[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)
ไม่กี่วันที่ผ่านมาการประชุมสุดยอดนวัตกรรมทางสังคมแห่งเอเชีย – แปซิฟิก ประจำปี 2021 ซึ่งจัดโดยมูลนิธิเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิสตรี โดยหัวข้อเรื่อง "การเป็นผู้ประกอบการทางสังคมของสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่" กลายเป็นไฮไลต์ของการประชุมครั้งนี้ สตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันนับวันยิ่งมีบทบาท มีอิทธิพลทางสังคมมากขึ้น ทั้งยังมีความหลากหลายในการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆเช่นกัน
"โครงการเร่งรัดการเป็นผู้ประกอบการสตรียุคใหม่" ของมูลนิธิ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิสตรี ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2559 และปีนี้ถือว่าเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว โครงการนี้มีการฝึกอบรมทางเศรษฐกิจแก่สตรีที่ด้อยโอกาส ช่วยเหลือในการเริ่มต้นธุรกิจหรือขยายขนาดของธุรกิจของพวกเขาและปรับปรุงชีวิตส่วนตัวและเศรษฐกิจของครอบครัว
สมาคมสิทธิสตรีระบุว่า โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่จะจัดการฝึกอบรมให้สตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามก่อน หลังจากนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ต่อมาในปี 2561 ได้เริ่มเปิดโอกาสให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถยื่นขอกู้เงินอุดหนุนกับมูลนิธิ และได้เริ่มมีการจัดอบรมให้แก่ผู้ประกอบการสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั่วประเทศโดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นคนสัญชาติใด
ตามที่สมาคมสิทธิสตรีระบุ นักเรียนส่วนใหญ่ เป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และนักเรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่ ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม พม่าและอินโดนีเซีย
ในแง่ของอุตสาหกรรม ธุรกิจที่มีผู้ประกอบการมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมอาหารและความงาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาโอกาสทางธุรกิจทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ได้รับการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ อาศัยวัฒนธรรมประเทศบ้านเกิดของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและงานหัตถกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ พบว่าสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าร่วมลงทุนไม่น้อยเช่นกัน
หากคุณสนใจ "โครงการเร่งรัดการเป็นผู้ประกอบการสตรียุคใหม่" โปรดไปที่ 「มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาสิทธิสตรี」เพื่อสอบถามข้อมูล หากคุณกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านภาษา ทางสมาคมสิทธิสตรีจะติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอล่ามแปลภาษาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ผู้ที่ต้องการล่ามแปลภาษากรุณาติดต่อนัดหมายล่วงหน้า