img
:::

ศูนย์วิจัยกรุงไทยส่งเสริมผู้ประกอบการด้านอาหารใช้กล่องกันบูดเพิ่มยอดขาย และปลอดภัยกว่าใช้สารกันบูดในอารหารโดยตรง

ศูนย์วิจัยกรุงไทยส่งเสริมผู้ประกอบการด้านอาหารใช้กล่องกันบูดเพิ่มยอดขาย และปลอดภัยกว่าใช้สารกันบูดในอารหารโดยตรง

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสศูนย์วิจัยกรุงไทยคอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากการทำวิจัยเรื่องบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ (ดูดซับก๊าซถนอมอาหาร) ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารพบว่าในปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่ถึง 30% ที่วางสินค้าอยู่ในห้างสรรพสินค้าใช้กล่องบรรจุภัณฑ์อาหารแบบดูดซับก๊าซเพื่อชะลอการเน่าเสีย ซึ่งที่เหลือยังมีการใช้สารกันบูดโดยตรงกับตัวอาหาร ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภคได้ จึงอยากให้ผู้ประกอบการหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มากขึ้น แม้จะเพิ่มต้นทุนให้ธุรกิจ 1.5-3% แต่มีโอกาสจะเพิ่มรายได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะเพิ่มเวลาขนส่งไปได้ไกลขึ้น โดยเฉพาะที่ห่างไกลมาก

ทั้งนี้ยังมีผู้ผลิตสินค้ากล่องดูดซับก๊าซหรือบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเพียง 5-6 รายเท่านั้น แต่เชื่อว่าหากผู้ประกอบการหันมาสนใจใช้ประเภทนี้มากขึ้นจะทำให้ผู้ผลิตจะเพิ่มตามไปด้วย ซึ่งในปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจอาหารทวีความรุนแรงมากขึ้นและไทยมีบทบาทเป็นครัวของโลก จำเป็นต้องเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอาหารได้ รวมทั้งยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร คงคุณภาพทั้งในด้านสี รสชาติ คุณค่าทางอาหาร รวมทั้งความปลอดภัยของอาหารให้นานขึ้น

นายอภินันทร์ สู่ประเสริฐ รองผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์วิจัยฯ กล่าวว่า การใช้บรรจุภัณฑ์รูปแบบนี้จะไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนหรือสารตกค้าง รวมทั้งทำให้รสชาติ สี กลิ่น และสารอาหารเปลี่ยนไป โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ธัญพืช นม ขนมปัง ขนมอบ เค้ก คุกกี้ ไปจนถึงอาหารปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน ซึ่งในไทยสินค้ากลุ่มนี้มีมูลค่าตลาดถึง 3.67 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของมูลค่าสินค้าอาหารทั้งหมด โดยเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 30% หรือ 1.1 แสนล้านบาท.

ข้อมูลข่าวจาก เดลินิวส์

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading