[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “ไทยรัฐออนไลน์” ระบุว่า ในปี 2026 ประเทศไทยจะมีประชากรที่อยู่อาศัยในเขตเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัย และกิจกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้าน "สิ่งแวดล้อม" ทั้งนี้ "เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน" (Green City) เป็นแนวคิดที่สอดรับกับนโยบายของประเทศ และมีความจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการ ทั้งการใช้เป็นกรอบในการกำหนดนโยบาย การพัฒนาท้องถิ่น และเป็นกรอบในการดำเนินงานพัฒนาร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างแท้จริง
อ่านข่าวเพิ่มเติม : ไถหนานประกาศห้ามใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป
ตามรายงานของ “ไทยรัฐออนไลน์” เผย องค์ประกอบ 4 ด้าน ของเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (Green City) ดังนี้
1. เมืองอยู่ดี : คือการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม โครงสร้างพื้นฐานเพียงพอสำหรับคนทุกกลุ่ม มีความมั่นคง ด้านที่อยู่อาศัยปลอดภัย และเศรษฐกิจมั่นคง
2. คนมีสุข : เสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้คนในเมือง ครอบคลุมการรักษา รวมทั้งส่งเสริมด้านการศึกษา นอกจากนี้ทุกคนจะต้องได้รับสวัสดิการ และการพิทักษ์สิทธิที่เหมาะสมและเท่าเทียม มีกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ดำรงประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. สิ่งแวดล้อมยั่งยืน : ทรัพยากรธรรมชาติมีความสมบูรณ์ มีพื้นที่สีเขียวเพียงพอ ภูมิทัศน์สวยงาม ของเสียหรือมลพิษถูกจัดการอย่างเหมาะสม และประชาชนมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4. เทศบาลแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการที่ดี : มีวิสัยทัศน์ และแผนงานชัดเจน บุคลากรมีความรอบรู้และเชี่ยวชาญระบบการทำงานได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมการบริหารจัดการที่ดี และมีนวัตกรรมการพัฒนาเมือง
อ่านข่าวเพิ่มเติม : โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย