[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามข้อมูลจาก “สำนักข่าวเดลินิวส์” ระบุว่า เวทีประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “ยกระดับสาธารณสุขไทยเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน” ได้มีการหยิบยกปัญหา “เด็กอ้วน” ขึ้นมาพูดคุยกัน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา เนื่องจากองค์การอนามัยโลก ยืนยันว่า เด็กที่อ้วนตั้งแต่เด็ก ๆ มีโอกาสโตไปเป็นผู้ใหญ่อ้วนที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจำนวนมาก
ตามข้อมูลจาก เว็บไซต์ Edunewssiam นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย ได้กล่าวว่า เด็กไทยมีภาวะเริ่มอ้วน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง เช่น น้ำอัดลม และอาหารฟาสต์ฟู้ด สาเหตุบางส่วนเกิดจากการทำการตลาด ที่กระตุ้นให้เด็กมีความต้องการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่ม ที่ส่งผลกระทบเสียต่อสุขภาพ
อ่านข่าวเพิ่มเติม : วารสารนานาชาติชี้ เดินวันละ 4,000 ก้าว ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ !
ตามข้อมูลจาก “สำนักข่าวเดลินิวส์” เผยว่า แนวโน้มเด็กอ้วนมีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น เด็กอ้วนที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจอุดกั้น โรคกระดูกและข้อ ส่งผลถึงการใช้ทรัพยากรในการรักษาสูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้น กรมอนามัยจึงได้เร่งขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เพื่อหยุดโรคอ้วนในเด็ก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย มุ่งลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อในปี 2030
การจัดการกับปัญหา“เด็กอ้วน” ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่เพียงแต่ภาคสาธารณสุข เครือข่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน ต่างต้องมีส่วนร่วมในการจัดการครั้งนี้ โดยเริ่มจากเด็กเป็นศูนย์กลาง การอบรมให้ตัวเด็ก ครอบครัว และชุมชนมีความรู้เข้าใจทางด้านอาหาร และการออกกำลังกาย ตลอดจนมีกลไกการขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมรอบตัว ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก
อ่านข่าวเพิ่มเติม:การบริโภควิตามินซีมากเกินไป อาจส่งผลให้การตรวจพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ล่าช้า