img
:::

การหยุดชะงักและการเกิดใหม่หลังการแพร่ระบาด : อนาคตสูงวัยของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

การหยุดชะงักและการเกิดใหม่หลังการแพร่ระบาด : อนาคตสูงวัยของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ภาพ/จาก หลินโจวซี (林周熙)
การหยุดชะงักและการเกิดใหม่หลังการแพร่ระบาด : อนาคตสูงวัยของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ภาพ/จาก หลินโจวซี (林周熙)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ผู้เขียนบทความนี้ : หลินโจวซี (林周熙) ผู้ก่อตั้ง South East Asia Migrant inspired, SEAMi

ในช่วงปลายปี 2019 โรค COVID-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว หลาย ๆ ประเทศมีการปิดประเทศ หยุดการเดินทางทางอากาศและเรือ ผู้คนได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของตนเองได้ หลังรัฐฯ มีการเปิดประเทศผู้คนต่างตั้งตารอที่จะเดินทางไปต่างประเทศ และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มีบ้านเกิดในต่างประเทศยิ่งรู้สึกดีอกดีใจที่จะได้กลับบ้าน แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงได้ยินเรื่องราวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่หลายคน ดูเหมือนว่าหลังจากการแพร่ระบาด พวกเขากำลังเผชิญกับความยากลำบากครั้งใหม่ ปัญหาชีวิตลุมเร้า มีความหม่นหมองเกิดขึ้นภายในใจ

เส้นทางกลับบ้านเป็นอิสระอีกครั้ง ความคาดหวังที่จะได้กลับบ้านในเมื่อก่อนกลับกลายเป็นแรงกดดันมากมาย

อาจิน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ย้ายมาจากนครโฮจิมินห์ พ่อแม่เสียชีวิตเมื่อต้นปีที่แล้วและกลางปีนี้ตามลำดับ ขณะนั้น ที่ไต้หวันปิดประเทศ เขาทำได้เพียงวิดีโอคอลติดต่อกับครอบครัวเท่านั้น ร้องไห้ปลอบใจคนที่บ้านอยู่ลำพัง “เมื่อทราบข่าวว่าพวกเขาป่วย ฉันกะวนกะวายเป็นอย่างมาก เมื่อช่วงปิดเทอมฤดูร้อนในที่สุดฉันก็มีเที่ยวบินและเดินเรื่องทำเอกสารกลับบ้านจนเสร็จ แต่ฉันไม่เคยคิดเลยว่า การกลับบ้านครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ฉันรู้สึกไม่อยากกลับบ้านเป็นครั้งแรกในชีวิต”

อาเหม่ยผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามยังเสียใจที่โรคระบาดได้ทำร้ายความสัมพันธ์ในครอบครัวของเธอ เธออยู่ไต้หวันมา 18 ปีแล้ว และไม่เคยคิดเลยว่าจนเองจะเกิดความคิดที่ไม่อยากกลับบ้าน “เมื่อต้องเผชิญกับโรคระบาดโควิด-19 ชีวิตครอบครัวประสบปัญหา น้องชายตกงาน การงานที่ไต้หวันของฉันก็ได้รับผลกระทบ รายได้ของฉันมีอย่างจำกัด กำลังทรัพย์ที่สามารถช่วยเหลือครอบครัวก็ไม่ได้เยอะเหมือนเมื่อก่อน”

ปีนี้อาเหม่ยได้เดินทางกลับประเทศบ้านเกิด ครั้งก่อนที่แม่เสียชีวิตเวียดนามควบคุมพรมแดนอย่างเข้มงวด ครั้งนี้พ่อเสียชีวิตเธอจำเป็นต้องเดินทางกลับไปส่งพ่อเป็นครั้งสุดท้าย “ครั้งนี้ฉันไม่มีเงินและไม่ได้ซื้อของขวัญอะไรไปฝากญาติ ๆ และเพื่อนบ้านเลย สีหน้าของพวกเขาแต่ละคนไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่นัก เนื่องจากทุกคนต่างกำลังรอผลประโยชน์กับคุณอยู่ เรื่องแบบนี้ดูเหมือนว่าคนไต้หวันจะไม่ค่อยเข้าใจแรงกดดันเช่นนี้เท่าไหร่นัก เพราะที่เวียดนามตั้งแต่เด็ก ๆ จะมีการปลูกฝังว่าเป็นลูกจะต้องช่วยเหลือครอบครัว นี่ก็เป็นความเจ็บปวดที่ยากจะอธิบาย”

อาจินยังกล่าวอีกว่า “หลังจากที่พ่อแม่ของฉันเสียชีวิต คนในครอบครัวก็ถกเถียงกันเรื่องมรดก อยู่ ๆ เหมือนฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องพวกนี้เลย เขาบอกว่าฉันแต่งงานมาอยู่ต่างประเทศ บ้านและรถที่ฉันมีอยู่ตอนนี้ต่างเป็นเงินที่ฉันเก็บหอมรอมริบจากการทำงานในไต้หวัน แต่ตอนนี้เหมือนฉันไม่สามารถแสดงความเห็นอะไรได้เลย”

ความร้าวฉานและความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไประหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และครอบครัวคนพื้นเมือง

“ผลกระทบของโรคระบาดดูเหมือนจะเพียงแค่ 2-3 ปีเท่านั้น แต่ญาติผู้ใหญ่ในหมู่บ้านของเราเสียชีวิตไปหลายคนแล้ว พ่อแม่ของฉันก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากที่ไต้หวันโควิด-19 ไม่ได้แพร่ระบาดร้ายแรง เลยไม่ค่อยเข้าใจถึงความรู้สึกที่ต้องสูญเสียญาติพี่น้องว่าเป็นอย่างไร ทุกครั้งที่ได้รับข้อความแจ้งเตือน ก็เหมือนกับการแจ้งเตือนฉันว่าไม่ต้องกลับมาหรอก ฉันมีบัตรประชาชนไต้หวันแล้ว หลังหย่าล้าง สามีบอกให้ฉันกลับอินโดนีเซีย ตอนนั้นฉันรู้สึกว่า ทั้งอินโดฯ และไต้หวันไม่ต้อนรับฉันแล้ว” อาเจินกล่าว

อาเหม่ยยังกล่าวอย่างเศร้าใจต่อว่า “ตอนที่ฉันกลับเวียดนามหลังจากที่มาทำงานโรงงานในไต้หวัน สามีตามไปขอฉันถึงเวียดนาม ในตอนนั้นฉันรู้สึกว่าการแต่งงานย้ายมาอยู่ต่างประเทศเหมือนเป็นลูกที่ไม่กตัญญูต่อพ่อแม่เลย การทำงานพาร์ทไทม์ในไต้หวันส่งเงินไปช่วยครอบครัวที่เวียดนามดูเหมือนจะเป็นวิธีการรักษาความสัมพันธ์ของเรา อดทนรอกลับบ้านมานานกว่า 3 ปี แต่ตอนนี้พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว ความสัมพันธ์ถูกตัดขาดกะทันหัน พี่น้องต่างแยกทางกัน จู่ ๆ ฉันก็รู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีบ้านเลย”

“เรื่องเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาจะให้พูดตอนนี้พูดยังไงก็ไม่จบ เมื่อก่อนคิดว่าการหยุดการจราจรหรือการปิดประเทศเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวฉันมาก แต่ตอนนี้เพียงแค่พริบตาเดียวเท่านั้นคนในครอบครัวจากไปแล้วหลายคน หลายสิ่งหลายอย่างฉันไม่สามารถควบคุมได้จริง ๆ ฉันว่ามันถึงเวลาที่เราจะกลับมาใส่ใจเรื่องของตัวเองมากขึ้นแล้ว ฉันอยากไปเที่ยวต่างประเทศ อยากออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณ อยากอ่านหนังสือเพิ่มพูนความรู้จะได้สอนการบ้านลูก ๆ ได้ ไม่เช่นนั้นโดนลูกถามไปไม่เป็นเลย” อาจินพูดหลังจากปรับแนวคิด พลังในการต่อสู้ชีวิตกลับมาอีกครั้ง

อนาคตหลังการหยุดชะงัก

โรคระบาดส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและระบบสังคมของผู้คนเป็นอย่างมาก ในขณะที่สังคมกำลังถกเถียงกันเรื่องเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเมื่อใด ภายในใจของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็สับสนอยู่ไม่น้อย หลายคนเดินทางไปต่างประเทศเพื่อเจรจาธุรกิจหรือไม่ก็ท่องเที่ยว หากไปต่างประเทศไม่ได้ก็จะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้า และความบันเทิง อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มองเรื่องการปิดกั้นพรมแดน ภาระทางจิตใจมีมากกว่าข้างต้นที่กล่าวมา เช่น ประโยคสั้น ๆ ที่มักจะได้ยินบ่อยครั้ง “เขาไปต่างประเทศครั้งนี้ก็เหมือนได้มีโอกาสกลับบ้านอีกครั้ง” เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากที่บุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถใช้ชีวิตแบบไม่ต้องพึ่งพาอาศัยใครได้แล้ว ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็เริ่มแตกร้าว ซึ่งแตกต่างจากครอบครัวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ ‘แต่งงาน’ ย้ายมาอยู่ที่ไต้หวันเพียงลำพัง จะต้องเผชิญกับปัญญาอายุที่มากขึ้น ความโดดเดี่ยว หรือแม้แต่แรงกดดันทางเศรษฐกิจ ในอนาคตปัจจัยความไม่มั่นคงทางจิตใจของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในนโยบายสังคมสูงวัยด้วย

ผู้เขียนบทความนี้ : หลินโจวซี (林周熙)

อาชีพ : ผู้ก่อตั้ง South East Asia Migrant inspired, SEAMi

การศึกษา : ปริญญาโท คณะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาลัยแห่งชาติจี้หนัน (National Chi Nan University)

ประสบการณ์ : หัวหน้างานศูนย์บริการแรงงานต่างชาติเมืองเถาหยวน, ประธานผู้ก่อตั้งสมาคมนวัตกรรมและการวิจัยศิลปศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมืองเถาหยวน

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading