ปลาทั่วโลกตัวเล็กลง ผลกระทบจากโลกร้อน-น้ำทะเลอุ่นขึ้น
“ภาวะโลกร้อน” ส่งผลกระทบให้แก่สิ่งมีชีวิตทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ เพราะเมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น จะทำให้ปลามีขนาดตัวเล็กลงจากการวิเคราะห์ที่เก็บข้อมูลปลาทะเลทั่วโลกระหว่างปี 1960-2020 พบว่า น้ำทะเลอุ่นขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส ส่งผลให้เกือบสามในสี่ของปลาทะเลทั่วโลกมีขนาดลำตัวโดยเฉลี่ยเล็กลง ไม่ว่าจะเป็น “ปลาแซลมอน” ในวงกลมแอนตาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือมีขนาดเล็กลง เช่นเดียวกับปลาเชิงพาณิชย์หลายสายพันธุ์ในทะเลเหนือมีขนาดลดลงประมาณ 16% ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาทั้งหมดเป็นผลจากการทำประมงเกินขีดจำกัด (overfishing) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ขนาดของปลาโตเต็มวัยลดลง คุกคามแหล่งโปรตีนอาหารสำคัญของผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคน และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ/Wikimedia Commonsโปรตีนอาหารสำคัญของผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคน และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งหนึ่งรู้แน่ชัดคือปลาไม่ได้ตัวเล็กลงเพื่อรอดพ้นจากการจับโดยมนุษย์ เพราะมีปลาหลายชนิดในแม่น้ำหลายสายของฝรั่งเศสที่มนุษย์ไม่ได้จับกิน ก็มีขนาดเล็กลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาที่มีอุณหภูมิน้ำสูงขึ้นเช่นกันนอกจากนี้ เมื่อปลาตัวเล็กลง ก็จะผลิตไข่ได้น้อยลง ทำให้มีปลาจำนวนลดลง ขณะเดียวกันชาวประมงก็ได้รับปัญหาด้วยเช่นกัน เพราะปลาตัวเล็กลงก็จะทำให้ขายได้ราคาถูกลง อาร์ต บลูม ชาวประมงผู้จับปลาแซลมอนในอ่าวบริสตอล รัฐอะแลสกา กล่าวว่า นี่เป็นมันเป็นปัญหาสำหรับการประมง โดยเขาต้องเปลี่ยนจากการใช้อวนที่มีช่องเปิด 5¼ นิ้ว มาใช้อวนที่มีช่องเปิด 4¾ นิ้วแทน เนื่องจากปลาแซลมอนที่เขาจับได้มีขนาดเล็กลงอย่างไรก็ตาม อิเนส มาร์ตินส์ นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยยอร์กในประเทศอังกฤษ พบว่า ปลาหลายชนิดถึงแม้จะมีขนาดเล็กลง แต่ก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่น ถึงจะเป็นเช่นนั้น ความร้อนในมหาสมุทรก็ยังคงเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ เพราะหากปลาไม่สามารถทำให้ตัวเล็กลงเรื่อย ๆ ได้ตลอดไป หากถึงขีดจำกัด พวกมันจะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ และจำเป็นต้องย้ายที่อยู่หากแหล่งที่อยู่อาศัยทั้งหมดร้อนเกินไป สัตว์เหล่านี้จะสูญพันธุ์ในที่สุด