img
:::

ปุยเมล็ดของดอกแดนดิไลอัน(蒲公英之絮) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ผู้อาวุโส KINOSHITA Junichi กับเรื่องราวที่ไต้หวันกว่า 40 ปี

ปุยเมล็ดของดอกแดนดิไลอัน(蒲公英之絮) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ผู้อาวุโส KINOSHITA Junichi กับเรื่องราวที่ไต้หวันกว่า 40 ปี
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง / ภูมิรพี แซ่ตั้ง (陳勝泰)

木下諄一(KINOSHITA Junichi) : ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ผู้อาวุโสที่เดินทางมาจากจังหวัดไอชิในญี่ปุ่นมาใช้ชีวิตในไต้หวันนานกว่า 40 ปี

ประวัติการศึกษา: จบการศึกษาจาก Tokyo Keizai University

ประสบการณ์: นักเขียนนิยาย ร้อยกรอง

บรรณาธิการหลักของนิตยสารการท่องเที่ยวไต้หวัน 《臺灣觀光月刊》กว่า 8 ปี

ได้รับรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งปีของเมืองไทเปครั้งที่ 11 ในปี 2011 จากหนังสือนิยายเรื่อง ปุยเมล็ดของดอกแดนดิไลอัน(《蒲公英之絮》,印刻文學出版,2011)โดยเขาเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับรางวัล

มีผลงานหลายเล่มอาทิ  เขียนไปเรื่อยกับชีวิตในไต้หวัน(《隨筆臺灣日子》,木馬文化出版,2013) เงาในความทรงจำ(《記憶中的影子》,允晨文化出版,2020),สำหรับงานเขียนนิยายภาษาญี่ปุ่นมี อาริกาโตะ ขอบคุณ(《アリガト謝謝》,講談社,2017)

บริหารช่อง YouTube「超級爺爺Super G」。 

(圖/木下諄一提供)

ฉันมาไต้หวันครั้งแรกคือช่วง 40 ปีที่แล้วในปี 1980 หลังจากนั้นก็มีช่วงหนึ่งที่กลับไปทำงานที่ญี่ปุ่น กว่าจะกลับมาไต้หวันก็คือ 6 ปีหลังจากนั้นแล้ว นับดูแล้วช่วงเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวัน ชั่วพริบตาเดียวก็คือ 34 ปีแล้ว ช่วงเวลาที่ฉันใช้ชีวิตในไต้หวันนั้นยาวกว่าฉันใช้ชีวิตในญี่ปุ่นซึ่งเป็นบ้านเกิดเสียอีก

“เพราะอะไรถึงมาไต้หวัน?” เป็นคำถามที่ฉันมักจะถูกถามเสมอ โดยเฉพาะเมื่อตอนที่หนังสือ ปุยเมล็ดของดอกแดนดิไลอัน(《蒲公英之絮》)ได้รับรางวัลวรรณกรรมที่ไทเป  สื่อมวลชนและผู้ประกาศข่าวก็ถามคำถามนี้

เผชิญกับความฉงนของทุกคนเช่นนี้ ฉันก็ได้แต่ตอบไปว่า “ถูกลมพัดมา”

 

ในปีนั้น ฉันยังคงเป็นแค่นักศึกษาใหม่ ที่รู้จักกับเพื่อนชาวไต้หวันไม่กี่คนที่โตเกียว ฟังพวกเขาเล่าถึงความงดงามของบ้านเกิด ทำให้ฉันรู้สึกสนใจไต้หวัน จนอยากจะหาโอกาสไปสัมผัสประสบการณ์นั้นด้วยตนเอง แต่ทว่า นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของฉันกับไต้หวันแค่นั้นเอง

 

ฉันเขียนในหนังสือ ปุยเมล็ดของดอกแดนดิไลอัน(《蒲公英之絮》)ว่า : เหมือนดั่งพรหมลิขิตที่ทำให้คนสองคนมาพบกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมืองก็เป็นดั่งนั้นเช่นกัน มองไม่เห็น สัมผัสไม่ถูก เป็นพลังงานที่ลึกลับน่าฉงน เนื่องด้วยพลังงานนี้เอง ที่ทำให้คนถูกเมือง ๆ นั้นเรียกมา เมื่อพรหมลิขิตนั้นหมดไป คนก็ต้องจากเมืองนั้นไป

(圖/木下諄一提供)

40 ปีที่แล้ว ครั้งแรกที่มาไต้หวัน ถึงแม้ว่าไทเปจะเป็นเมืองที่คึกคักมากที่สุดในไต้หวัน แต่ต่างจากวันนี้ก็คือ นอกจากพิพิธภัณฑ์กู้กง อนุสรณ์สถานเจียงไคเช็คและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ แล้ว บนถนนในเขตเมืองแทบมองไม่เห็นแม้แต่เงาของชาวต่างชาติเลย

 

ในตอนนั้นบรรยากาศสภาพทางสังคมยังคงเป็นไปด้วยจังหวะช้า ๆ ทุก ๆ คนต่างก็เป็นกันเองและสุภาพอ่อนโยน สำหรับฉันแล้ว ที่นี่เป็นสิ่งแปลกใหม่และเต็มไปด้วยแรงดึงดูด

 

“เรียนภาษาจีนให้เก่ง” คือก้าวแรกของฉันกับไต้หวัน ถ้าพูดภาษาจีนได้แล้ว ก็สามารถที่จะสื่อสารได้โดยตรงกับคนที่อาศัยกันเป็นกลุ่มอยู่ในพื้นดินแห่งนี้ ที่มีกระบวนการคิดและรับรู้ต่างกับฉันโดยสิ้นเชิง นี่ช่างเป็นเรื่องราวที่น่ามหัศจรรย์เสียจริง! แค่คิดถึงที่นี่ ภายในใจก็เต็มไปด้วยความดีอกดีใจ

 

ฉันตัดสินใจอย่างเด็ดขาด และเขียนคำร้องของหยุดเรียนที่ญี่ปุ่น และเดินทางคนเดียวมาไต้หวัน ใช้เวลา 1 ปีในการเรียนภาษาจีนที่ศูนย์การเรียนการสอนภาษาจีน ของมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ไต้หวัน(NTNU) หนังสือนิยายเรื่อง เงาในความทรงจำ (《記憶中的影子》) เล่มนี้ก็คือเรื่องราวที่ฉันประสพในช่วง 1 ปีนี้นั่นเอง

(圖/木下諄一提供)

หลังจากนั้นฉันก็เคยกลับไปทำงานที่ญี่ปุ่นไม่กี่ปี การที่ฉันได้กลับมาที่นี่อีกครั้ง อาจเป็นเพราะว่าฉันสัมผัสได้ถึงว่าไทเปกำลังเรียกฉันอีกแล้ว

 

การกลับมาในครั้งนี้ไม่ได้กลับมาเรียน แต่เป็นการกลับมาหางาน ไต้หวันในปี 1989 คนต่างชาติยังไม่เยอะ สถานที่ต่าง ๆ ก็ยังมีความต้องการบุคลากรที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้ ก็เพราะเป็นแบบนี้ ไม่นานฉันก็สามารถหางานสอนภาษาญี่ปุ่นในศูนย์เผยแพร่ภาษาต่างประเทศในมหาวิทยาลัยบางแห่งได้ ยิ่งไปกว่านั้นในอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น ก็ได้รับงานในตำแหน่งของบรรณาธิการหลักของสำนักพิมพ์ ช่วงเวลาที่ทำหน้าที่บรรณาธิการหลัก ทุก ๆ วันต้องอ่านเอกสารภาษาจีนเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลานี้นี่เองก็ยิ่งทำให้ทักษะภาษาจีนของฉันนั้นพัฒนาขึ้น

 

ในขณะเดียวกัน ทุก ๆ ด้านในไต้หวันก็เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง

การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด สภาพสังคมที่กำลังเดินหน้าเข้าหาความเป็นประชาธิปไตยอย่างรวดเร็ว คนไต้หวันก็เริ่มต้นมองการเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศเป็นเรื่องปกติแล้ว เมื่อเทียบกับตอนที่ฉันมาไต้หวันครั้งแรก ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาแห่งการประกาศใช้กฎอัยการศึก (1949-1987) มองเห็นความเปลี่ยนแปลงของไต้หวันเช่นนี้ ฉันยังจำได้ ในตอนนั้นเป็นความรู้สึกที่น่าประหลาดใจและตื่นตาตื่นใจปะปนกันไป ราวกับโลกกำลังถูกลอกคราบออกไปใหม่

 

ในช่วงหลังปี 1990 ไต้หวันก็เริ่มมีคนต่างชาติมากขึ้น เหมือนฉันที่มาไต้หวันทำงาน บ้างก็มาเพราะแต่งงาน..... ชาวต่างชาติที่มาไต้หวันด้วยเหตุผลที่ต่างกันยิ่งนานวันก็ยิ่งมากขึ้นแล้ว

 

ฉันคิดว่านี่เกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลใช้นโยบายผ่อนคลายการอนุญาตพำนักของชาวต่างชาติ ก่อนหน้านี้ หากชาวต่างชาติต้องการสิทธิในการพำนักเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ทำให้ยากที่จะวางแผนการอาศัยอยู่ในไต้หวันระยะยาวได้ แต่ในปัจจุบัน ภายหลังการได้รับสิทธิพำนักถาวร ก็สามารถเลือกงานได้อย่างอิสระ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการดำรงชีวิตเหมือนดั่งคนไต้หวัน ดังนั้นคนต่างชาติที่ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาอยู่ไต้หวันจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้น

(圖/木下諄一提供)

ไต้หวันเดินหน้าเข้าสู่ความเป็นสากล ในขณะเดียวกัน ชาวต่างชาติที่ใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวันแบบฉัน ก็ได้เปลี่ยนจากชนกลุ่มน้อยที่พิเศษ กลายมาเป็นประชากรที่สามารถพักได้อย่างสงบสุข ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันในปัจจุบันก็ได้มากกว่าประชากรท้องถิ่นในไต้หวันแล้ว กลายมาเป็นประชากรกลุ่มที่ 5 ของไต้หวัน

 

ในหนึ่งชีวิตของคนเรา จะต้องใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมเช่นไหน เกินครึ่งเป็นเรื่องที่มิอาจเลือกได้ หากฉันอาศัยอยู่ญี่ปุ่นตลอด สิ่งที่พระเจ้าเตรียมให้ฉัน คงเป็นชีวิตที่ต่างกับตอนนี้อย่างสิ้นเชิง ประสบการณ์ในการเดินทางมาไต้หวัน ฉันคิดว่าโชคดีที่สุดของฉันก็คือการที่ได้มาสัมผัสด้วยตนเอง สัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงของไต้หวัน

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading