[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์” นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบเป็นปัญหาสะสมในระบบเศรษฐกิจมายาวนานและขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมกับธนาคารพาณิชย์เอกชน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร(นอนแบงก์) ดำเนินแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการยกมาตรฐานการให้สินเชื่อ โดยการดูแลตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ กำลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ เมื่อหนี้มีปัญหาและเมื่อมีการขาย/ฟ้องหนี้ และหนี้นอกระบบให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้ามากู้ในระบบได้ แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ส่วนคือ มาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ที่สถาบันการเงินต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 และมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567
อ่านข่าวเพิ่มเติม : หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองและด่านตรวจของสิงคโปร์ได้รวมไต้หวันไว้ในระบบพิธีการศุลกากรอัตโนมัติแล้ว
ปัจจุบันรัฐบาลดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบคู่ขนาน ทั้งการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนและระยะยาว ซึ่งระยะเร่งด่วนนั้นได้ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ดำเนินการใน 3 ด้านที่สำคัญ คือ ช่วยเหลือลูกหนี้ให้เข้าถึงกลไกการแก้ไขหนี้สิน ปรับปรุงกฎหมายและเพิ่มเติมแหล่งสินเชื่อที่เป็นธรรม ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีการรายงานผลดำเนินงานให้ ครม. ทราบเป็นระยะเพื่อปรับปรุงแนวทางการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ส่วนของการสร้างวินัยการเงินในระยะยาวจัดให้มีแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงแผ่นปี2565 - 2570 ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างทักษะในการบริหารจัดการทางการเงินของบุคคลในทุกช่วงวัย ทั้งในระดับครอบครัว ในสถานศึกษาและสำหรับประชาชนทั่วไป
อ่านข่าวเพิ่มเติม : ไต้หวันอนุมัติบริษัทโอนเงินข้ามพรมแดนรายที่ 3 แรงงานเวียดนาม อินโดฯ โอนเงินกลับบ้านสะดวก