img
:::

ผู้สืบทอดวัฒนธรรมผ้าบาติกของอินโดนีเซีย ถักทอชุดในฝันที่สวยงามของ กวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจิน

กวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจินใส่ชุดผ้าบาติกที่ทำด้วยตัวเอง สีสันและลวดรายที่สดใส ทำให้ผ้าบาติกของอินโดนีเซียดูมีความทันสมัยมากขึ้น
กวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจินใส่ชุดผ้าบาติกที่ทำด้วยตัวเอง สีสันและลวดรายที่สดใส ทำให้ผ้าบาติกของอินโดนีเซียดูมีความทันสมัยมากขึ้น

เดือนพฤษภาคมปีนี้ โครงการสร้างฝันรุ่นที่ 7 ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประกาศผลรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล โดยมียอดถามถึงจากทางบ้านมากที่สุดก็คือ กวนเหม่ยเหลียน (官美連) และลูกสาวหลิวยวี่เจิน (劉玉珍) ผู้มาจากอินโดนีเซีย ในหัวข้อ “ถักทอชุดในฝันของคุณแม่” โดยนำงานฝีมือผ้าบาติดของอินโดนีเซียมาผสมผสานกับวัฒนธรรมไต้หวัน ถักทอชุดที่ทำจากผ้าบาติกที่มีความทันสมัย ไม่เพียงแต่ได้รับการยอมรับจาก “โครงการสร้างฝันรุ่นที่ 7” ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ยังเป็นบุคคลที่มียอดถามถึงจากทางบ้านมากที่สุดในเพจ Facebook “Taiwan我來了” ว่ามีช่องทางในการซื้อหรือมีช่องทางในการเรียนรู้เกี่ยวกับผ้าบาติกของอินโดนีเซียอย่างไร

ลูกสาวหลิวยวี่เจินตั้งใจทำชุดผ้าบาติกลูกสาวหลิวยวี่เจินตั้งใจทำชุดผ้าบาติก

กวนเหม่ยเหลียน(官美連) ผู้เดินทางมาจากเมืองจากาตา อินโดนีเซีย แต่เดิมทำงานในโรงงานของไต้หวัน ได้พบกับสามีชาวไต้หวันจากคำแนะนำของเพื่อนในช่วงใกล้หมดสัญญาจ้างงาน จึงได้แต่งงานกันและได้รับความรักที่ดีจากครอบครัวของสามี

ในช่วงแต่งงานใหม่ ๆ กวนเหม่ยเหลียนมักจะนั่งรถประจำทางหรือรถไฟผิดสายบ่อย ๆ เพราะปัญหาทางด้านภาษา ในหมู่บ้านที่ธรรมดาก็มักจะถูกเพื่อนบ้านมองด้วยสายตาที่ดูถูก เธอจึงได้ตัดสินใจเรียนภาษาจีนให้เก่งขึ้น แม้กระทั่งการเรียนภาษาถิ่นจีนแคะ จนทำให้เธอพูดสำเนียงได้อย่างคล่องแคล่วและเชี่ยวชาญ ในตอนสอบวัดระดับภาษาจีนแคะนั้น ก็ได้รับคำชมจากกรรมการเป็นจำนวนมาก

ผสานวัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซียกับไต้หวัน ผลงานของกวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจินได้รับการยอมรับในโลกศิลปะ และยังได้ถูกนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการศิลปะอีกด้วยผสานวัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซียกับไต้หวัน ผลงานของกวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจินได้รับการยอมรับในโลกศิลปะ และยังได้ถูกนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการศิลปะอีกด้วย

กวนเหม่ยเหลียนมาใช้ชีวิตที่ไต้หวันด้วยความไม่คุ้นชิน แต่ภายใต้ความช่วยเหลือจากคนจำนวนมาก กวนเหม่ยเหลียนจึงตัดสินใจที่เข้าร่วมการสอนภาษาบ้านเกิดภาษามาเลเซีย และไปฝึกอบรมล่ามภายหลังจากส่งลูกไปเรียนตอนเช้า เธอนำประสบการณ์การใช้ชีวิตในไต้หวัน ถ่ายทอดไปสู่พี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่พึ่งเดินทางมาไต้หวัน เพื่อช่วยเหลือพวกเขาให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้โดยเร็ว

กวนเหม่ยเหลียนบอกว่า การที่ได้ช่วยเหลือผู้คน เป็นความสำเร็จที่ทำให้เธอมีความสุขที่สุด

ผสานวัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซียกับไต้หวัน ผลงานของกวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจินได้รับการยอมรับในโลกศิลปะ และยังได้ถูกนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการศิลปะอีกด้วยผสานวัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซียกับไต้หวัน ผลงานของกวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจินได้รับการยอมรับในโลกศิลปะ และยังได้ถูกนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการศิลปะอีกด้วย

ทำงานเป็นล่ามให้แก่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สถานีบริการเมืองเถาหยวนสัปดาห์ละ 3 วัน อีกทั้งยังเป็นครูสอนภาษาอินโดนีเซียในโรงเรียน 5 แห่ง เป็นคนที่มีอาชีพหลากหลายมาตลอด 10 ปี ทำให้เธอรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เธอยังได้นำศิลปะการเชิดหนัง “วายัง” และผ้าบาติก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของอินโดนีเซียมาแนะนำให้แก่นักเรียนและเพื่อน ๆ ไต้หวัน โดยกวนเหม่ยเหลียนบอกว่า ศิลปะนั้นไร้พรมแดน ไม่มีปัญหาด้านภาษามาขว้างกั้น ใช้ศิลปะในการถ่ายทอดวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำความรู้จักและเรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ก็เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ดี

ลูกสาวของกวนเหม่ยเหลียน หลิวยวี่เจิน(劉玉珍) ก็ได้เห็นกวนเหม่ยเหลียนเตรียมสื่อการเรียนการสอนอย่างศิลปะการเชิดหนัง วายัง และ ผ้าบาติกตั้งแต่เมื่อครั้นยังเด็ก ก็ได้รู้สึกสนใจในเรื่องของศิลปะและสีสันต่าง ๆ แต่เดิมบ้านของกวนเหม่ยเหลียนตอนอยู่ที่อินโดนีเซียก็ได้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขายและออกแบบชุดผ้าอยู่แล้ว การได้พบเจอเรื่องแบบนี้มาตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้ลูกสาวของเธอหลิวยวี่เจินได้เรียนในด้านการออกแบบเครื่องแบบที่ทันสมัยในจงลี่ โดยเวลาปกติแม่ลูกก็ร่วมกันทำผ้าบาติก ออกแบบและถักร้อยเครื่องแต่งกาย เป้นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของทั้งสอง

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซีย เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำกลับมาจากประเทศอินโดนีเซียวัสดุและอุปกรณ์ในการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซีย เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำกลับมาจากประเทศอินโดนีเซีย

กวนเหม่ยเหลียนบอกว่า ลูกสาวมีความสนใจในเรื่องการทำผ้าบาติกเป็นอย่างมาก และมีความคิดสร้างสรรค์มากมายกที่อยากจะทำ โดยในปี 2019 ก็ได้เดินทางไปยังสถานที่ต้นกำเนิดการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซีย ชวาติเมอร์ หรือชวาตะวันตก เพื่อไปเรียนรู้จากบุคคลผู้เชี่ยวชาญ “แต่ก่อนการใส่ชุดที่ทำจากผ้าบาติกซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซียเดินบนถนนในไต้หวัน ก็มักจะถูกจ้องมองจากผู้คนด้วยสายตาที่แปลก ๆ ” ลูกสาวของเธออยู่ข้าง ๆ พร้อมบอกว่า “ผ้าบาติกในแบบดั่งเดิมนั้นดูเป็นเรื่องที่ล้าหลัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีที่เข้ม ใส่ไปแล้วก็เหมือนคุณป้า ผ้าบาติกของเธอที่ทำร่วมกับคุณแม่นั้นเป็นการออกแบบที่ผสมผสานระหว่างสไตล์ของอินโดนีเซียและไต้หวัน ที่ทำให้มีสีสันที่งดงามและดูดีทันสมัย แม้กระทั่งฉันโพสลงไอจี ยังมีคนมากดถูกใจเป็นจำนวนมาก”

กวนเหม่ยเหลียนมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเนื้อผ้าเป็นอย่างมาก เธอบอกว่า ผ้าบาติกเป็นเทคนิควิธีโดยเฉพาะที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน และเป็นวัฒนธรรมของอินโดนีเซียที่สำคัญ โดยลายบนผ้าบาติกจะเป็นลายที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ซ้ำกันของอินโดนีเซียในแต่ละพื้นที่ เช่น เกาะบาหลีก็จะมีเทวสถานเป็นจำนวนมาก ลายบนผ้าบาติกก็จะใช้พวกวัด และรูปเคารพเป็นหลัก หรือเกาะชวาก็จะใช้ดอกไม้พืชพันธุ์และสัตว์เป็นหลัก จากาตาก็จะเป็นผ้าบาติกแบบที่มีสีสันงดงามดูมีชีวิตชีวา

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซีย เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำกลับมาจากประเทศอินโดนีเซียวัสดุและอุปกรณ์ในการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซีย เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำกลับมาจากประเทศอินโดนีเซีย

เพื่อเป้าหมายที่จะนำวัฒนธรรมผ้าบาติกของอินโดนีเซียถ่ายทอดไปสู่นักเรียนและเพื่อน ๆ ชาวไต้หวัน ในทุก ๆ ปี กวนเหม่ยเหลียนจะแบกวัสดุในการทำผ้าบาติกจากอินโดนีเซียมาไต้หวัน โดยเฉพาะลูกสาวของเธอที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการแยกแยะความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการทำผ้าบาติกที่มีผลิตที่ต่างกัน แม้กระทั่งการควบคุมความชื้นของไต้หวันที่ชื้นกว่าที่อินโดนีเซีย อุณหภูมิความชื้นในห้องต้องควบคุมอย่างไร สีย้อมผ้าต้องผสมอย่างไรจึงจะทำให้สีออกมาสวยงาม โดยกวนเหม่ยเหลียนบอกว่าตอนนี้ผ้าบาติกที่ลูกสาวของเธอทำนั้นยังได้ถูกคัดเลือกไปแสดงในศูนย์แสดงงานศิลปะหยางเหมย(楊梅藝術展覽館) โดยเริ่มจัดแสดงไปจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนของปีนี้ ตอนนี้ถ้าจะบอกถึงการทำผ้าบาติก คงบอกได้ว่าลูกสาวของเธอชำนาญกว่าเธอซะอีก

พรสวรรค์ทางด้านศิลปะของลูกสาว ทำให้ผ้าบาติกซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซียได้ถูกสร้างสรรค์ใหม่ให้มีความเป็นทันสมัยมากยิ่งขึ้พรสวรรค์ทางด้านศิลปะของลูกสาว ทำให้ผ้าบาติกซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซียได้ถูกสร้างสรรค์ใหม่ให้มีความเป็นทันสมัยมากยิ่งขึ้

กวนเหม่ยเหลียน ผู้ใช้เวลาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาในการเป็นผู้ถ่ายทอดภาษาและวัฒนธรรมอินโดนีเซียบอกอย่างภาคภูมิใจว่า ตอนนี้ลูกสาวของเธอนั้นดูเป็นคนอินโดนีเซียมากกว่าเธอเสียอีก หลิวยวี่เจินมักจะช่วยเหลือแม่ในการคิดออกแบบบทเรียนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอินโดนีเซีย และยังชอบอาหารอินโดนีเซียที่คุณแม่เป็นคนทำอีก โดย “โครงการสร้างฝันสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และทายาท”ในครั้งนี้ ก็เป็นลูกสาวที่เสนอออกมาเองว่าจะทำหัวข้อ “ถักทอชุดในฝันของคุณแม่” โดยจัดซื่อวัสดุที่จำเป็นในการทำชุดที่ทำจากผ้าบาติกผ่านโครงการสร้างฝัน อีกทั้งยังออกแบบวางแผนการเดินแบบที่มีเครื่องแต่งกายดั่งเดิมของอินโดนีเซีย ใส่ชุดที่ออกแบบเองกับคุณแม่เพื่อเดินขึ้นสู่เวทีไปด้วยกัน พิชิตฝันแต่เดมิของคุณแม่ที่ยังไม่สำเร็จ

ในอนาคตกวนเหม่ยเหลียนและลูกสาวหลิวยวี่เจินก็ได้วางแผนที่จะเปิดคอร์สการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียมากขึ้น เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมดั่งเดิมของอินโดนีเซีย และลองเรียนรู้การเปิดร้านค้าบนโลกออนไลน์ เพื่อที่จะนำผลงานผ้าบาติกที่สวยงามเหล่านี้ออกไปขายสู่ผู้คนมากมายยิ่งขึ้น

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading