคุมโรคไต้หวันหรือโทรไปสอบถามได้ที่สายด่วนป้องกันโรคระบาด 1922 หรือ 0800-001922 (โทรฟรี)