ตามรายงานข่าวของ ‘DAILYNEWS’ งาน Sustainability Expo 2022 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่สาม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กับการเสวนาในหัวข้อ ลดโลกร้อนด้วยการกินแบบ “ยักษ์กะโจน” อาจารย์ยักษ์ในฐานะประธานที่ปรึกษา บริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด บอกเล่าให้เห็นภาพว่าการกินมีส่วนสัมพันธ์กับโลกอย่างไรบ้าง โดยกิจกรรมการบริโภคแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ซากุระเมืองไทยกำลังบานเต็มพื้นที่สวยงามมากๆ
ส่วนที่ 1 คือกระบวนการผลิตอาหาร อาจารย์ยักษ์ได้เริ่มต้นด้วยการยกตัวอย่างปัญหาการทำประมงขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ กุ้ง หอย ปู ปลา และสาหร่ายมาประกอบอาหาร ซึ่งกว่าจะได้มาต้องเผาผลาญพลังงานไปมากมาย กว่าจะออกเรือไปมหาสมุทรจับปลา เรือวิ่ง 1 ชั่วโมง ใช้น้ำมัน100 ลิตร สูญเสียออกซิเจนและสร้างคาร์บอนมากมายในกระบวนการอุตสาหกรรมประมง
ส่วนที่ 2 คือกระบวนการขนส่งและการปรุงก่อนที่อาหารจะเข้าถึงปาก ถ้าอาหาร 1 จาน ต้องปรุง 7 หม้อ ตั้ง 7 เตา ด้วยการปรุงหลายสิ่งอย่างแยกกันแล้วเอามารวมกันเป็นเมนูเดียว ถือเป็นการเผาผลาญพลังงานมากมายเกินควรกว่าจะได้กินอาหารสักจาน ส่วนเรื่องการขนส่ง การผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งแต่ขนส่งมาตามระยะทางเป็นพันเป็นเหมื่นกิโลเมตรเพื่อมากินอีกที่หนึ่ง หรือการกินข้ามโลกแบบนี้ ทำให้เกิดการเผาผลาญมหาศาลจนโลกร้อนและได้รับผลกระทบไปกันไปหมด เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นอย่ากินของที่ต้องผ่านการกระบวนการขนส่งมากจนเกินไป
อ่านข่าวเพิ่มเติม: FUNNY BUNNY ร้านคาเฟ่ที่เปิดขึ้นเพื่อเลี้ยงดูกระต่ายที่ถูกทอดทิ้ง เปิดมาแล้ว 2 ปีกว่ามีกระต่าย มากว่า 30 ตัว
ส่วนที่ 3 คือการแบ่งปันกันกินอย่างทั่วถึง เมื่อเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารที่คนได้กินไม่ทั่วถึงกันก็ทำให้เกิดช่องว่าง ช่องว่างทำให้เกิดความขัดแย้ง ความขัดแย้งนำมาสู่สงคราม เกิดการขนอาวุธไปแย่งน้ำมัน แย่งพลังงาน แย่งอาหาร นำไปสู่ปัญหามากมายที่ทำให้โลกร้อนระอุอยู่ทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก: DAILYNEWS