img
:::

รัฐบาลไทยประกาศว่า “ชาวต่างชาติลงทุน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้วีซ่า 10 ปี” ดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย

รัฐบาลไทยประกาศว่า “ชาวต่างชาติลงทุน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้วีซ่า 10 ปี” ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
รัฐบาลไทยประกาศว่า “ชาวต่างชาติลงทุน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้วีซ่า 10 ปี” ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ “ประชาชาติธุรกิจ”  เมื่อไม่นานมานี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนเพื่อการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ประกอบด้วย 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

  1. กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง ที่มีรายได้สูง มีทรัพย์สินอยู่ทั่วโลก คุณสมบัติในการขอวีซ่าต้องลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือในอสังหาริมทรัพย์ และมีรายได้ส่วนบุคคลขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองค่ารักษา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป ตลอดระยะเวลาถือวีซ่า

อ่านข่าวเพิ่มเติม: เดินทางเข้าประเทศไทยได้ 3 วิธี ซึ่งทั้งหมดต้องสมัครผ่าน “Thailand Pass”

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนเพื่อการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนเพื่อการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

  1. กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีรายได้สำหรับการเกษียณอายุที่มั่นคงเป็นประจำจากต่างประเทศ ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือในอสังหาริมทรัพย์ และมีรายได้ขั้นต่ำปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมีรายได้ขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองค่ารักษา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป ตลอดระยะเวลาถือวีซ่า
  1. กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย ทำงานให้กับนายจ้างในต่างประเทศ 2 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบอาชีพด้านดิจิทัล และพนักงานองค์กรขนาดใหญ่และใกล้จะเกษียณอายุ
  1. กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษมีประสบการณ์ทำงานทักษะสูง และจะเข้ามาทำงานในประเทศไทยให้บริษัทในอุตสาหกรรมเป้าหมายตาม พ.ร.บ.การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 เข้ามาทำงานหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมีรายได้ส่วนบุคคล เช่น เงินเดือน รายได้จากการลงทุน ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ

หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี มีประกันสุขภาพจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง คุ้มครองค่ารักษา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป ตลอดระยะเวลาถือวีซ่า

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ระวัง! ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เป็นหนึ่งในการประกันการจ้างงานภาคบังคับ เตือนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้ใส่ใจในสิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง

ชาวต่างชาติลงทุน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้วีซ่า 10 ปี ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

ชาวต่างชาติลงทุน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้วีซ่า 10 ปี ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

สำหรับสิทธิประโยชน์ ได้แก่ 1.สิทธิประโยชน์ วีซ่าผู้พำนักระยะยาวใหม่ (LTR visa) อายุ 10 ปี รวมถึงผู้ติดตาม หรือคู่สมรสและบุตร 2.ได้รับใบอนุญาตทำงานอัตโนมัติหลังจากอนุมัติ LTR 3.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ในประเทศไทยในอัตราภาษีแบบก้าวหน้าเช่นเดียวกับผู้ถือสัญชาติไทย 4.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ 5.สิทธิในการเป็นเจ้าของ/เช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว (รวมที่ดิน) และ 6.มีสิทธิ์เลือกจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ในประเทศไทยในอัตราภาษีแบบก้าวหน้าเช่นเดียวกับผู้ถือสัญชาติไทย หรืออัตราภาษีเงินได้คงที่ที่ร้อยละ 17 เช่นเดียวกับ EEC (ให้เฉพาะกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ)

รัฐบาลตั้งเป้าดึงดูดผู้พำนักระยะยาวกว่า 1 ล้านล้านราย และใช้จ่ายในประเทศ 1 ล้านล้านบาทต่อปีต่อคนโดยเฉลี่ย และมีเม็ดเงินจากการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท ประมาณจากการลงทุนจากกลุ่มประชากรโลกประมาณ 1 หมื่นคน และกลุ่มผู้เกษียณอายุ 8 หมื่นคน นอกจากนี้ยังมีรายได้ทางภาษี 2.7 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น 180,000 ล้านบาท จากภาษีส่วนบุคคล 70,000 ล้านบาท จากภาษีมูลค่าเพิ่ม และ 22,000 ล้านบาท จากภาษีที่เกี่ยวกับการลงทุน

สำหรับแผนกำกับดูแลและปฏิบัติงานศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว ให้สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) จัดตั้งและบริหารศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว (LTR-service center) หากจำเป็นให้พิจารณาปรับรูปแบบองค์กร BOI ให้เหมาะสม เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการนักลงทุนต่างประเทศ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading