[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์” นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือมีรายได้ที่มั่นคงนั้น จำเป็นต้องทำให้มีอาชีพ ซึ่งนั่นหมายถึงแรงงานกลุ่มนี้ต้องมีทักษะความรู้ เพื่อนำไปประกอบอาชีพต่อไป รัฐบาลสั่งการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดทำโครงการพัฒนาทักษะให้แก่ผู้มีรายได้น้อยตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2566 ปัจจุบันมีผู้ผ่านการฝึกไปแล้วกว่า 2.2 หมื่นคน มีรายได้ตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 บาท อาชีพที่สร้างรายได้ได้ดี เช่น ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ช่างเชื่อม เป็นต้น โดยรัฐบาลมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย มีอาชีพและรายได้ที่เพิ่มขึ้น มุ่งหวังให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
อ่านข่าวเพิ่มเติม : พบผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกในประเทศ 11 ราย กรมอนามัยเกาสงรณรงค์ให้ประชาชนร่วมป้องกันโรคไข้เลือดออก
ด้านนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าว ได้เน้นย้ำให้ทุกพื้นที่คัดเลือกหลักสูตรการฝึกให้เหมาะสมกับกลุ่มแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมกับเพศและอายุ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อการนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพด้วย จึงต้องคำนึงเป็นพิเศษ อีกด้านหนึ่งคือ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหรือสร้างอาชีพได้จริง เช่น การทำบาริสต้ามืออาชีพ การตัดเย็บเสื้อผ้า การทำขนมอบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า ช่างปูกระเบื้อง ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า จากการติดตามผลบางส่วนพบว่าช่างที่สร้างรายได้ได้ดีหลังจากอบรม เช่น ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถรับงานมาซ่อมที่บ้าน สร้างรายได้ถึงวันละกว่า 1,000 บาท เป็นต้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม : เทศกาลว่าวเกาสงยกระดับ สร้างสวนน้ำขนาดใหญ่ให้เด็กและผู้ปกครองมาคลายร้อน
นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ผู้บริหารลงพืันที่ติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อย้ำกับเจ้าหน้าที่และให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพการฝึกเป็นอันดับแรก เกิดประโยชน์และสามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างแท้จริง