img
:::

นักข่าวระดับประเทศผู้อาวุโส อู๋เจิ้นหนาน วิเคราะห์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ในไต้หวัน

นักข่าวระดับประเทศผู้อาวุโส อู๋เจิ้นหนาน วิเคราะห์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ในไต้หวัน

อู๋เจิ้นหนาน (吳振南)

  • นักข่าวต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ Oriental Daily News ของมาเลเซีย และเจ้าของคอลัมน์มาเลเซียในวันนี้
  • นักเขียน บรรณาธิการ เว็บไซต์ Promethean Fire Review ของมาเลเซีย
  • อดีตอาจารย์สาขาตรรกวิทยา New Era University College ของมาเลเซีย
  • บรรณาธิการหนังสือเรียนภาษามาเลเซียของกระทรวงศึกษาธิการ
  • อาจารย์ภาควิชาสนับสนุนการศึกษาภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และและสูตรขั้นสูง
  • ผู้บรรยายรายการวิทยุ “輕鬆來學馬來語” (เรียนภาษามาเลเซียอย่างง่ายดาย) และผู้ร่วมบรรยายรายการ “幸福聯合國” ของ National Education Radio
  • อาจารย์สอนภาษามาเลเซียของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในเมืองนิวไทเป
  • หัวหน้าทีมกลองมือสไตล์ทางใต้ทีมแรกในไต้หวัน

 

อู๋เจิ้นหนาน (吳振南) ผู้บรรยายรายการของ National Education Radio ผู้มาจากมาเลเซียประเทศที่เป็นสังคมพหุชาติพันธุ์ และเป็นนข่าวระดับประเทศผู้อาวุโส นักวิจารณ์การเมือง และในตอนนี้ก็เป็นผู้ที่ผลักดันการสอนภาษาแม่ให้แก่ทายาทผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ความเป็นพหุวัฒนธรรม

 

ไต้หวัน จริง ๆ แล้วก็เป็นเกาะที่มีความเป็นพหุชาติพันธุ์ ในช่วงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา ในทุกยุคทุกสมัย ต่างก็มีผู้อพยพมาด้วยเหตุผลและภูมิหลังที่ต่างกัน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อพยพมาอยู่ที่ไต้หวัน ค่อย ๆปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรในไต้หวัน กลายมาเป็นกลุ่มชนกลุ่มที่ 5 ของไต้หวัน เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถขาดได้ในสังคม

อู๋เจิ้นหนานจบมัธยมก็มาเรียนมหาวิทยาลัยที่ไต้หวันเมื่อปี 1993 และใช้ชีวิตอยู่ที่ไต้หวันเป็นเวลา 8-9 ปี อู๋เจินหนานบอกว่า สังคมไต้หวันในยุค 90 ถึงแม้ว่าอยู่ในสถานการณ์ของการเลิกบังคับใช้กฎอัยการศึก สังคมและการเมืองยังคงเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามสภาพสังคมโดยรวมยังคงเป็นเอกเทศน์ สิ่งที่ได้ยินและสิ่งที่ได้ฟังยังคงใช้ภาษาตระกูลจีนเป็นหลัก (ภาษาจีน, ภาษาสำเนียงไต้หวัน, ภาษาจีนแคะ) สภาพความเป็นอยู่ของต่างชาติในไต้หวันยังไม่ดีนัก ดังนั้นคนต่างชาติที่ใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวันทำงานและเรียนจึงมีน้อยครั้งที่ 2 ที่กลับไต้หวันคือในปี 2006 ภายหลังจากแต่งงานก็ตัดสินใจตั้งหลักปักฐานที่ไต้หวันกับภรรยา การกลับมาครั้งนี้ อู้เจิ้นหนานพบว่าสภาพสังคมในไต้หวันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เวลาเดินไปบนถนนหนทางก็พบชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก อาทิชาวอินเดียว และคนขาว จำนวนชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไต้หวันเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และได้เริ่มเห็นรานอาหารต่างชาติมากมาย สภาพความเป็นอยู่เริ่มเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันกับกระแสของนานาชาติ สภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพหุและซับซ้อนมากขึ้น

 

ประชาชนไต้หวันก็มีการยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลายมากขึ้น อาทิบรรจุภัณฑ์ของอาหารหรือร้านอาหารก็สามารถสังเกตเห็นถึงสัญลักษณ์ฮาลาล เรียนรู้ที่จะเคารพผู้นำถือศาสนาอิสลาม และยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลายของสากล

 

จริง ๆ แล้วสังคมไต้หวันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ กำลังพยายามอย่างหนักเพื่อที่จะเรียนรู้และเคารพในความเป็นพหุวัฒนธรรม อาทิการนำ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Culture Identity) และเอกลักษณ์ประจำชาติ (National identity) แยกออกจากกัน ทำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่สามารถนำวัฒนธรรมตนมาปรับให้เข้าสู่ไต้หวันได้

อู๋เจิ้นหนานยังกล่าวอีกว่า นโยบายและการบริการของไต้หวันต่อบุคคลที่มาจากภายนอก(ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่)ในช่วงไม่กี่ปีนี้พัฒนาไปอย่างด้วยดี อาทิเช่นการสมัคร ARC รัฐบาลไต้หวันพัฒนาระบบออกมาได้สมบูรณ์มากแล้ว นอกจากนี้เงื่อนไขการขอสัญชาติและการอาศัยถาวรก็เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับประชาชนมากขึ้น ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ตามนโยบายต่าง ๆ ได้มากขึ้น

อย่างครอบครัวของอู๋เจินหนาน ถึงแม้ว่าเขาได้แต่งงานกับภรรยาชาวไต้หวัน แต่การที่จะขอสิทธิพำนักในมาเลเซีย ให้แก่ภรรยาก็เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่ทว่าในไต้หวันนั้นง่ายกว่าเยอะ ดังนั้นอู๋เจิ้นหนากับภรรยาจึงตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่ไต้หวัน และกลายมาเป็นผู้เขียนคอลัมน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมาเลเซีย ซึ่งในตอนหลังก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งการจัดทำบทเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ของศึกษาธิการเมืองนิวไทเป เข้ามาสู่การทำงานในด้านการศึกษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

เพื่อที่จะทำให้บุตรสาวที่เกิดมาและโตมาในไต้หวันได้เรียนรู้กับวัฒนธรรมที่หลากหลาย อู๋เจินหนานจากบทบาทของผู้ปกครองที่คอยสนับสนุนให้ลูกเรียนภาษาบ้านเกิดจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาบ้านเกิดสำหรับผู้ตั้งถิ่รฐานใหม่ ไม่เพียงแต่เป็นบรรณาธิการบทเรียนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ 108 บทให้แก่ศึกษาธิการเมืองนิวไทเปแล้ว ยังได้จัดรายการวิทยุกับบุตรสาวในรายการ “輕鬆來學馬來語” (เรียนภาษามาเลเซียอย่างง่ายดาย) ให้แก่ National Education Radio อีกด้วย

อู๋เจินหน้านยังได้ร่วมมือกับเพื่อนที่มาจากมาเลเซียจางจวิ้นเฮ้า (張俊浩) หวงเป่ายวิ๋น (黃寶雲) หลิวยวิ๋นยวิ๋น (劉蕓蕓)  และหยางเหว่ยกวาง (楊偉光) ในการจัดตั้งทีมกลองมือ Tempo (ทีมการแสดงกลองมือสไตล์ภาคใต้) โดยร่วมมือกับ “โครงการสร้างฝันสำหรับทายาทผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผ่านการแสดงสดในที่สาธารณะทำให้ไต้หวันได้รู้จักกับดนตรีพื้นบ้านของมาเลเซีย และเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของมาเลเซียไปด้วย

อู๋เจิ้นหนานเชื่อว่า ดนตรีประเภทตีเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้สามารถบรรเลงดนตรีข้ามภาษาและเผ่าพันธุ์ได้ และเป็นการแลกเปลี่ยนความเป็นพหุวัฒนธรรมที่สำคัญ อู๋เจิ้นหนานก็ยังได้ร่วมมือกับเพื่อน ๆ ที่สอนภาษามาเลเซียในโรงเรียน ได้ถ่ายทอดกลองมือนี้เข้าสู่คลาสเรียนวิชาภาษามาเลเซีย และค่อย ๆ กระจายออกไปในหลาย ๆ แขนง

 

จากข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ได้สัญชาติแล้วมีทั้งสิ้นกว่า หกแสนห้าหมื่นคน และยังมีแรงงานต่างชาติและผู้เชียวชาญต่างชาติอีกกว่า เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นราย รวมทั้งไต้หวันในทุก ๆ ปี เด็กที่เกิดใหม่ในแปดคนก็มักจะมีหนึ่งคนที่เป็นทายาทของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ จำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้เพิ่มมากขึ้นกว่าประชากรท้องถิ่นไต้หวันแล้ว กลายมาเป็นกลุ่มชนกลุ่มที่ 5 ของไต้หวัน

 

เมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่(บุคคลที่มาจากข้างนอก)ไม่ได้แต่เป็นแค่นักเดินทางที่ผ่านมาและผ่านไป ไต้หวันควรยอมรับสังคมที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมอย่างไร และเตรียมพร้อมหรือยังที่จะอาศัยอยู่ร่วมกันกับความเป็นพหุชาติพันธุ์ ประเด็นคำถามนี้อาจเป็นประเด็นที่สำคัญที่คุ้มค่าต่อการคิดต่อไป

 

 

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading