img
:::
โซนการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

การป้องกันการแพร่ระบาดของเวียดนามเปลี่ยนจาก “เป็นศูนย์” มาเป็น “ระดับ” เดินหน้าสู่การ “อยู่ร่วมกับไวรัส

การป้องกันการแพร่ระบาดของเวียดนาม “เป็นศูนย์” กลายเปลี่ยนมาเป็น “อยู่ร่วมกับไวรัส” ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
การป้องกันการแพร่ระบาดของเวียดนาม “เป็นศูนย์” กลายเปลี่ยนมาเป็น “อยู่ร่วมกับไวรัส” ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay

เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ตามรายงานข่าวของ “SCB” ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกมาเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี และในขณะนี้แถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก นอกเหนือจากประเทศไทยแล้ว ยูนิคอร์นอย่างประเทศเวียดนามก็กำลังประสบปัญหานี้อย่างหนัก โดยเฉพาะนครโฮจิมินห์ เมืองใหญ่ทางตอนใต้ของเวียดนาม และได้รับยกย่องว่าเป็นเมืองหลวงแห่งเศรษฐกิจของประเทศ ล่าสุดรัฐบาลเวียดนามได้เริ่มมีความคิดจะผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าหลักหมื่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เศรษฐกิจได้ขับเคลื่อน ทางการได้ปรับกลยุทธ์รับมือโควิด-19 จากเดิม “ซีโร่โควิด” เป็น “การปรับตัวให้อยู่ร่วมกับโควิดได้อย่างปลอดภัย และควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

อ่านข่าวเพิ่มเติม: พนักงานทุกคนต้องทราบ! รง.เผย “ทำงานในช่วงตรุษจีนวันส่งท้ายปีเก่าถึง 3 วันแรก” ควรได้รับค่าจ้าง 2 เท่า

การป้องกันการแพร่ระบาดของเวียดนามเปลี่ยนจาก “ศูนย์”มาเป็น “ระดับ” แทน ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabayการป้องกันการแพร่ระบาดของเวียดนามเปลี่ยนจาก “ศูนย์”มาเป็น “ระดับ” แทน ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay

ที่ผ่านมามาตรการการล็อคดาวน์ในแต่ละเมืองที่พบการแพร่ระบาดของเวียดนามเข้มงวดมากๆ ถึงขั้นห้ามประชาชนทุกคนออกจากบ้านอย่างเด็ดขาด ทางการมีหน้าที่ส่งเสบียงอาหารให้แต่ละบ้านเอง เพื่อรักษาระยะห่างทางกายภาพ หากใครมีความจำเป็นต้องออกข้างนอกบ้านจะต้องเซ็นหนังสือขออนุญาตออก และสามารถออกได้เพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น และจะต้องออกไปไม่ไกลจากที่พักอาศัย ซึ่งนับว่าเป็นมาตรการที่เข้มงวดมากๆ และแน่นอนเศรษฐกิจในประเทศย่อมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง สถานประกอบการและโรงงานการผลิตหลายแห่งต้องปิดทำการ เนื่องด้วยข้อจำกัดในการเดินทาง ส่งผลถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจของเวียดนามอาจขยายตัวอยู่ที่ 3.5-4.0% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 6.5%

และอีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามองคือเรื่องวัคซีนที่ประเทศเวียดนามกลายเป็นประเทศที่ประชากรได้รับวัคซีนครบ 2 โดส เพียงแค่ 15.27% ในขณะที่การฉีดวัคซีนเข็มแรกครอบคลุม 39% ของประชากรเท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2564) ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากสหภาพเมียนมา (จัดลำดับโดย Reporting Asean ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2564) และต่อจากนี้เวียดนามจะต้องเร่งฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มให้ได้ถึง 70-75% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งมีมากถึง 98 ล้านคน ภายในสิ้นปีนี้ นับเป็นความท้าทายอย่างมาก

อ่านข่าวเพิ่มเติม: วันหยุดตรุษจีน 31 ม.ค. ถึง 3 ก.พ.จะไม่มีการให้บริการฉีดวัคซีน กลับมาให้บริการอีกครั้ง 4 ก.พ.

ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เตือนว่า ‘โอมิครอน’ แพร่กระจายได้เร็วกว่า ‘เดลต้า’ ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabayผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เตือนว่า ‘โอมิครอน’ แพร่กระจายได้เร็วกว่า ‘เดลต้า’ ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay

อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน ด้วยนโยบายส่งเสริมการค้าการลงทุน และการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ (FTA) จึงอาจจะสามารถดึงดูดนักลงทุนให้หันกลับมาลงทุนในเวียดนาม พร้อมทั้งเป็นโอกาสอันดีที่มีโอกาสต้อนรับโครงการลงทุนใหม่ๆ เมื่อสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติตามแนวคิดวิถีใหม่ที่ทุกคนจะต้องปรับตัวและสามารถดำเนินชีวิตร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย

ขณะนี้ทางการเวียดนามเริ่มมีการคลายมาตรการล็อคดาวน์ในเมืองที่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น อย่างเช่นในเมืองหลวงอย่างฮานอย ซึ่งได้มีการเปิดให้ประชาชนเดินทางและออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติแล้วเมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงมีมาตราการเว้นระยะห่าง ในขณะที่โฮจิมินห์เองก็จะมีการเปิดเมืองหลังวันที่ 30 กันยายน เป็นต้นไป และในเดือนธันวาคมนี้ จะเริ่มเปิดการท่องเที่ยว เช่น เมืองมรดกโลกอย่างฮาลองเบย์ ฮอยอัน ดาลัด และบริเวณชายหาดของเมืองญาจาง สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบและมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และจะเปิดการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบในเดือนมิถุนายนปี 65 เป็นที่น่าจับตามองว่ารัฐบาลจะมารับมือกับสถานการณ์ต่อจากนี้ได้ดีเพียงใด โดยเฉพาะเมื่อต้องคำนึงถึงประเด็นเศรษฐกิจและปัญหาโรคระบาดไปพร้อมกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก: SCB

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading