เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานบริหารการป้องกันสิ่งแวดล้อมไต้หวันได้จัดการประชุม “การปรับปรุงอากาศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2019” (South & Southeast Asia-Air Improvements in the Region, SSEA-AIR) ที่นครเถาหยวน โดยเชิญประเทศในนโยบายมุ่งใต้ใหม่และองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุม ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและนักวิชาการจากต่างประเทศรวม 30 คน เดินทางมาไต้หวันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในด้านการควบคุมมลพิษ
การประชุมในปีนี้ ผู้จัดงานได้เชิญเกาหลี อินโดนิเซีย เวียดนาม ศรีลังกา ไทย และมองโกเลีย และองค์การระหว่าง 2 ราย ได้แก่ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และเครือข่ายการบังคับใช้และการบังคับใช้ด้านสิ่งแวดล้อมของเอเชียมาร่วมการประชุม
โดยประเด็นหลักในการประชุม นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนเชิงลึกของกลยุทธ์การควบคุมคุณภาพอากาศสำหรับประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหัวข้อที่น่าสนใจและมีภูมิหลังที่คล้ายกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น แหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินการด้านการปรับปรุงคุณภาพอากาศ การควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ หรืออุปกรณ์ป้องกันมลพิษของโรงงานในประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้จัดให้ผู้เข้าประชุมเข้าเยี่ยมชมในสถานที่ต่างๆ เพื่อศึกษาการสกัดกั้นแหล่งกำเนิดมลพิษในประเทศ รวมถึงการสุ่มตรวจสอบ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเข้าใจถึงความพยายามและการดำเนินการด้านเทคนิคต่างๆในการควบคุมมลพิษทางอากาศของไต้หวัน
หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง ก็ได้มีการมอบเซนเซอร์ตรวจสอบคุณภาพอากาศกว่า 100 ชุด ให้สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเวียดนาม เพื่อให้เทคโนโลยีการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต้นทุนต่ำของไต้หวันได้เป็นที่แพร่หลายในประเทศเอเชียมากขึ้น
สำนักงานบริหารการป้องกันสิ่งแวดล้อมไต้หวันหวังว่า การประชุมแลกเปลี่ยนในครั้งนี้จะเป็นการสร้างโอกาสความร่วมมือ เป็นการวางรากฐานสำหรับการส่งเสริมแพลตฟอร์มความร่วมมือด้านการจัดการคุณภาพอากาศของประเทศในนโยบายมุ่งใต้ใหม่ สามารถทำงานในการป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงสร้างรูปแบบความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน มีการสนับสนุนทางเทคนิคและประสบการณ์ในการปรับปรุงมลพิษทางอากาศ ให้การปรับปรุงคุณภาพอากาศในระดับภูมิภาคทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมการส่งออกเทคโนโลยีความสามารถในการป้องกันสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมสีเขียวของไต้หวัน รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ระดับสากลอีกด้วย