img
:::

จำนวนเด็กนักเรียนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันสูงถึง 305,000 คน ถือเป็นพลังใหม่ที่แข็งแกร่งให้กับไต้หวัน

ลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันสามารถใช้ได้เปรียบทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ภาพนี้แสดงให้เห็นทูตสันถวไมตรีของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ภาพจาก/สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันสามารถใช้ได้เปรียบทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ภาพนี้แสดงให้เห็นทูตสันถวไมตรีของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ภาพจาก/สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ตามรายงานข่าวของ “4-Way Voice” ไต้หวันมีประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 เกินล้านคนแล้ว ตามสถิติของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากทุกระดับในปีการศึกษา 2020 โดยรวมแล้วมีทั้งสิ้น 305,000 คน คิดเป็น 7.3% ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ลดลง 0.1% จากปีการศึกษา 2019 คิดเป็น 7000 คน อย่างไรก็ดี  หากสังเกตการเปลี่ยนแปลงในช่วง 6 ปีการศึกษาที่ผ่านมา จำนวนนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียนทั้งหมด โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้น 31,000 คนหรือ 11.5% เพิ่มขึ้น 1.5 % เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนนักเรียนทั้งหมด

อ่านข่าวเพิ่มเติม: การจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในไทย ผู้เข้าร่วมจะต้องฉีดวัคซีนครบ + ใบรับรองผลตรวจโควิด-19 ที่เป็นลบ ภายใน 3 วัน

ในปีการศึกษา 109 (2020) จำนวนเด็กผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในโรงเรียนทุกระดับมีทั้งหมด 305,000 คน ภาพจาก/Youth Development Administration, MOE

ในปีการศึกษา 109 (2020) จำนวนเด็กผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในโรงเรียนทุกระดับมีทั้งหมด 305,000 คน ภาพจาก/Youth Development Administration, MOE

กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดเผย “บทวิเคราะห์สรุปการเข้าเรียนในโรงเรียนของนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ในโรงเรียนทุกระดับ โดยรายงานระบุว่า จำนวนนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มีสัดส่วนที่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับนักเรียนทั้งหมดในปีการศึกษานั้น ๆ  ในปีการศึกษา 2020 มีนักเรียนชั้นอนุบาล 20,000 คน ประถมศึกษา84,000 คน อย่างไรก็ดี พบว่าปรากฏการณ์เด็กเกิดใหม่น้อยลงส่งผลกระทบต่อจำนวนเด็กเกิดใหม่ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เมื่อเทียบกับปีการศึกษา 2014 นักเรียนลดลง 13,000 และ 63,000 ตามลำดับ

บุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาได้รับผลกระทบจากนโยบายในปีการศึกษา 2003 โดยในช่วง 6 ปีการศึกษาแสดงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นก่อนแล้วค่อยลดลง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากจำนวน65,000 คนในปีการศึกษา 2014 เพิ่มขึ้นเป็น 76,000 คนในปีการศึกษา 2016 หลังจากนั้นในแต่ละปีก็ค่อยๆลดลง จนมาถึงปีการศึกษา 2020 ลดเหลือ 55,000 คน ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปลายจากจำนวน 25,000 คนในปีการศึกษา 2014 เพิ่มขึ้นเป็น 80,000 คนในปีการศึกษา 2019 และลดลงเหลือ 77,000 คนในปีการศึกษา 2020 ส่วนจำนวนนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในระดับวิทยาลัยอยู่ที่ 68,000 คน เนื่องจากเด็กนักเรียนในปีการศึกษานี้อยู่ในช่วงที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นก่อนการเริ่มใช้นโยบาย ในช่วง 6 ปีการศึกษาเพิ่มขึ้นถึง  65,000 คน

อ่านข่าวเพิ่มเติม: เพิ่มความครอบคลุมอัตราการฉีดวัคซีน สถานีรถไฟไทเปให้บริการฉีดวัคซีนต่อไปอีกจนถึงวันที่ 29 ธ.ค.

สำหรับภูมิภาคหรือประเทศบ้านเกิดของบิดา-มารดาของนักเรียนที่เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สอง ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบรรดานักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ 305,000 คนในปีการศึกษา 2020  มีผู้ปกครองที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ 134,000 คนคิดเป็น 43.9% รองลงมาคือเวียดนาม 108,000 คิดเป็น 35.5%  อินโดนีเซีย 28,000 คน คิดเป็น 9.1% ทั้งสามประเทศรวมแล้วคิดเป็น 80% นอกจากนี้ยังมีประเทศฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และเมียนมา และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนโดยรวม 293,000 คน คิดเป็น 96.2%

เมื่อสังเกตการกระจายตัวตามเมืองต่างๆ พบว่าสองในสามของนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่กระจายอยู่ตาม 6 เมืองใหญ่ นครนิวไทเปมากที่สุด 47,000 คน (คิดเป็น 15.5%)  รองลงมาคือนครเถาหยวน 37,000 คน (คิดเป็น 12.1%) ) นครไทจง 37,000 คน (คิดเป็น12.0%) จำนวนนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ใน 6 เมืองโดยรวมมีจำนวน 208,000 คน คิดเป็น 68.3% ของนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้งหมด หากสังเกตการกระจายตัวของนักเรียนโดยรวมทั้งหมด 72.0%กระจายตัวอยู่ตาม 6 เมืองใหญ่ ซึ่งบ่งชี้ว่า ความหนาแน่นของนักเรียนที่เป็นบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ใน 6 เมืองนั้นต่ำกว่าจำนวนนักเรียนทั้งหมด

กระทรวงศึกษาธิการชี้ว่า เนื่องจากอิทธิพลจากครอบครัว ทำให้บุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต้องเผชิญกับความท้าทายในกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเด็กนักเรียนทั่วไปในไต้หวัน ด้วยเหตุนี้จึงได้รับความสนใจจากภาคส่วนและอนุสัญญาระหว่างประเทศเป็นอย่างสูง จึงควรมีการวางแผนทรัพยากรทางการศึกษาและการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสม รวมถึงนโยบายการศึกษาที่หลากหลายและยืดหยุ่น เพื่อช่วยให้พวกเขาเติบโตในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี

บทความนี้ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ได้อีกครั้งจาก 4-Way Voice

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading