img
:::

เจ้าหน้าที่ตำรวจรณรงค์ต่อต้านกลุ่มมิจฉาชีพในมหาวิทยาลัย รู้เท่าทันกลลวงปกป้องตนเองและคนรอบข้าง

เจ้าหน้าที่ตำรวจรณรงค์ต่อต้านกลุ่มมิจฉาชีพในมหาวิทยาลัย ภาพ/โดยสถานีตำรวจเมืองเถาหยวน สาขาผิงเจิ้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจรณรงค์ต่อต้านกลุ่มมิจฉาชีพในมหาวิทยาลัย ภาพ/โดยสถานีตำรวจเมืองเถาหยวน สาขาผิงเจิ้น
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยไต้หวัน ในปีที่แล้ว (2022) วิธีการที่มิจฉาชีพใช้แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ 3 อันดับแรกในไต้หวัน ได้แก่ “การประมูลออนไลน์ปลอม” “การลงทุนปลอม” และ “ยกเลิกเงินผ่อนรายเดือน” ปัจจุบันมิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนหลวมตัวตกเป็นเหยื่อ เพราะเหล่ามิจฉาชีพต่างก็งัดกลเม็ดมาหลอกได้อย่างแนบเนียน ขณะที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน ก็พยายามปราบปราม และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชากรดิจิทันในการป้องกันตัวเองไปพร้อม ๆ กัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม : นักศึกษาชาวพม่าเดินทางเข้ารายงานตัวต่อสตม.เพื่อขอเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด

เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จะมาอัพเดทข้อมูลกลโกงของ “มิจฉาชีพ” ที่มักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ เพื่อให้รู้เท่าทันและป้องกันตัวเองได้อย่างดี ดังนี้

1.หลอกขายสินค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่เปิดเพจใหม่และมักอ้าง “ของดีราคาถูกเกินจริง จะปิดโรงงาน หรืออ้างเป็นเน็ตไอดอล” ควรตรวจสอบเพจขายสินค้า/บัญชีธนาคารก่อนโอนเงิน

2.หลอกให้ทำงานเสริมผ่านออนไลน์ โดยส่งข้อความชักชวนทำงานหารายได้พิเศษผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แค่กดไลท์ กดแชร์ หรือสต๊อก (ลม) สินค้า ก็มีรายได้ โปรดระวัง ไม่มีงานเสริมออนไลน์ที่ได้เงินง่าย ๆ และต้องโอนเงินไปก่อน

3.หลอกกู้เงินออนไลน์ ใช้วิธีสร้างเว็บไซต์ปลอม หลอกให้โอนเงินค่าประกัน ค่าธรรมเนียมก่อนกู้ ควรตรวจสอบข้อมูลก่อน

4.ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว (Call Center) โทรมาอ้างว่าเกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย เช่น พัสดุตกค้าง โทรศัพท์จะถูกตัด มีใบสั่งจราจร ฯลฯ แล้วโอนสายให้ตำรวจปลอม ข่มขู่ว่ากระทำผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และหลอกให้โอนเงินไปตรวจสอบ ตั้งสติ “เราไม่เคยกระทำผิด ไม่เชื่อ ไม่ โอน” ตำรวจ หรือ เจ้าหน้าที่รัฐจริงจะไม่มีการให้โอนเงินไปตรวจสอบ

อ่านข่าวเพิ่มเติม : รางวัลวรรณกรรมสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างชาติ ครั้งที่ 8 รางวัลชนะเลิศ 1 แสนเหรียญ

อย่าใส่รหัสยืนยันทาง SMS ระวังกับดักของมิจฉาชีพ ภาพ/โดยสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

5.หลอกให้ลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ สร้างข้อมูลปลอมทางการเงิน ชักชวน ใช้เงินทำงาน สร้างรายได้ โดยลงทุนเทรดเงินดิจิทัล เงินตราต่างประ เทศ ทอง น้ำมัน ฯลฯ พึงระวังการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ผู้หลอกลวงมักอ้าง ได้กำไรตลอด

6.หลอกให้รักแล้วลงทุน โดยปลอมแปลง PROFILE เป็นบุคคลหน้าตาดี เข้ามาตีสนิทจาก APP หาคู่ /หรือบัญชีออนไลน์ สอนให้ลงทุน แล้วหลอกให้ลงทุนใน APP หรือโปรแกรมลงทุนปลอม เช่น เทรดหุ้นปลอม เงินดิจิทัลปลอม สกุลเงินปลอม ทองคำทิพย์ เป็นต้น

7. แชร์ลูกโซ่ สร้างเรื่องราวทางธุรกิจที่ได้กำไรเกินจริง ที่ไม่มีจริง เน้นหาสมาชิกใหม่มาลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง อย่าเชื่อเพียงคำโอ้อวดของผู้ชักชวน ต้องหาข้อเท็จจริงที่มาของกำไรของบริษัทก่อนลงทุน

8.การพนันออนไลน์ โฆษณาชักชวนเล่นการพนันออนไลน์ เล่นง่ายรวยเร็ว ซื่อตรงปลอดภัย ผิดกฎหมาย ไม่มีใครรวยจากการพนัน เข้าข่าย ฟอกเงินและถูกยึดทรัพย์

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading