สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพของไต้หวันให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปี ขึ้นไป ในแต่ละปีมีผู้หญิงประมาณ 2.15 ล้านคน ที่มารับบริการดังกล่าว จากการวิเคราะห์ข้อมูลปี 2016 ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และข้อมูลการลงทะเบียนมะเร็งพบว่า การตรวจตัดกรองมะเร็งปากมดลูกกว่าร้อยละ 97.3 สามารถตรวจพบเชื้อมะเร็งและมะเร็งระยะเริ่มต้น (ระยะที่ 0-1) ของมะเร็งปากมดลูก หากไม่ผ่านการตรวจคัดกรอง สัดส่วนการตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะแรกจะลดลงเหลือ 50.5% ซึ่งเป็นการยืนยันว่าการตรวจคัดกรองช่วยในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะแรกได้เป็นอย่างดี
การเปรียบเทียบข้อมูลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและข้อมูลการลงทะเบียนมะเร็งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ไม่เคยมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก และสูงกว่า 3.6 เท่า ของผู้ที่เคยตรวจคัดกรองภายในระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้อัตราการรอดชีวิต 5 ปีของมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก (ระยะที่ 0 และ 1) สูงถึง 90%, ระยะที่ 2 คือ 67.3%, ระยะที่ 3 คือ 57.3% และขั้นตอนที่ 4 ลดลงเหลือเพียง 21.1%
มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Human Papillomavirus (HPV) และส่วนใหญ่ไม่มีอาการในระยะแรก แม้แต่ผู้หญิงที่หยุดมีประจำเดือน มีกิจกรรมทางเพศเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยเป็นเวลานานก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการคุกคามของมะเร็งปากมดลูก
สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพแนะนำให้สตรีที่มีคุณสมบัติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก ๆ 3 ปี และเตือนให้หลีกเลี่ยงการแช่อ่างอาบน้ำ ห้ามล้างช่องคลอด หยุดการมีเพศสัมพันธ์ในคืนก่อนตรวจ รววมทั้งหลีกเลี่ยงช่วงเวลาของการมีประจำเดือน และอย่าลืมนำบัตรประกันสุขภาพและบัตรประจำตัวประชาชนของคุณและไปที่สถาบันทางการแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก