1 ใน 6 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีประสบการณ์การหกล้ม
จากผลการสำรวจของสำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพไต้หวันในปี 2017 ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีจำนวน 3,280 คนพบว่า ประมาณ 1 ใน 6 มีประสบการณ์การหกล้มในระยะเวลา 1 ปีทีผ่านมา (คิดเป็น 15.5%) ส่วนสถิติสาเหตุการเสียชีวิตในปี 2019พบว่า การหกล้มเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดอันดับสองของผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป การหกล้มอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือกระดูกหัก เป็นต้น การหกล้มอย่างรุนแรงอาจทำให้ล้มหมอนนอนเสื่อและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้สูงอายุที่หกล้มมักจะพึ่งพาสมาชิกในครอบครัวมากขึ้นเนื่องจากกลัวการหกล้มอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความจำเป็นและความซับซ้อนในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งใช้กำลังคนและเงินมากขึ้น
สาเหตุของการหกล้มค่อนข้างซับซ้อน วึ่งรวมถึงความอ่อนแอ ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดลง (การมองเห็น การได้ยินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว เป็นต้น) สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย การใช้ยาหลายชนิด การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามการหกล้มสามารถป้องกันได้ เพียงแค่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ 5 ประการ ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการหกล้มได้
- รับสารอาหารที่เพียงพอเพื่อป้องกันความอ่อนแอ
ผู้สูงอายุที่มีร่างกายอ่อนแอมีแนวโน้มที่จะหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อป้องกันความอ่อนแอคุณต้องรับประทานให้ได้แคลอรี่และโปรตีนที่เพียงพอ รวมทั้งรับประทานอาหารเสริมหากจำเป็น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่น และการทรงตัวสามารถฝึกฝนได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงความสามารถในการป้องกันตนเองเมื่อหกล้ม
- ความปลอดภัยและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่อาจทำให้หกล้ม ได้แก่ แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นลื่น พื้นไม่เรียบ และมีสิ่งของตามทางเดิน คุณสามารถดูรายการตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในบ้านได้ใน "คู่มือการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ" (長者防跌妙招手冊) บนเว็บไซต์สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และทำการปรับปรุง
- ตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ยา
เมื่อไปพบแพทย์ คุณสามารถแสดงรายการยาหรือถุงยาที่คุณกำลังรับประทานให้แพทย์ได้ดู และขอให้แพทย์ช่วยประเมินความปลอดภัยของยาเพื่อลดความเสี่ยงในการล้มเนื่องจากการใช้ยา
- สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม
การสวมรองเท้าที่รัดไม่แน่นพอ (เช่น: ไม่มีเชือกผูกรองเท้า กระดุมผ้าสักหลาด เป็นต้น) ) มีความเสี่ยงสูงที่จะล้ม จึงขอแนะนำให้เลือกพื้นรองเท้ากันลื่นที่บาง มั่นคงส้นเตี้ย และเหลี่ยม สวมรองเท้าที่รัดแน่นพอ สวมเสื้อผ้าที่กระชับและระวังอย่าให้กางเกงยาวเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นล้มหรือสะดุดล้ม
สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพได้มอบหมายให้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทำการปรับปรุงข้อมูลใน "คู่มือการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ" โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย วิธีการป้องกันการหกล้ม การออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้ม ตัวอย่างการป้องกันการหกล้มในชีวิตประจำวัน การตอบสนองและการจัดการเมื่อเกิดการหกล้ม และการรักษาการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในบ้าน ซึ่งประชาชนสามารถดาวน์โหลคู่มือดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพหรือเว็บไซต์ health99
นายหวัง อิงเหว่ย (王英偉) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพเชิญชวนให้ทุกคนเรียนรู้เทคนิคการป้องกันการหกล้มและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อที่ทุกคนจะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันการหกล้ม