คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 10 ล้านคนในประเทศไทย คิดเป็น 11–14% ของจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ ณ ปี 2563 อ้างว่ามีประชากรไทยที่มีเชื้อสายจีนประมาณร้อยละ 40 ไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนชั้นกลางที่ก่อตั้งขึ้นอย่างมั่นคงและมีตัวแทนอยู่ในทุกระดับของสังคมไทย มีบทบาทนำในภาคธุรกิจของประเทศและครอบงำเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจัดเป็นกลุ่มอภิชนทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และในปีที่แล้ว (2564) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ “วันตรุษจีน” 12 ก.พ.2564 เป็น “วันหยุดราชการกรณีพิเศษ” ถือเป็นปีแรกและเป็นปีประวัติศาสตร์ไทยด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ต้องระวัง! แรงงานต่างชาติจะ “ถูกเพิกถอน” ใบอนุญาตการจ้างงานหากฝ่าฝืนกฎระเบียบการป้องกัน “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร”
ตามรัฐธรรมนูญประเทศไทยมีการปกครองแบบสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเทศให้ความสำคัญต่อราชวงศ์และได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง เทศกาลหลาย ๆ เทศกาลมักเกี่ยวข้องกับราชวงศ์และพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่น วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ กำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 10 ล้านคนในประเทศไทย ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
อ่านข่าวเพิ่มเติม: โรคภัยไข้เจ็บไม่แบ่งคนรวยหรือจน แรงงานไทยที่มีสิทธิประกันสังคมรับการรักษาฟรี
ฉะนั้น ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 วันตรุษจีน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประกาศให้วันหยุดตรุษจีนเป็นวันหยุดราชการ นอกจากนั้นยังมีการกำหนดวันหยุดประจำภาคต่าง ๆ เช่น วันหยุดราชการประจำภาคเหนือได้แก่ ประเพณีไหว้พระธาตุ วันที่ 26 มีนาคม 2564 วันหยุดราชการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่งานเทศกาลบุญบั้งไฟ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 วันหยุดราชการภาคใต้กำหนดให้หยุดในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยเป็นวันหยุดในพิธีสารทเดือน 10 ซึ่งการกำหนดวันหยุดเพิ่มเติมจะทำให้เศรษฐกิจมีการใช้เงินหมุนเวียนมากขึ้นของประชาชน ที่เดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นและจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้