งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง (National Cheng Kung University) ชี้ว่า พื้นที่สีเขียวในเมืองมีความสัมพันธ์กับอัตราการฆ่าตัวตาย ทุกครั้งที่พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 1% อัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ที่นั้นจะลดลง 0.2% โดยผลการวิจัยชิ้นนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Landscape and Urban Planning”แล้ว
ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง เผยว่า ทีมวิจัยได้ทำเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการฆ่าตัวตายของผู้คนใน 368 เมือง จากฐานข้อมูลประกันสุขภาพแห่งชาติไต้หวัน ตั้งแต่ปี 2000 - 2018 และรวบรวมข้อมูลสถิติของพื้นที่สีเขียวในแต่ละเมือง จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และภาพถ่ายดาวเทียม จากนั้นใช้โปรแกรม FRAGSTATS ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ เข้ามาช่วยคำนวนโครงสร้าง ขนาด รูปแบบ และลักษณะการเชื่อมต่อกันของพื้นที่สีเขียว พบว่า พื้นที่สีเขียวที่มีขนาดใหญ่ มีรูปทรงค่อนข้างเหลี่ยม และอยู่ใกล้กันหรือเชื่อมต่อกัน สามารถช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายได้
พื้นที่สีเขียวที่มีขนาดใหญ่ มีรูปทรงค่อนข้างเหลี่ยม และอยู่ใกล้กันหรือเชื่อมต่อกัน สามารถช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายได้ ภาพ/จาก Pixabay
อ่านข่าวเพิ่มเติม:“งานแสดงผลสัมฤทธิ์ของศูนย์ฝึกอบรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ประจำปี 2023” เริ่ม 18 พฤศจิกายนนี้!
ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง ยังกล่าวอีกว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฆ่าตัวตายมีหลายประการ ทั้งปัจจัยด้านอายุ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา ระดับความเป็นเมือง มลพิษทางอากาศ และอุณหภูมิ และแม้ว่าพื้นที่สีเขียวจะสามารถช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายได้ แต่การมีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่สำหรับไต้หวันถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม การมีพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก อย่างการสร้างทางเดินสีเขียว จะช่วยทำให้ผู้คนในเมืองรู้สึกผ่อนคลาย ลดอารมณ์ด้านลบ และทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้