img
:::

กิจกรรมบรรยายวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรม

กิจกรรมบรรยายวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เพื่อให้ประชาชนเข้าใจวัฒนธรมที่หลากหลายของแรงงานข้ามชาติ สำนักงานแรงงานข้ามชาติและผู้พิการกรุงไทเปได้จัดกิจกรรม“เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวหน้า” โดยในเดือนมิ.ยที่ผ่านมา มีการจัดการบรรยาย 3 รอบ โดยเชิญนักเขียนและบุคคลในสังคมที่อยู่ในแวดวงของแรงงานข้ามชาติมาร่วมบรรยายแบ่งปันประสบการณ์ โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายมากกว่าร้อยคน

สำหรับการบรรยายในครั้งแรกได้เชิญเลี่ยว หยุ๋นจาง (廖雲章) ผู้ที่คลุกคลีกับประเด็นแรงงานข้ามชาติกับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมบรรยายให้ประชาชนได้เข้าใจรูปแบบการทำงานของแรงงานข้ามชาติในไต้หวัน นอกจากนี้ ยังได้เชิญให้ผู้ที่ร่วมฟังบรรยายอ่านบทกวีของลูกชายของแรงงานข้ามชาติ ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความประทับใจ

แอนนี่ ถิ๋ง อาศัยอยู่ไต้หวันมา 18 ปี ได้เล่าประสบการณ์ชีวิตของตนเองให้ฟังว่า เธอเริ่มต้นเป็นแรงงานข้ามชาติมาทำงานที่ไต้หวัน ก่อนที่จะกลายเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เธอกล่าวว่า ตราบใดที่ตนสามารถทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ จะเป็นอะไรก็ไม่สำคัญอีกต่อไป

สำหรับการบรรยายครั้งที่สองมาในหัวข้อ“ชีวิตของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คุณไม่ได้สังเกตเห็น”โดยได้เชิญเฉิน จ่งจื่อ (陳炯志) ผู้ดูแลการจัดเทศกาลภาพยนตร์แรงงานข้ามชาติปี 2019 และเฉิน ไคเสี๋ยง (陳凱翔) ผู้ร่วมก่อตั้ง One-Fortyมาร่วมแชร์ว่าตนเองได้เห็นอะไรจากแรงงานข้ามชาติชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั้งคู่ให้ความสนใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติมาอย่างยาวนาน

และการบรรยายในรอบสุดท้ายได้เชิญหลี่ มู่อี๋ (李牧宜) บรรณาธิการของ The News Lens ซึ่งที่บ้านของเธอมีการจ้างผู้อนุบาลต่างชาติที่ชื่อว่า เจียน่า (賈娜) มาร่วมแชร์เรื่องราวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับเจียน่ามีการเปลี่ยนแปลงจากแรงงานข้ามชาติเป็นสมาชิกในครอบครัวอย่างไร

หลี่ มู่อี๋คิดว่าเธอไม่เคยมีความเมตตากับแรงงานข้ามชาติมาก่อน แต่ตอนนี้เธอต้องการที่จะเข้าใจและใกล้ชิดแรงงานข้ามชาติมากขึ้น และในระหว่างการบรรยาย เจียน่าได้ใช้ภาษาอินโดนิเซียอ่านบทกวี “Taipei Listen to Me”ในหนังสือ “ถึงลูกที่รัก”ซึ่งในระหว่างการอ่าน เธอรู้สึกเศร้าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากคิดถึงลูกของตนเองที่บ้านเกิด

จากเรื่องราวมากมาย ทำให้ประชาชนเห็นแรงงานข้ามชาติที่ต้องความยากกับลำบากได้จากบ้านเกิดมาทำงานในต่างประเทศเป็นระยะเวลายาวนาน ได้เห็นว่าไต้หวันเป็นอย่างไรในสายตาของแรงงานต่างชาติ รวมทั้งบทบาทของแรงงานข้ามชาติและความฝันที่นอกเหนือจากการทำงาน

 เจียน่า ผู้อนุบาลชาวอินโดนิเซีย อ่านบทกวี “Taipei Listen to Me”ในหนังสือ “ถึงลูกที่รัก”เป็นภาษาอินโดนิเซีย ซึ่งในระหว่างการอ่าน เธอรู้สึกเศร้าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากคิดถึงลูกของตนเองที่บ้านเกิด (ภาพจาก สำนักงานแรงงานข้ามชาติและผู้พิการกรุงไทเป)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading