ปี 2024 เป็นปีที่สหภาพยุโรปขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมสู่ Industry 5.0 อย่างจริงจัง ด้วยการผลักดันนโยบายต่างๆ เช่น European Green Deal และ Digital Europe Program ซึ่งมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต
ในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก จีนกำลังเป็นผู้นำการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ในฝั่งสหรัฐฯ อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ได้นำเอาเทคโนโลยีอย่าง AI และหุ่นยนต์ร่วมปฎิบัติงาน (cobots) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดของเสีย
นโยบายของกลุ่มประเทศ G7 เน้นไปที่การเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลและการลงทุนในนวัตกรรมและการวิจัยเพื่อเพิ่มเตรียมพร้อมสู่ Industry 5.0 โดยผลักดันโครงการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและให้ความสำคัญกับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นโยบายหลักของ G7 คือการเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัล การลงทุนในนวัตกรรมและการวิจัย เตรียมความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 5.0 ส่งเสริมโครงการไฮเทค และให้ความสำคัญกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม/高雄720空間影像網
เช่น โครงการ Green Steel ที่มุ่งลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิตเหล็ก และสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่ม G7 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
Industry 4.0 เน้นการเชื่อมต่อและการควบคุมผ่าน IoT, การประมวลผลแบบคลาวด์ และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน แต่ Industry 5.0 มุ่งเน้นไปที่การเสริมประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร
อุตสาหกรรม 5.0 เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคู่กับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำเอาเทคโนโลยี
เช่น AI, หุ่นยนต์อัจฉริยะ และ IoT มาลดการใช้พลังงานและวัสดุที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและกระตุ้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถสร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย แทนที่จะเน้นเฉพาะผู้ถือหุ้นเท่านั้น
หลายอุตสาหกรรมได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรม 5.0 เนื่องจากพวกเขาต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และตอบสนองต่อนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน/數位島嶼
หลายอุตสาหกรรมได้เริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ Industry 5.0 เพราะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และตอบสนองนโยบายความยั่งยืน
ตัวอย่างเช่น BMW ใช้หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์พื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแบบเฉพาะราย Philips นำเครื่องมือวินิจฉัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อพัฒนายาเฉพาะบุคคล และนำเอาอุปกรณ์อัจฉริยะมา ผสมผสานความเชี่ยวชาญของมนุษย์เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ในกระบวนการรักษา
Amazon ใช้หุ่นยนต์ AI ทำงานร่วกับพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และคลังสินค้า และนำเอาระบบอัตโนมัติมาลดต้นทุนและแก้ปัญหาในการจัดส่ง Pfizer ใช้ AI และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในการค้นคว้าและพัฒนายา เพื่อให้วงจรการผลิตตรงเป้าและแม่นยำมากขึ้น
อุตสาหกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Industry 5.0 ว่าการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีขั้นสูงจะนำไปสู่ความก้าวหน้าอีกขั้นของภาคอุตสาหกรรมไป
เมื่ออนาคตการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด ประเทศไทยจะบริหารจัดการอย่างไรเพื่อลดช่องว่างและความท้าทาย?
คำตอบอยู่ที่ภาครัฐและและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงส่งเสริมการศึกษาด้าน STEM เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรสู่อนาคต อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงเพราะหลายประเทศก้าวสู่ Industry 5.0 แล้ว
ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ หากอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยไม่ก้าวสู่ Industry 5.0 จะส่งผลให้ประเทศสูญเสียโอกาสในการแข่งขันในตลาด ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจ้างงานและเศรษฐกิจโดยรวม.