พบ ‘ไมโครพลาสติก’ ใน ‘อาหารทะเล’ ฝังอยู่ในเนื้อสัตว์ ล้างออกได้ไม่หมด
ไมโครพลาสติกคืออนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่มาจากเสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ซึ่งตอนนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในทะเล นักวิจัยพบว่าสัตว์ทะเลหลายชนิดมีไมโครพลาสติกปะปนอยู่ในร่างกาย และเมื่อพวกมันถูกจับมาบริโภคในฐานะ "อาหารทะเล" ก็อาจส่งผ่านไมโครพลาสติกสู่มนุษย์ได้เช่นกันการศึกษาโดยห้องปฏิบัติการนิเวศวิทยาชายฝั่งประยุกต์ มหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์สเตต ได้ทำการตรวจสอบสัตว์ทะเล 9 ชนิดที่บริโภคกันทั่วไปในรัฐออริกอน พบว่า ในตัวอย่างทั้งหมด 182 ตัวอย่าง มีถึง 180 ตัวอย่างที่พบไมโครพลาสติก รวมเป็นจำนวนอนุภาค 1,806 ชิ้น โดย 82% เป็นเส้นใยจากเสื้อผ้าสังเคราะห์ 17% เป็นเศษพลาสติก และ 0.7% มาจากฟิล์มพลาสติกในจำนวนสัตว์ทะเลที่ตรวจสอบพบว่า "กุ้งโอคัก" หรือ "กุ้งสีชมพู" (Pink Shrimp) มีไมโครพลาสติกอยู่ในเนื้อสัตว์มากที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมการกรองอาหารใต้ผิวน้ำ ขณะที่ปลาแซลมอนชินุก (Chinook Salmon) มีปริมาณไมโครพลาสติกน้อยที่สุดนักวิจัยพบว่า สัตว์น้ำขนาดเล็กมักกินอนุภาคไมโครพลาสติกที่มีลักษณะคล้ายแพลงก์ตอนโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้ไมโครพลาสติกสะสมอยู่ในร่างกายของพวกมันไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเลที่มาจากร้านค้าหรือเรือประมง ไมโครพลาสติกก็ยังพบปนเปื้อนอยู่ โดยเฉพาะในอาหารทะเลจากร้านค้าที่พบปริมาณปนเปื้อนสูงกว่าแม้กระบวนการแปรรูปอาหารทะเลอาจเพิ่มความปนเปื้อนจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก แต่การล้างเนื้อสัตว์ก็ยังไม่สามารถกำจัดไมโครพลาสติกที่ฝังลึกออกได้ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสิ่งมีชีวิต จากการศึกษา หอยนางรมแปซิฟิกและหอยตลับตามแนวชายฝั่งออริกอน พบว่าหอยนางรมแต่ละตัวมีไมโครพลาสติกเฉลี่ย 11 ชิ้น ขณะที่หอยตลับเฉลี่ย 9 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากไมโครไฟเบอร์ของเสื้อผ้าสังเคราะห์นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ไมโครไฟเบอร์อาจเคลื่อนจากลำไส้ไปยังกล้ามเนื้อ และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ข้อเสนอแนะ นักวิจัยเรียกร้องให้พัฒนากลยุทธ์ใหม่เพื่อลดการปล่อยไมโครพลาสติก โดยแนะนำให้ใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ขี้ผึ้ง แป้ง หรือน้ำตาล และเรียกร้องให้มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมพลาสติกหากมนุษย์ยังคงใช้พลาสติกอย่างไม่ยั้งคิด ไมโครพลาสติกจะยังคงปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและวนกลับมาบนจานอาหารของเราบริเวณที่แพลงก์ตอนสัตว์อาศัยอยู่มีพลาสติกปริมาณมากอ้างอิง การศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ในอาหารทะเลทุกชนิดที่ซื้อจากตลาด ไม่ว่าจะเป็นปลาหมึก กุ้ง หอยนางรม หรือปู มีไมโครพลาสติกปะปนอยู่ และยังพบในปลาน้ำจืด เช่น ปลาเฮอริงที่กินแพลงก์ตอนสัตว์แม้ว่ายังไม่มีผลสรุปแน่ชัดว่าไมโครพลาสติกส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์อย่างไร แต่มีการเชื่อมโยงกับโรคมะเร็ง และความเสียหายต่อเซลล์และ DNA ได้เช่นกัน