img
:::

สุดยอด! ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ก่อตั้งกลุ่มด้านการส่งเสริมการเต้นรำ หลี่จื้อฉยงผลักดัน “ความประทับใจที่มีเสน่ห์” การเต้นรำของชาวอินโดฯ

หลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้ก่อตั้งกลุ่มด้านการส่งเสริมการเต้นรำของชาวอินโดนีเซีย ภาพจาก/หลี่จื้อฉยง (李志雄)
หลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้ก่อตั้งกลุ่มด้านการส่งเสริมการเต้นรำของชาวอินโดนีเซีย ภาพจาก/หลี่จื้อฉยง (李志雄)

เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

National Education Radio” และ “เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ร่วมมือกันจัดทำข่าวคอลัมน์ “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มองไต้หวัน” และในสัปดาห์นี้ได้เรียนเชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวอินโดนีเซีย - หลี่จื้อฉยง (李志雄) ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมอาสาสมัครผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ณ มหาวิทยาลัยชุมชนจงลี่ ในเวลาเดียวกันยังทำหน้าที่เป็นรองประธานสภาสิทธิมนุษยชนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ สัปดาห์นี้มาแนะนำวงดนตรี “กาเมลัน Gamelan” และแนะนำ “เกาะเบลิตุง” สถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของอินโดนีเซีย ให้ผู้อ่านเก็บไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในดวงใจ หลังโรคระบาดกลับมาเป็นปกติเตรียมเดินทางไปท่องเที่ยว

อ่านข่าวเพิ่มเติม: สตม.ร่วมกับรัฐบาลเมืองไถหนานมอบบัตรกำนัลสนับสนุนชาวต่างชาติที่พำนักอยู่เกินเข้ารับการฉัดวัคซีนโดยเร็ว

หลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้แนะนำ ดนตรีกาเมลัน (Gamelan Music) ให้ผู้อ่านได้ฟัง ภาพจาก/หลี่จื้อฉยง (李志雄)หลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้แนะนำ ดนตรีกาเมลัน (Gamelan Music) ให้ผู้อ่านได้ฟัง ภาพจาก/หลี่จื้อฉยง (李志雄)

ในตอนแรก หลี่จื้อฉยง ได้แนะนำ ดนตรีกาเมลัน (Gamelan Music) ว่าเป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องที่ทำด้วยโลหะชนิดต่าง ๆ ทั้งเหล็ก ทองเหลือง และสำริด เป็นหลัก เครื่องตีในวงกาเมลันส่วนหนึ่งมีรูปร่างคล้ายฆ้องวงของไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่ามีชื่อเรียกต่างกันไป อีกส่วนหนึ่งก็คล้ายกับระนาดเหล็กของไทย แตกต่างกันที่จำนวนของลูกระนาดและลักษณะของรางที่นำมาใช้วางลูกระนาด การเล่นดนตรีการเมลันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซีย เสียงดนตรีกาเมลันจะได้ยินทั้งในโรงเรียน ในวัด ในวัง และสถานีวิทยุกระจายเสียง โอกาสที่จะบรรเลงก็แตกต่างกันไป มีทั้งบรรเลงในพิธีศักดิ์สิทธิ์ บรรเลง ในงานรื่นเริง บรรเลงรับและส่งเจ้านาย บรรเลงการประกอบการแสดงต่าง ๆ

ระบบเสียงในดนตรีอินโดนีเซียมีทั้งแบบ 5 เสียง และ 7 เสียง การแบ่งออกช่วง 1 อ๊อคเตพเป็น 5 เสียง เรียกว่า SLENDRO  แต่ละเสียงห่างเกือบเท่า ๆ กัน การแบ่งช่วงอ๊ออคเตพเป็น 7 เสียงเรียกว่า PELOG แต่ละเสียงห่างไม่เท่ากัน ระบบ 5 เสียงมีการนำไปใช้มากกว่าระดับเสียงของวงกาเมลันแต่ละวงจะตั้งไม่เท่ากัน เสียงแต่ละวงจะเป็นของตัวเอง ในแต่ละวงจะมีเครื่องคนตรี 2 ชุด ชุดหนึ่งจะตั้งเสียงเป็น SLENDRO อีกชุดหนึ่งตั้งเป็น PELOG วงกาเมลันที่ตั้งระดับเสียงเครื่องดนตรีเป็นแบบใดแบบหนึ่งก็มีเช่นกัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าเกาะชวาเป็นดินแดนที่มีความเจริญในด้านการผลิตโลหะต่าง ๆ ออกมาเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องดนตรีด้วย ดังนั้นเครื่องดนตรีที่เป็นโลหะชนิดต่าง ๆ จึงเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงกาเมลัน เช่นฆ้องเดี่ยว ฆ้องชุด ระนาดโลหะ ฉาบ เครื่องดนตรีที่เหลือก็เป็นพวกขลุ่ยไม้ไผ่ ระนาดไม้ เครื่องสายสำหรับดีดและสี เครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ เช่น กลอง และนักร้องอีกจำนวนหนึ่ง

อ่านข่าวเพิ่มเติม: สตม.เจียอี้รณรงค์ให้ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่เกินกำหนดเข้ารับการฉีดวัคซีน พร้อมรณรงค์สั่งไม่ให้ซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทางออนไลน์จากต่างประเทศส่งมายังไต้หวัน

หลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้แนะนำ “เกาะเบลิตุง” ให้ผู้อ่านได้ฟัง ภาพจาก/คลังภาพ Pixabayหลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้แนะนำ “เกาะเบลิตุง” ให้ผู้อ่านได้ฟัง ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

ต่อมาหลี่จื้อฉยงได้แนะนำ “เกาะเบลิตุง” ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา  หมู่เกาะเกาะเบลิตุง (อินโดนีเซีย: Kepulauan Bangka Belitung) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราใต้ ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา ประกอบด้วยเกาะหลักสองแห่ง ได้แก่ เกาะบังกาและเกาะเบอลีตุง ซึ่งคั่นด้วยช่องแคบกัสปาร์ จังหวัดนี้ถูกแยกจากเกาะสุมาตราโดยช่องแคบบังกา จังหวัดนี้ติดกับทะเลนาตูนาทางทิศเหนือ ติดกับทะเลชวาทางทิศใต้ ติดกับช่องแคบการีมาตาทางทิศตะวันออก และติดกับจังหวัดสุมาตราใต้ทางทิศตะวันตก เมืองหลักคือปังกัลปีนัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการปกครอง เมืองอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ซูไงลียัต ตันจงปันดัน และมังการ์ ตัวจังหวัดตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร จึงมีสภาพภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น จุดที่สูงที่สุดคือภูเขามารัส สูง 699 เมตร แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำเซอบูกู แม่น้ำบาตูรูซา และแม่น้ำเมนโด จังหวัดรอบล้อมไปด้วยทะเล หลังเปิดประเทศใครที่กำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ ไม่ควรพลาดที่นี่

หลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้ก่อตั้งกลุ่มด้านการส่งเสริมการเต้นรำของชาวอินโดนีเซีย ภาพจาก/หลี่จื้อฉยง (李志雄)หลี่จื้อฉยง (李志雄) ได้ก่อตั้งกลุ่มด้านการส่งเสริมการเต้นรำของชาวอินโดนีเซีย ภาพจาก/หลี่จื้อฉยง (李志雄)

นอกจากนี้ หลี่จื้อฉยง ได้เดินทางมาอาศัยอยู่ในไต้หวันนานกว่า 21 ปี ได้ก่อตั้งกลุ่มด้านการส่งเสริมการเต้นรำของชาวอินโดนีเซีย—ความประทับใจที่มีเสน่ห์ โดยกลุ่มนี้ถูกสร้างขึ้นมานานกว่า 1 ปีแล้ว หลี่จื้อฉยง กล่าวว่า การเต้นรำชวาเป็นศิลปะการฟ้อนรำและศิลปะในรูปแบบที่ถูกสร้างขึ้นและได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมชวา การเคลื่อนไหวของการเต้นรำของชาวชวาได้รับการควบคุมโดยเจตนาและประณีต ศิลปะชวามักแสดงให้เห็นถึงกลเม็ดเด็ดพรายและในขณะเดียวกันก็มีความสงบเงียบซึ่งสูงกว่าทุกสิ่งที่เป็นโลกีย์ การเต้นรำชวามักจะเกี่ยวข้องกับการเอาใจจากการกลั่นและวัฒนธรรมที่มีความซับซ้อนของชวา kratons เช่น bedhaya และ srimpi เต้นรำ แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นเต้นชวายังรวมถึงการเต้นรำของไพร่ชวาและชาวบ้าน เช่น ronggeng , Tayub, reog และ Jaran kepang เป็นต้น

มาฟังหลี่จื้อฉยงแนะนำไปพร้อม ๆ กันได้ที่《ตามรอยความประทับอันงดงามของหนุ่มอินโดฯ ผู้กล้าในไต้หวัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading