สำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ การย้อนนึกถึงการถูกหลอกลวงและเอารัดเอาเปรียบเป็นความทรงจำที่เจ็บปวดและยากจะลืมเลือน อาซี และตงตง (นามแฝงทั้งคู่) ชาวชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ได้เผชิญกับสิ่งเหล่านี้ และในระหว่างกระบวนการพิจารณาคดี ทั้งคู่เล่าประสบการณ์ของตัวเองอย่างกล้าหาญ
ศูนย์พักพิงหนานโถว์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไต้หวันมีเหยื่อการค้ามนุษย์ 2 ราย อาศัยอยู่ ทั้งคู่หวังว่าจะไม่มีใครถูกเอารัดเอาเปรียบอีก พวกเขาหวังว่าจะได้เล่าประสบการณ์ที่ได้พบเจอผ่านการบันทึกวิดีโอและขอบคุณชาวไต้หวันและรัฐบาลไต้หวันยังคงได้ทำงานในไต้หวันในระหว่างรอการพิจารณาคดีเป็นเวลา 1 ปี กว่าๆ เพื่อชดเชยกับเงินที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
ทั้งสองกล่าวว่า ทุกคนในศูนย์พักพิงปฏิบัติต่อพวกเขาเป็นอย่างดีเปรียบเสมือนคนในครอบครัว ตงตงกล่าวว่า ตนต้องคิดถึงทุกคนแน่ๆ และก่อนที่จะกลับอินโดนิเซีย ตนไม่มีอะไรตอบแทนจึงอธิษฐานขอให้อัลลอฮ์ตอบแทนทุกคน
ตงตง (นามแฝง ปัจจุบันอายุเกือบ 40 ปี) ก่อนที่จะกลายเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ในไต้หวัน เขาทำงานรับจ้างทั่วไปที่ชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นบ้านเกิด ตงตงแต่งงานมาหลายปีจนมีลูก 3 คน ตงตงต้องการที่จะใช้ความอายุน้อยของตนเพื่อทำให้ครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเนื่องจากได้ยินว่ามาไต้หวันสามารถหาเงินได้เยอะ ภรรยาจึงขอให้พ่อตานำโฉนดบ้านไปกู้เงินกับธนาคารจำนวน 30 ล้านรูเปียร์ (ประมาณ 60,000 เหรียญไต้หวัน) แต่บริษัทจัดหางานของอินโดนิเซียโกหกว่าสามารถทำงานโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว ตงตงเดินทางมาไต้หวันในเดือนธ.ค. 2017 โดยอาซี เพื่อนจากบ้านเกิดเดียวกันชาวอินโดนิเซียที่แต่งงานมาอยู่ไต้หวันได้ส่งตัวตงตงไปทำงานที่เมืองเฟินหยวน มณฑลจางฮัว โดยทำงานรื้อถอนไม้กระดาน ดึงตะปูและดึงท่อน้ำ เนื่องจากอุปสรรคด้านภาษาจึงเป็นเรื่องยากที่จะขอความช่วยเหลือ ทำให้เขาตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ด้วยการทำงานที่ไม่ได้รับเงินเดือนตามปกติ
อาซี (นามแฝง ปัจจุบันอายุเกือบ 50 ปี)ชาวชวาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับการช่วยเหลือพร้อมกัน อาซีและตงตงไม่ได้รู้จักกันมาก่อนที่อินโดนีเซีย แต่ถูกบริษัทจัดหางานหลอกมาทำงานที่ไต้หวัน หลังจากได้รับการช่วยเหลือจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไต้หวัน (ทีมกิจการเขตภาคใต้ ทีมปฎิบัติการมณฑลหยุนหลิ๋น)
ทั้งสองก็กลายเป็นเพื่อนกัน อาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงด้วยกัน และคอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และในระหว่างที่อยู่ในศูนย์พักพิงเป็นเวลา 1 ปีกว่าๆ ก็ได้ยื่นขอใบอนุญาติการทำงานเพื่อทำงานหาเงินและใช้หนี้ที่อินโดนิเซีย ทำให้ทั้งคู่ไม่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว นี่คือจุดจบที่ดีอย่างคาดไม่ถึง
สตม.ไต้หวันกล่าวว่า ตงตงและอาซีพักอยู่ที่ศูนย์พักพิง พวกเขาได้รับแจ้งจากศาลยุติธรรมว่าพวกเขาสามารถกลับประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องให้ความร่วมมือกับการสอบสวน แต่พวกเขาลังเลที่จะสละทุกอย่างในศูนย์พักพิงและพวกเขาคิดถึงเจ้าหน้าที่ที่ทำให้พวกเขามีความทรงจำที่ดี ขอขอบคุณศูนย์พักพิงที่ได้ช่วยเหลือดูแลเป็นอย่างดี
สตม.ไต้หวันกล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่เหยื่อการค้ามนุษย์เต็มใจที่จะออกมาบอกเล่าประสบการณ์ของตนเอง พวกเขาแสดงความมั่นใจในอนาคต สตม.ไต้หวันหวังว่าเหยื่อเหล่านี้ที่เดินทางกลับประเทศบ้านเกิดจะสามารถหางานที่เหมาะสมและกลับไปใช้ชีวิตดั้งเดิม นี่คือเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของสตม.ไต้หวันในการปกป้องเหยื่อผู้ถูกกระทำ
การประชุมเชิงปฏิบัติการนานาชาติเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยกระทรวงมหาดไทยไต้หวันได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยมีตัวแทนของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งผู้แทนภาคอุตสาหกรรมเอกชนเข้าร่วมการประชุมและะปฎิญาณที่จะต่อสู้กับการบังคับใช้แรงงานและร่วมกันต่อต้านการค้ามนุษย์ร่วมกัน