img
:::
ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ

ผู้ตั้งถิ่นฐานต้องอ่าน! การวิเคราะห์กฎหมายมรดกในไต้หวันอย่างละเอียด

按照我們台灣民法的規定呢,繼承人其實主要是分成兩大類。一類叫做配偶,一類叫做血親繼承人。所以我們在辦理財產繼承的這種情況之下,原則上就是所有的繼承人要一起去辦共同共有的繼承,然後呢,接著就是做一個遺產分割的一個處分,這樣就算是把整個繼承能夠處理好。

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไต้หวัน กำหนดว่า ผู้รับมรดกหลักๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คู่สมรส และทายาทโดยสายโลหิต ดังนั้น ในการจัดการมรดกนั้น โดยหลักการแล้วผู้รับมรดกทุกคนจะต้องดำเนินการรับมรดกร่วมกัน จากนั้นจึงดำเนินการแบ่งทรัพย์สินมรดก ซึ่งถือเป็นการดำเนินการเพื่อให้การรับมรดกเสร็จสิ้นอย่างถูกต้อง

那當然中間,你可能要提供一些相關的一些文件,包含的就是說除戶的證明,然後還有就是遺產清冊,然後再報遺產稅的完稅。遺產稅的完稅之後呢,才能夠進行這些繼承財產的分配。大概程序原則上是這樣子的。

แน่นอนว่า ในขั้นตอนนี้ คุณอาจจำเป็นต้องจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องบางอย่าง เช่น เอกสารการถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้าน รายการทรัพย์สินมรดก และเอกสารการชำระภาษีมรดก หลังจากที่การชำระภาษีมรดกเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะสามารถดำเนินการแบ่งทรัพย์สินมรดกได้ นี่เป็นขั้นตอนพื้นฐานในการจัดการมรดก

所以新住民的朋友,其實你遇到這種財產繼承情況,你只要有個基本的概念,知道說配偶跟子女原則上就是繼承人。那中間有不清楚的地方呢,其實我們各地的都有法律扶助基金會,他們的單位,就我們俗稱法扶啦。各個縣市的法扶呢,其實都可以提供這些相關的諮詢。

ดังนั้น เพื่อนๆ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ควรมีความเข้าใจพื้นฐานว่า โดยหลักการแล้วคู่สมรสและบุตรเป็นผู้รับมรดก หากมีข้อสงสัยในระหว่างขั้นตอน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิช่วยเหลือทางกฎหมายในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเรามักเรียกกันว่า “มูลนิธิช่วยเหลือทางกฎหมาย” โดยในแต่ละจังหวัดและเขตของไต้หวันมีมูลนิธิฯ ที่สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหากฎหมายเหล่านี้ได้

所以新住民的朋友如果說遇到財產繼承的情況,不太清楚,可以就近跟各個縣市的法律扶助基金會他們的一些單位,這些提供一些法律諮詢的協助。他們也會跟您說明,這個遺囑其實簡單來講就是說被繼承人他在生前把他的一些願望,包含處分財產的部分,如何做一個分配,它先用一定的格式把它完成下來,我們就把它叫做遺囑。

ดังนั้น หากเพื่อนๆ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่พบปัญหาในการรับมรดก และไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร สามารถไปขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิช่วยเหลือทางกฎหมายในเขตพื้นที่ได้ เพื่อขอคำปรึกษาและการสนับสนุนทางกฎหมาย พวกเขาจะอธิบายให้คุณทราบว่า พินัยกรรมคือการแสดงเจตจำนงของผู้มอบมรดกก่อนเสียชีวิต โดยรวมถึงวิธีการแบ่งทรัพย์สินที่ต้องการ ซึ่งต้องเขียนลงในรูปแบบที่กำหนดไว้ โดยสิ่งนี้เรียกว่า "พินัยกรรม"

那遺囑在我們臺灣,其實它是很嚴格的,它一定要按照就是我們民法規定的格式去做,才是有效的。那我們一般常見的遺囑,常見的啦,就是自書遺囑、代筆遺囑或公證遺囑,這個是屬於比較常見的。但它全部都有各自的格式,那一定要按照這個格式去寫這個遺囑才會有效。

สำหรับพินัยกรรมในไต้หวัน มีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดมาก ต้องดำเนินการตามรูปแบบที่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดเท่านั้นจึงจะถือว่ามีผลบังคับใช้ โดยทั่วไปพินัยกรรมที่พบได้บ่อย ได้แก่ พินัยกรรมที่เขียนเอง พินัยกรรมที่ให้ผู้อื่นเขียนแทน และพินัยกรรมที่มีการรับรองจากทนาย ซึ่งเป็นพินัยกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด แต่พินัยกรรมแต่ละประเภทมีรูปแบบที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นต้องเขียนพินัยกรรมให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด จึงจะถือว่าพินัยกรรมนั้นมีผลบังคับใช้

這個遺囑呢,因為我們剛剛有講到說,我們在民法裡面對遺囑的規定,其實都有非常嚴格的格式。因此,如果說是不符合這個格式,舉例來講,如果代筆遺囑或是公正遺囑的見證人只有2個,少了一個,這個遺囑就是無效了。

เนื่องจากเราได้กล่าวไปแล้วว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไต้หวันกำหนดรูปแบบของพินัยกรรมไว้อย่างเคร่งครัด ดังนั้นหากพินัยกรรมไม่ตรงตามรูปแบบที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น พินัยกรรมที่ให้ผู้อื่นเขียนแทนหรือพินัยกรรมที่มีการรับรองจากทนายจะต้องมีพยานอย่างน้อย 3 คน หากมีพยานไม่ครบ 3 คน พินัยกรรมนี้ก็จะถือว่าเป็นโมฆะ

但另外,如果你精神上有點不好,或者是說可能因為一些身體或是一些疾病的關係,導致你無法表達等等,欠缺這種說我財產要如何處理的這種能力的話呢,我們也會認為說這樣是無效的情形。

นอกจากนี้ หากคุณมีอาการผิดปกติทางจิตใจ หรืออาจมีปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยที่ทำให้ไม่สามารถแสดงเจตจำนงได้ หรือไม่สามารถแสดงความประสงค์เกี่ยวกับวิธีการจัดการทรัพย์สินได้ พินัยกรรมนี้ก็จะถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน

所以這邊也是提醒新住民的朋友,就是要了解到我們遺囑,製作遺囑的話呢,首先要有遺囑能力,然後再來就是一定要嚴格按照每一種遺囑各自的格式去撰寫,那這樣遺囑才會是有效的。

ดังนั้นเราขอแนะนำให้เพื่อนๆ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าใจว่า การทำพินัยกรรมนั้น ก่อนอื่นต้องมีความสามารถในการทำพินัยกรรม และต้องปฏิบัติตามรูปแบบของพินัยกรรมแต่ละประเภทอย่างเคร่งครัด จึงจะถือว่าพินัยกรรมนั้นมีผลบังคับใช้

如果我們的新住民朋友呢,已經取得臺灣的這種國籍,等於說我們講歸化的情形的話,那他這個權利義務就跟我們原來的就是所有的臺灣國民一樣,這沒有什麼差別。但是如果說遇到繼承的情況,還沒有取得臺灣國籍的時候,這部分就比較複雜一點了。

หากเพื่อนๆ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้รับสัญชาติไต้หวันแล้ว หมายความว่าได้ทำการโอนสัญชาติสำเร็จแล้ว สิทธิและหน้าที่ของพวกเขาก็จะเหมือนกับพลเมืองไต้หวันทุกประการ โดยไม่มีความแตกต่างกัน แต่หากเกิดปัญหาการรับมรดกในขณะที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไต้หวัน กรณีนี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเล็กน้อย

原則上,我們要按照我們臺灣有一部叫做「涉外民事適用法」的法規,從這裡面的規定去判斷說應該要用台灣的法律,還是新住民母國的法律來去處理繼承的問題。

ในหลักการแล้ว เราจะอ้างอิงตาม "กฎหมายการใช้บังคับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับบุคคลต่างด้าว" ของไต้หวัน เพื่อพิจารณาว่าควรใช้กฎหมายของไต้หวันหรือกฎหมายของประเทศต้นทางของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในการจัดการปัญหาการรับมรดก

最主要是在不動產的部分,不管是針對中國籍配偶或是說其他國籍的新住民等等,他有一些特別的規定。這個不動產的部分可能規定在一些土地法或是一些兩岸的相關法規裡面。吼,這個是也要特別注意,我們就簡單跟大家說。

เรื่องนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการรับมรดกทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นคู่สมรสที่มีสัญชาติจีนแผ่นดินใหญ่ หรือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มีสัญชาติอื่นๆ ต่างก็มีกฎระเบียบพิเศษที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์อาจระบุอยู่ในกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญและระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเราได้กล่าวอย่างสั้นๆ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจ

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading